ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3 - เฝ้าระวังโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย

ลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3 - เฝ้าระวังโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย HealthServ.net
ลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3 - เฝ้าระวังโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุข ประกาศลดระดับเตือนภัย “โควิด” เหลือระดับ 3 หลังสถานการณ์แนวโน้มลดลง ด้านกรมวิทยฯ เฝ้าระวัง 3 สายพันธุ์ย่อย “โอมิครอน” หลังพบข้อสังเกตในต่างประเทศ มีผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น เน้นกลุ่มเดินทางจากต่างประเทศและผู้ป่วยอาการหนัก ย้ำยังต้องเข้มมาตรการ 2U ป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่อง และเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 เพื่อเดินหน้าเข้าสู่โรคประจำถิ่น

ลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3 - เฝ้าระวังโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย HealthServ


 
         9 พฤษภาคม 2565 ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิด 19 ประเทศไทย ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับทั่วโลก ประชาชนให้ความร่วมมืออย่างดี ทำให้หลังสงกรานต์สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี ไม่มีการระบาดใหญ่ตามมา

             ดังนั้น ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโควิด 19 เห็นชอบประกาศลดระดับการเตือนภัยโควิดจากระดับ 4 เหลือระดับ 3 ทั่วประเทศ คำแนะนำคือ กรณีการไปในสถานที่เสี่ยง ให้ทุกคนงดเข้าสถานบันเทิง เลี่ยงเข้าสถานที่ปิด มีการระบายอากาศไม่ดี และสถานที่แออัด

             ส่วนการร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก การเดินทางข้ามพื้นที่/ข้ามจังหวัด และการเดินทางเข้า-ออกประเทศ หากเป็นคนทั่วไปสามารถดำเนินการได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด

             สำหรับกลุ่มเสี่ยง 608 คือ ผู้สุงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 3 เข็ม ให้เลี่ยงร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มจำนวนมาก เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท และงดเดินทางไปต่างประเทศ ถือเป็นข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขไม่เกี่ยวกับมาตรการบังคับ


 
ลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3 - เฝ้าระวังโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย HealthServ


จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นตามคาดการณ์





             นพ.โอภาส กล่าวว่า สถานการณ์จริงของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ปอดอักเสบ ใส่เครื่องช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงสอดคล้องกันทั้งหมด เป็นไปตามการคาดการณ์ของ สธ. หรือบางตัวมีแนวโน้มดีขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ขณะนี้มีจังหวัดที่เข้าสู่ระยะทรงตัว (Plateau) แล้ว 23 จังหวัด และสถานการณ์ดีขึ้นอยู่ในระยะขาลง (Declining) 54 จังหวัด แนวโน้มจากสถานการณ์เข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post-Pandemic) เข้าไปเต็มที

             ทั้งนี้ ขอให้ทุกจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมพร้อมเข้าสู่ระยะโรคประจำถิ่น เพื่อการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและประชาชน โดยเดินหน้ามาตรการ 2U คือ Universal Prevention ป้องกันตนเองครอบจักรวาล ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ Universal Vaccination โดยเน้นให้กลุ่ม 608 รับเข็มกระตุ้นมากกว่า 60% และเน้นเรื่อง 3 พอ คือ เตียงสีเหลือง สีแดง, ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน และบุคลากรทางการแพทย์มีเพียงพอต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐาน
 
              “ความร่วมมือของประชาชนและวัคซีนเข็มกระตุ้นมีความสำคัญมาก โดยกระทรวงสาธารณสุขมีวัคซีนทุกชนิดไปที่ รพ.สต.สามารถวอล์กอินไปฉีดได้ ส่วน กทม.ก็จัดหน่วยบริการประชาชน ทั้งแบบลงทะเบียนล่วงหน้าและวอล์กอินเช่นกัน ย้ำว่าหากฉีดครบ 2 เข็ม 3 เดือนให้มารับเข็ม 3 และ 3 เข็ม ครบ 4 เดือนให้มารับเข็ม 4 เพื่อช่วยกันเดินหน้าเข้าสู่โรคประจำถิ่นต่อไป” นพ.โอภาสกล่าว
 

ความพร้อมเปิดเรียน

 
           นพ.โอภาส กล่าวว่า ในช่วงพฤษภาคม 2565 มีจุดหมายเรื่องเปิดเรียน จึงต้องเตรียมความพร้อม ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษามีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วมากกว่า 90% ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 12-17 ปี ฉีดครบ 2 เข็มแล้วมากกว่า 90% จึงต้องเร่งฉีดเข็มกระตุ้น โดยหากเป็นผู้ที่รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ให้รับเข็ม 3 เป็นไฟเซอร์ขนาดครึ่งโดสหรือเต็มโดส ส่วนผู้ที่รับวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ให้ฉีดเข็มกระตุ้นเป็นไฟเซอร์เต็มโดส ส่วนเด็กอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5.1 ล้านคน ฉีดเข็ม 1 แล้ว 2.8 ล้านคน คิดเป็น 54.5% และเข็ม 2 ฉีดแล้ว 8.9 แสนคน คิดเป็น 17.4% โดยสูตรฉีดเป็นไฟเซอร์ฝาสีส้ม 2 เข็ม ห่างกัน 8 สัปดาห์ หรือซิโนแวค-ไฟเซอร์ (ฝาสีส้ม) ห่างกัน 4 สัปดาห์ ซึ่งมีนักเรียนที่ประสงค์รับวัคซีนสูตรนี้เพิ่มเติม 1.6 แสนคน
 
ลดเตือนภัยโควิดเหลือระดับ 3 - เฝ้าระวังโอมิครอน 3 สายพันธุ์ย่อย HealthServ
 

กรมวิทย์ฯ เฝ้าระวัง 3 สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน


ด้านกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดี  และนพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดี ร่วมกัน แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย โดย นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ขณะนี้โควิด 19 ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์โอมิครอน 100% จากการตรวจเฝ้าระวังช่วงวันที่ 30 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2565 จำนวน 747 ราย พบเป็นโอมิครอนทั้งหมด ไม่พบสายพันธุ์อื่นๆ โดยสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนเป็น BA.2 ถึง 97.6%

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกมีการเฝ้าระวัง 3 สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน คือ BA.4 , BA.5 ซึ่งส่วนใหญ่
พบในแถบแอฟริกาใต้และยุโรปบางประเทศ และ BA.2.12.1 ส่วนใหญ่พบในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีข้อสังเกตว่าอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น หรืออาจจะรุนแรงขึ้น
 
          “ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ โดยให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่ง ตรวจเฝ้าระวัง เน้นกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และผู้ป่วยอาการหนัก โดยใช้วิธีการตรวจเฉพาะจุดหรือ SNP เนื่องจากตำแหน่งเฉพาะของแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกัน คือ หากพบ L452R ร่วมกับ del69/70 เป็น BA.4 และ BA.5 หากเป็น L452Q จะเป็น BA.2.12.1 ซึ่งประเทศไทยพบเพียง BA.5 จำนวน 1 ราย เป็นคนบราซิล ขณะนี้รักษาหายกลับบ้านแล้ว ส่วน BA.4 และ BA.2.12.1 ยังไม่พบในประเทศไทย แต่พบ BA.2.12 จำนวน 2 ราย เป็นชาวอินเดียและแคนาดา” นพ.ศุภกิจกล่าว
 
             นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งโปรตีนหนาม L452R เหมือนกับสายพันธุ์เดลตา แต่เร็วเกินไปที่จะสรุปว่ามีความรุนแรงเท่าเดลตา ยังต้องดูข้อมูลต่อไป ส่วนเรื่องของภูมิคุ้มกัน มีรายงานจากแอฟริกาใต้ว่า เมื่อติดเชื้อด้วย BA.1 ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่สามารถกัน BA.2 ได้ จึงไม่สามารถกัน BA.4 และ BA.5 ได้เช่นกัน แต่หากติดเชื้อ BA.1 และรับวัคซีนมาก่อน ภูมิคุ้มกันจะลดลงไม่มาก จะช่วยป้องกัน BA.4 และ BA.5 ได้มากขึ้น ดังนั้น การฉีดวัคซีนด้วยจะดีกว่าการติดเชื้อโดยธรรมชาติ และวัคซีนยังช่วยป้องกันได้ทุกสายพันธุ์



 

สายพันธุ์ไฮบริดลูกผสม

 
             สำหรับสายพันธุ์ลูกผสมหรือไฮบริดที่ประเทศไทยส่งตัวอย่างไปยังฐานข้อมูลกลางโลก GISAID ยังไม่พบว่าเข้าได้กับสายพันธุ์ลูกผสมตัวใด ส่วนการตรวจด้วยเครื่องอัตโนมัติขั้นต้นในการบ่งบอกสายพันธุ์ ขณะนี้มี 12 ตัวอย่าง เข้าได้กับ XM 8 ตัวอย่าง XN 3 ตัวอย่าง และ XE 1 ตัวอย่าง แต่ต้องรอ GISAID วิเคราะห์ว่าใช่หรือไม่ ทั้งนี้สายพันธุ์ลูกผสมในไทยไม่น่ากังวล เพราะสายพันธุ์เดลตาหายไปเกือบหมด จึงไม่น่าจะเกิดไฮบริด ยกเว้นสายพันธุ์ลูกผสมที่พบจะมีการขยายพันธุ์
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด