ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การใช้กัญชาเป็นอาหาร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

การใช้กัญชาเป็นอาหาร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร HealthServ.net

การใช้กัญชาเป็นอาหาร คำถามที่พบบ่อยคือ ใช้อย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ถึงจะไม่เมา

การใช้กัญชาเป็นอาหาร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ThumbMobile HealthServ.net
การใช้กัญชาเป็นอาหาร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร HealthServ

การใช้กัญชาเป็นอาหาร

                     
การใช้กัญชาเป็นอาหารศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรภูมิปัญญาของคนไทย นอกจากจะพบการใช้กัญชาเป็นยาแล้ว ยังใช้เป็นสมุนไพรชูรสเพื่อทำให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม โดยส่วนที่ใช้คือใบกัญชาสดหรือแห้งก็ได้ นิยมใส่แกง ก๋วยเตี๋ยว หรือผัด โดยปริมาณที่ใช้ต่อหนึ่งหม้อมื้ออาหารรับประทานกันในครอบครัว จะอยู่ประมาณ 3 ยอด หรือ 5-8 ใบ
 
 
 
สารออกฤทธิ์สำคัญในกัญชา คือ delta-9-tetra-hydrocanabinol (THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือชาวบ้านเรียกว่า “สารเมา” และ สาร cannabidiol (CBD) ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท  ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ในเมนูอาหาร ในกัญชาไทยจะมี THC มากกว่า CBD
 
 
 

การใช้กัญชาเป็นอาหาร คำถามที่พบบ่อยคือ ใช้อย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ถึงจะไม่เมา

 
องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่าใน ใบสด ของกัญชา จะพบสาร cannabidiolic acid (CBDA) และ Tetrahydrocannabinolic acid (THCA) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่เมา)  และเมื่อถูกแสงและความร้อนทั้งจากการปรุงและเก็บรักษาจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง (decarboxylation)โดยสาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC
 
มีการศึกษาพบว่าหากใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หรือ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที หรือ 200 องศาเซลเซียส   เป็นเวลา 1-2 วินาที สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นเป็นสาร THC อย่างสมบูรณ์ การสูบกัญชาจะทำให้สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC ประมาณ 95% ใบกัญชาแห้งที่ถูกเก็บไว้ สาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร THC อย่างช้าๆ
 
 
 
สาร THCA ในใบสด ก็มีสรรพคุณทางยาเช่นกัน แต่ยังเป็นการศึกษาในระดับเริ่มต้นทั้งสิ้น ยังต้องรองานวิจัยสนับสนุนอีกมาก ซึ่งเบื้องต้น พบฤทธิ์ลดอักเสบ ปกป้องสมอง ต้านการชัก ต้านอาเจียน ในต่างประเทศนำใบสดมาบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำคั้น น้ำปั่น ผักเคียง สลัด กลไกพบว่า สาร THCA ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ทำลายสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกัญชาที่มีอยู่ในร่างกาย คือ cannabinoid 2-AG ทำให้ปริมาณสารดังกล่าวออกฤทธิ์ในร่างกายได้นานขึ้น
 
 
การนำกัญชามาใช้ในการเป็นอาหาร ไม่มีข้อมูลเชิงวิจัยถึงขนาดการใช้ที่ชัดเจน มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อผลการใช้ เช่น ปริมาณที่ใช้ สารออกฤทธิ์จากวัตถุดิบ ความร้อนที่ใช้ในการประกอบอาหารส่วนประกอบอื่น ในเมนู วิธีการใช้ การบดให้ละเอียด ก่อนนำมาผ่านความร้อน จะทำให้สารออกฤทธิ์มากขึ้น ความร้อนที่สูง ระยะเวลาในการปรุงที่นานขึ้น การปรุงร่วมกับอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้สาร THC เพิ่มปริมาณมากขึ้นได้
 
 

ในด้านความปลอดภัย

 
การศึกษาในหนูพบว่าเมื่อให้สารสกัดเอทานอลจากใบกัญชาทางการรับประทาน 172.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ นาน 12 สัปดาห์ คิดเทียบเป็นการใช้ในมนุษย์ 8.5 ปี พบว่าสาร THC มีความเป็นพิษต่อเซลล์สมอง โดยเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์สมองและทำให้ปลอกประสาทเสียหาย การศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังในหนูทดลอง โดยให้สารสกัดเอทานอลจากใบ 1729.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีปริมาณสาร THC 2-4% รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 90 วัน คิดเทียบเป็นการใช้ในมนุษย์ 8.5 ปี พบว่าทำให้เซลล์สมองฝ่อ เหนี่ยวนำให้เกิดการตายของ   เซลล์อัณหะ เซลล์ตับและไต โดยที่ตับและไตพบการตีบลงของหลอดเลือดที่มาเลี้ยง

จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการบริโภคกัญชาในขนาดสูงและเป็นเวลานาน โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน อาจมีโทษมากกว่าประโยชน์ จึงแนะนำว่าควรใช้ในปริมาณน้อยตามภูมิปัญญาเดิม      คือวันละ 5-8 ใบ กรณีใช้ประกอบอาหารผ่านความร้อน อาจพบปริมาณสาร THC อยู่บ้าง กรณีใช้สด ถึงแม้ว่าไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลมากพอ ณ ขณะนี้ที่จะยืนยันถึงความปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชา ได้แก่ อายุต่ำกว่า 25 ปี ตับและไตบกพร่อง ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
 
 

แนวคิดการใช้ประโยชน์จากใบกัญชา ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

 
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้ ใบ ราก ลำต้นกัญชา ไม่ถูกจัดเป็นยาเสพติดแล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องนำวัตถุดิบมาจากต้นที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น (พรบ ยาเสพติดให้โทษ ฉ 7 อนุญาตภาครัฐที่มีภารกิจ อาจร่วมกับวิสาหกิจชุมชนได้) ลิงค์ราชกิจจา 
 

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นหน่วยงานนำร่องในด้านการพัฒนากัญชาและการใช้ประโยชน์ตั้งแต่การปลูก ผลิตทำยาและใช้ในเชิงการแพทย์เพื่อรักษาโรค รวมถึงการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์และการเพิ่มมูลค่าในอนาคต (จากส่วนที่ปลดล็อค) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเป็นมาตรฐานทางอภัยภูเบศรเดย์สปา เป็นศูนย์ฝีกอบรมภูมิปัญญาสมุนไพร ได้เริ่มต้น พัฒนาเมนูจากกัญชา บนพื้นฐานความปลอดภัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยทำนำร่องเป็นต้นแบบเพื่อถ่ายทอดต่อประชาชน ผู้ประกอบการที่สนใจ                                             
 
ทั้งนี้ การนำไปใช้ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในการใช้เพื่อไม่ให้เกิดโทษ ต่อผู้บริโภค ดังนั้น จึงใส่ข้อจำกัดในการใช้ตามเอกสารไว้ด้วย รวมถึงข้อห้ามข้อจำกัดว่าใครบ้างที่ไม่ควรใช้ เนื่องจากกัญชาในอาหารยังเป็นสิ่งใหม่ต่อสังคมไทย เพราะถูกจัดเป็นยาเสพติดมามากกว่า 60 ปี เมื่อจะนำมาสู่สังคมจึงต้องมีการใช้อย่างระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยโดยรวมด้วย
 
 

ช่องทางในการเข้าถึงเมนูอาหารจากกัญชา

 
เริ่มเปิดจำหน่ายให้รับประทานวันแรก เมื่อ 6 ธันวาคม 2564 โดยเป็นการจำหน่ายเฉพาะที่ อภัยภูเบศรเดย์สปา ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี โดยเปิดบริการทุกวัน เวลา 8.30-15.00 น.และสามารติดต่อเพื่อทำการสั่งอาหาร ที่ 037-217127 หรือใช้บริการเดลิเวอร์รี่ในพื้นที่ปราจีนบุรี สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด อาจรอติดตามเมนูพิเศษในรูปแบบอาหารว่างที่จะมีการพัฒนาต่อไป
 
 

แนวทางการต่อยอดส่งต่อประชาชนในอนาคต

 
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะเข้าร่วมงาน มหกรรมกัญชา กัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 5-7 มีนาคม 2564 โดยจะนำองค์ความรู้ในการแปรรูปส่วนต่างๆ ของกัญชาที่ไม่เป็นยาเสพติด ไปเผยแพร่และอบรมภายในงานด้วย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามข่าวสาร ผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร หรือ ไลน์ @abhthaimed โทรศัพท์ 037-21 1289 วันเวลาราชการ

ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
 
แหล่งอ้างอิง
 
1. สุภาภรณ์ ปิติพร. กํญชาและผองเพื่อน สมุนไพรเพื่อระบบประสาทและจิตใจ. พิมพ์ครั้งพี่ 1. : กรุงเทพฯปรมัตถ์คารพิมพ์; 2563
 
2. Lee AD. Dosing THCA : less is more [อินเตอร์เนต ].2016 เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 25631 เข้าถึงได้จาก :http://www.projectcbd.org/medicine/dosing-thca-less-more
 
3. Kerstin I, et al. Decarboxylation of Tetrahydrocannabinolic acid (THCA) to active THC. European Industrial Hemp
 
Association (EHA) [อินเตอร์เนต]. 2016 (เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://eiha.org/media/2014/08/16-10-25-Decarboxylation-of-THCA-to-active- THC.pdf
 
4. Civantos D. What are the diferences between THC and THCA?. [อินเตอร์เนต] 2016 (เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2563]. เข้าถึง
 
ได้จาก : https://www.dinafem.org/en/blog/differences-between-thc-and-thca/
 
5. Amin DM, et al. Brain Toxic Effects of Cannabis Leaves and A Novel Prognostic Biomarker and Therapy:Experimental Study . International Journal of Life Sciences [อินเตอร์เนต]. 2017 [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 25631]. เข้าถึงได้
 
จาก : file:///C:/Users/User/Downloads/Brain ToxicE ffectsofCanna bis LeavesandANovelPrognostic. pdf
 
6. Yassa HA Subchronic toxicity of cannabis leaves on male albino rats. Human and Experimental Toxicology [อิน เต อ ร์เน ต]. 2010 [เข้าถึงเมื่ อ 7 ธันวาคม 2563] เข้าถึ งได้ จ า ก http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi= 10. 1.1.830.5096&oep=rep1&type-pdf
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด