ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.พร้อมถ่ายโอน รพ.สต. 3,264 แห่งสู่ อบจ. 49 จังหวัด ตามมติครม.

สธ.พร้อมถ่ายโอน รพ.สต. 3,264 แห่งสู่ อบจ. 49 จังหวัด ตามมติครม. HealthServ.net
สธ.พร้อมถ่ายโอน รพ.สต. 3,264 แห่งสู่ อบจ. 49 จังหวัด ตามมติครม. ThumbMobile HealthServ.net

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงมีการเตรียมความพร้อมถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. 3,264 แห่ง บุคลากรรวม 21,829 คน ไปยัง อบจ. ใน 49 จังหวัด ตามมติ ครม. พร้อมตั้งคณะทำงานติดตามการดำเนินการถ่ายโอนทั้งบุคลากร ทรัพย์สิน และภารกิจการบริการ และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นช่วงเปลี่ยนผ่าน ยืนยันยังให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนได้ตามเดิม

 
 
   26 กันยายน 2565 นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากกระทรวงสาธารณสุขไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ว่า กระทรวงสาธารณสุขเห็นด้วยกับหลักการการกระจายอำนาจ และมีการเตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ รพ.สต.ใน 49 จังหวัด ไปยัง อบจ. ตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 และวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยมี สอน.และ รพ.สต.ที่จะถ่ายโอนจำนวน 3,264 แห่ง บุคลากรรวม 21,829 ราย ประกอบด้วย ข้าราชการ 11,992 ราย และประเภทการจ้างงานอื่น 9,837 ราย แบ่งเป็น สายงานบริการทางการแพทย์ 13,034 ราย คิดเป็น 59.7% ของบุคลากรที่ประสงค์ถ่ายโอนทั้งหมด สายสนับสนุนวิชาชีพและสายสนับสนุนงานบริหาร 8,795 ราย คิดเป็น 40.3%


        ครม.ยังอนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนการถ่ายโอนรวม 5,932 ล้านบาท


 
        ทั้งนี้ รพ.สต.ที่ประสงค์ถ่ายโอนจำนวน 3,264 แห่ง คิดเป็น 47.5% จาก รพ.สต.ทั้งหมด 6,872 แห่งใน 49 จังหวัด และคิดเป็น 33.39% ของ รพ.สต. 9,775 แห่งทั้งประเทศ โดยมี รพ.สต.ที่โอนย้ายบุคลากรและเจ้าหน้าที่ไปทั้งหมดกว่า 75% โอนย้ายบุคลากรมากกว่าครึ่งหนึ่ง 21% โอนย้ายบุคลากรน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ประมาณ 2.4% และไม่มีบุคลากรสมัครใจโอนย้าย ประมาณ 1.13% ซึ่งหากบุคลากรมีข้อติดขัดหรือไม่พร้อมที่จะถ่ายโอน กระทรวงสาธารณสุขจะยังให้การดูแลตามเดิม โดยหลังจากมีการถ่ายโอน รพ.สต.ไปแล้ว งบประมาณต่าง ๆ จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ อบจ.ทั้งหมด
 
 
         “เพื่อให้การถ่ายโอน สอน. และ รพ.สต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามกระบวนการในการถ่ายโอนทั้งบุคลากร ทรัพย์สิน และภารกิจการบริการ อย่างใกล้ชิด รวมถึงแก้ไขปัญหาข้อติดขัดต่างๆ ยืนยันว่าแม้จะมีการถ่ายโอนภารกิจไปให้หน่วยงานของท้องถิ่นแล้ว แต่ประชาชนจะยังได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง เนื่องจากบุคลากรของรพ.สต.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม รวมถึงยังมีระบบส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปได้ตามปกติ” นพ.สุระกล่าว
 


อ่านเพิ่มเติม


49 จังหวัด ที่ถ่ายโอน


เปิดเผยข้อมูล 1 ต.ค. 65 (ปีงบประมาณ 66) รพ.สต.จำนวน 3,264 แห่ง ใน 49 จังหวัด ที่ถ่ายโอนไป อบจ. ดังนี้
 
1. กลุ่มจังหวัดที่ รพ.สต. ถ่ายโอน 100% ประกอบด้วย
  1. ขอนแก่น 248 แห่ง 
  2. ปราจีนบุรี 94 แห่ง 
  3. มุกดาหาร 78 แห่ง 
  4. ร้อยเอ็ด 229 แห่ง
  5. สุพรรณบุรี 174 แห่ง
  6. หนองบัวลำภู 83 แห่ง
     
 
 

2. กลุ่มจังหวัดที่ รพ.สต. ถ่ายโอน 50-90% ประกอบด้วย
  1. กาญจนบุรี 97 แห่ง 
  2. กำแพงเพชร 74 แห่ง
  3. เชียงราย 118 แห่ง
  4. นครราชสีมา 182 แห่ง
  5. นครสวรรค์ 99 แห่ง
  6. น่าน 95 แห่ง
  7. พะเยา 55 แห่ง
  8. แพร่ 70 แห่ง
  9. พิจิตร 68 แห่ง
  10. ภูเก็ต 12 แห่ง
  11. มหาสารคาม 128 แห่ง
  12. ราชบุรี 79 แห่ง
  13. สกลนคร 144 แห่ง
  14. สมุทรสาคร 37 แห่ง
  15. สุราษฎร์ธานี 97 แห่ง
  16. อำนาจเจริญ 71 แห่ง
 


3. กลุ่มจังหวัดที่ รพ.สต. ถ่ายโอน น้อยกว่า 50% ประกอบด้วย


  1. กระบี่ 30 แห่ง
  2. กาฬสินธุ์ 51 แห่ง
  3. ชุมพร 17 แห่ง
  4. เชียงใหม่ 62 แห่ง
  5. ชัยภูมิ 65 แห่ง
  6. ตาก 18 แห่ง
  7. นนทบุรี 28 แห่ง
  8. นครปฐม 36 แห่ง
  9. นครพนม 15 แห่ง
  10. นครศรีธรรมมราช 36 แห่ง
  11. ปทุมธานี 13 แห่ง
  12. ประจวบคีรีขันธ์ 16 แห่ง
  13. ปัตตานี 32 แห่ง
  14. พัทลุง 33 แห่ง
  15. เพชรบูรณ์ 62 แห่ง
  16. พิษณุโลก 37 แห่ง
  17. ยโสธร 48 แห่ง
  18. ระยอง 40 แห่ง
  19. ลำพูน 11 แห่ง
  20. ศรีสะเกษ 117 แห่ง
  21. สิงห์บุรี 11 แห่ง
  22. สตูล 3 แห่ง
  23. สงขลา 23 แห่ง
  24. สุโขทัย 18 แห่ง
  25. อุตรดิตถ์ 40 แห่ง
  26. อุทัยธานี 26 แห่ง
  27. อุบลราชธานี 54 แห่ง
 

โอนเพิ่ม เชียงราย – นนทบุรี รวมถ่ายโอน 8 จังหวัด 577 แห่ง

16 ตุลาคม 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า ล่าสุดถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2565 มีการถ่ายโอนเพิ่มอีก 2 จังหวัด คือ เชียงราย และนนทบุรี

ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา มีการถ่ายโอนภารกิจ สอน.และ รพ.สต.แล้ว 8 จังหวัด รวม 577 แห่ง (ภูเก็ต 12 แห่ง สกลนคร 142 แห่ง นครปฐม 36 แห่ง ศรีสะเกษ 117 แห่ง ระยอง 40 แห่ง ปราจีนบุรี 94 แห่ง เชียงราย 118 แห่ง และนนทบุรี 18 แห่ง)

จากการติดตามยังไม่พบปัญหาในการจัดบริการประชาชน ได้ย้ำสสจ.ที่จะลงนามถ่ายโอนว่า อบจ.ที่จะรับถ่ายโอนต้องมีความพร้อมและมีคุณสมบัติตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม และที่สำคัญ ต้องพร้อมที่จะจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) และลูกจ้างชั่วคราวต่อจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การบริการประชาชนมีความต่อเนื่อง และบุคลากรไม่ได้รับผลกระทบ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด