ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทอนซิลอักเสบ กินยาอะไร

ทอนซิลอักเสบ กินยาอะไร HealthServ.net
ทอนซิลอักเสบ กินยาอะไร ThumbMobile HealthServ.net

ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะจ๊ะ อย่าซื้อกินเอง

      ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิล อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย จะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนอาหารลำบากเพราะเจ็บคอมาก 
 
      โดยทั่วไปแล้วการรักษาภาวะต่อมทอนซิลอักเสบ มักจะใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือลดไข้ ให้ยาฆ่าเชื้อ (ถ้าจำเป็น) โดยอาจใช้เวลารักษาประมาณ 2 สัปดาห์อาการถึงจะดีขึ้น
 
ตัวอย่างยาที่ใช้รักษา
 
1. ยาลดน้ำมูก คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
 
2. ยาลดไข้ พาราเซตามอล (Paracetamol), ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)

นอกจากนี้ หากมีอาการอื่นๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์ และการใช้ยารักษาจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกร ห้ามซื้อยามากินเอง เพราะอาจทำให้แพ้ยา หรือเกิดอันตรายจากการใช้ยาได้
การปฏิบัติตัวก็เป็นสิ่งสำคัญโดยแนะนำให้
 
  1. ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องมากๆ วันละ 8 แก้วขึ้นไป เพื่อทำให้มีความชุ่มคอ
  2. ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด หรือรสจัด
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  5. ใช้เสียงให้น้อยลง
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ
          นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า การดื่มน้ำเย็นจะทำให้อาการเจ็บคอแย่ลง ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงแล้วการดื่มน้ำเย็น หรืออาหารแช่เย็น เช่น ไอศกรีมจะช่วยลดอาการปวด  ลดอาการบวม จากการอักเสบของต่อมทอนซิลได้
 
          อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเป็นหวัดและเจ็บคอจากสาเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ต่อมทอนซิลอักเสบ แนะนำให้ดื่มน้ำที่อุณหภูมิปกติจะดีที่สุด
 
           ดังนั้นก่อนจะเชื่อ หรือแชร์ข้อมูลใด ๆ ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ผิด ๆ จนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้

ข้อมูลสุขภาพจาก อย.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด