ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไข้เลือดออก อาการสำคัญ-อาการอันตรายของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก อาการสำคัญ-อาการอันตรายของโรคไข้เลือดออก HealthServ.net
โรคไข้เลือดออก อาการสำคัญ-อาการอันตรายของโรคไข้เลือดออก ThumbMobile HealthServ.net

อาการสำคัญของโรคไข้เลือดออก ไข้สูงลอย ประมาณ 39-40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก

อาการสำคัญของโรคไข้เลือดออก

  • ไข้สูงลอย ประมาณ 39-40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก
  • มีหลักฐานเลือดออกง่าย: จุดเลือดออก จ้ำเลือด อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ เลือดออกทางเยื่อบุ ทางเดินอาหาร ตำแหน่งที่ฉีดยา หรืออื่นๆ
  • ตรวจพบเกร็ดเลือด < 100,000 รัดแขนพบจุดเลือดออก (Tourniquet test ≥10จุด/ตารางนิ้ว) ตับโต
  • มีการรั่วซึมของพลาสมา: ความเข้มข้นเลือดสูงขึ้น ≥ 20% ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวหรือช็อคมักจะเกิดช่วงไข้ลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากสีเขียว ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
 
 

ปัญหาที่พบบ่อยของอาการไข้เลือดออก

ตัวร้อนมาก หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนรุนแรงควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ 
  1. ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลูบเบาๆ บริเวณหน้า ลำตัวแขนและขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นอก แผ่นหลังและขาหนีบ สลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าบางๆ นอนพักผ่อน
  3. ให้รับประทานยาลดไข้ พาราเซตามอล เวลามีไข้สูงหรือปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่น โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ หรือตับวายได้
  4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น 
  5. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว
  6. อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศรีม ข้าวต้ม เป็นต้น 
  7. ควรงดอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีสีแดง ดำ หรือสี น้ำตาล 
  8. หมายเหตุ ในระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออก การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก การเช็ดตัวลดไข้ จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
  9. มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจติดตามการดำเนินโรค

อาการอันตรายของโรคไข้เลือดออก

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ข้อใดข้อหนึ่งต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล เพราะอาจเป็นโรคไข้เลือดออก
  • ผู้ป่วยซึม หรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
  • คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา
  • ปวดท้องมาก
  • มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ
  • กระสับกระส่าย หงุดหงิด เอะอะโวยวาย
  • กระหายน้ำตลอดเวลา
  • ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก
  • ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก สีผิวคล้ำลง ตัวลายๆ (เข้าสู่ระยะช็อค) 

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • ควรนอนในมุ้ง หรือในห้องติดมุ้งลวดที่ปลอดยุงลาย 
  • ไม่เล่นในมุมมืด หรือบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน 
  • ห้องเรียน หรือห้องทำงาน ควรมีแสงสว่างส่องทั่วถึง มีลมพัดผ่าน ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น แจกันดอกไม้ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน พลูด่างควรปลูกในดิน 
  • กำจัดยุงในบริเวณมุมอับภายในบ้าน ตู้เสื้อผ้า บริเวณรอบๆบ้าน ทุกสัปดาห์ 
  • กำจัดลูกน้ำ ภาชนะใส่น้ำภายในบ้านควรปิดฝาให้มิดชิดถ้าไม่สามารถปิดได้ให้ใส่ทรายอะเบท หรือใส่ปลาหางนกยูง จานรองขาตู้กับข้าว จานรองกระถางต้นไม้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูหรือผงซักฟอก สัปดาห์ละครั้ง วัสดุที่เหลือใช้รอบๆบ้าน เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า ฯลฯ ให้คว่ำหรือทำลายเสีย 
 

 ข้อสำคัญโรคไข้เลือดออก  ถ้ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องรีบนำส่ง รพ.ทันที

  • มีอาการเพลีย ซึม ไม่ดื่มน้ำ ไม่รับประทานอาหาร ไม่มีกิจกรรมตามปกติเมื่อไข้ลง (บางรายจะ กระหายน้ำมาก) 
  • อาเจียน / ปวดท้องมาก
  • เลือดออกผิดปกติ
  • มีอาการช็อค / IMPENDING SHOCK คือ มือเท้าเย็น
  • กระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
  • ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย สีผิวคล้ำลง
  • ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ 4-6 ชม.
  • ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะโวยวาย เป็นระยะอันตรายของโรคไข้เลือดออก เข้าสู่ระยะช็อค แม้อยู่ในภาวะช็อค ผู้ป่วยจะมีสติดีพูดจารู้เรื่องต้องรีบนำส่งรพ. ที่ใกล้ที่สุดทันที (กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำ) 

กรณีผู้ป่วยรับการรักษาอาการของไข้เลือดออก แล้วแพทย์ให้กลับบ้านได้ ควรดูแลและปฏิบัติตนต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้ หากมีคนในบ้านมีไข้สูง ให้พามาตรวจ
  • ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติควรรีบพามาพบแพทย์ทันที
  • ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน หรือ ยากลุ่ม NSAID เช่น ไอบูโปรเฟน เนื่องจากทำให้เกิดเลือดออกทางเดินอาหารมากขึ้น หรือมีผลต่อตับได้
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และที่โรงเรียน
     
พญ.ปราณี สิตะโปสะ
กุมารแพทย์ รพ. วิภาวดี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด