สำหรับก้าวต่อไปนับจากนี้ ซึ่งเป็น Healthcare Trend ที่สำคัญของโลก บำรุงราษฎร์มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ Smart Healthcare 5.0 เพื่อการดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ โดยยังคงให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผู้ป่วย อีกทั้งยังยกระดับการให้บริการเพื่อส่งมอบการดูแลรักษาสุขภาพระยะยาว (Lifetime value health partner) ในทุกช่วงอายุเพื่อให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ทิศทางการแพทย์ บำรุงราษฎร์ยังมุ่งพัฒนาการรักษาในระดับจตุตถภูมิ (Quaternary Care) รวมถึงการยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Center of Excellence) เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคยากและโรคซับซ้อนได้อย่างครอบคลุมทุกโรค ซึ่งจำเป็นต้องใช้สหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team) เข้ามาร่วมในการดูแลรักษาและมุ่งเน้นบุคลากรหลากหลายสาขา
งาน "Bumrungrad: Shifting the Future of Healthcare" เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2565
จุดแข็ง 3C1W
จุดแข็ง 3C1W ในด้านคุณภาพของการรักษา (Quality of Care) ของ บำรุงราษฎร์ คือ
1) Critical care
2) Complicated care
3) Collaboration of Expertise
4) Wellness and Prevention
1) Critical care การรักษาโรควิกฤต
Critical care การรักษาโรควิกฤต บำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์เวชบำบัดวิกฤตที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Critical Care Medicine จากสหรัฐอเมริกา และเป็นทีมที่เข้มแข็งและเป็นเสาหลักของโรงพยาบาล ที่พร้อมดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการจัดการอย่างมีระบบ
2) Complicated care การรักษาโรคซับซ้อน
Complicated care การรักษาโรคซับซ้อน บำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ชำนาญการและประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับหลายอวัยวะหรือเป็นโรคยากต่อการวินิจฉัย โดยมี Center of Excellence ที่ครอบคลุมการรักษาในทุกโรค ซึ่งรวมถึงการปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation) มีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์และความชำนาญการขั้นสูงในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ มากว่า 30 ปี ทั้งการปลูกถ่ายไต, ปลูกถ่ายหัวใจ, ปลูกถ่ายตับ และปลูกถ่ายตา โดยบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจให้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
3) Collaboration of Expertise ผสานความชำนาญทีมแพทย์สหสาขา
1. Robotic Surgery Center การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดระบบดาวินซีเข้ามาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยหลายระบบอวัยวะให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และ