1. กลุ่มงานและคลินิกบริการ
- ห้องตรวจโรคตา
- ห้องตรวจโรคศัลยกรรม
- ห้องตรวจรังสีวิทยา
- เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- ห้องตรวจกุมารเวชกรรม
- ห้องตรวจโรค โสต ศอ นาสิกกรรม
- คลินิกอาชีวเวชกรรม
- ห้องตรวจโรคออร์โธปิดิกส์
- พยาธิวิทยาคลินิก
- ห้องล้างไตทางช่องท้อง
- ห้องตรวจโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
- ห้องตรวจโรคระบบทางเดินหายใจ
- คลินิกเบาหวาน
2.งานบริการสุขภาพเคลื่อนที่
3.สิทธิประโยชน์ คทร.,ทั่วไป
4.บริการห้องพักผู้ป่วย
ศูนย์หัวใจ
ห้องตรวจโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เปิดให้บริการผู้ป่วยที่มาใช้บริการตรวจรักษาโรคทางอายุรเวชกรรมที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยมุ่งเน้นเฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้การรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องตรวจพิเศษได้แก่
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (E.K.G.)
- การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยวิธีการปั่นจักรยาน (Exercise Stress Test, การเดินบนสายพาน )
- การตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram)
- การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจโดยส่องกล้องผ่านหลอดอาหาร (Transeophageal Echocardiogram)
- การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (EKG Holter 24 Hrs)
- การทดสอบบนเตียงปรับเอง (Tilt Table Test)
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยใช้ยาในการกระตุ้นหัวใจให้ทำงานมากขึ้น (Dobutamine Stress Echocardiogram)
- การตรวจบันทึกความดันโลหิต 24 ชั่วโมง (BP monitor 24 hrs)
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด ให้บริการผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ได้แก่กลุ่มโรค
เครื่องตรวจสวนหัวใจ Cath Lab (Cardiac Catheterization Lab)
ใช้สำหรับ
-ตรวจหาความผิดปกติของเส้นเลือดหัวใจ
-ใส่ขดลวดขยายเส้นเลือดหัวใจ
ศูนย์เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง
นโยบายศูนย์เวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง
- ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยเคารพในสิทธิชั้นพื้นฐาน และดำเนินงานด้วยจริยธรรมที่ดี
- ให้การดูแลป้องกันและจัดการกับความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้รับบริการปราศจากภาวะแทรกซ้อน
ภารกิจและการดำเนินงานของศูนย์ ฯ
- ให้การรักษาโรคที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติการใต้น้ำและในอากาศ (Decompression Sickness)
- ให้การรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนและจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับบรรยากาศความดันสูงตามที่สมาคม เวชศาสตร์ใต้น้ำ และความดันบรรยากาศสูงนานาชาติ (UHMS) ให้การยอมรับ (Hyperbaric Oxygen Therapy)
- ดำเนินการบวบรวมข้อมูลทางสถิติและเผยความรู้งานด้านเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง
ศูนย์อุบัติเหตุ
ศูนย์ประสานงานการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ(Truma Center) จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนอง Vision Statement ของโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ในการเป็นศูนย์การแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ โดยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ อีกทั้งดูแลรักษาผู้ป่วยทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ เคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวดเร็ว ปลอดภัย เพื่อนำส่งเข้ารับการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุชาย หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง และหอผู้ป่วยวิกฤติอุบัติเหตุ ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และทีมการดูแลรักษาที่มีความเชี่ยวชาญ มีการรวบรวมข้อมูลการดูแลรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุด้วย โปรแกรม Truma Registry เพื่อนำมาสู่การดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การประเมินภาวะผู้สูงอายุ คือการคัดกรองอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยให้
- ค้นพบโรคเรื้อรังในระยะเริ่มแรก
- ทำให้สามารถป้องกัน รักษา และสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขต่อไป
การประเมินภาวะผู้สูงอายุ ต้องประเมินอะไรบ้าง?
• ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADLs,IADLs)
• ทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ( Dementia)
• การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Incontinence)
• การหกล้ม (Fall and Time up to go test )
• ภาวะทางโภชนาการ ( Nutrition)
• อารมณ์ซึมเศร้า (Depression)
ส่งต่อพบแพทย์ผู้สูงอายุและ แพทย์เฉพาะทาง
----*** การประเมินภาวะผู้สูงอายุ ยังมีการให้บริการที่จำกัดในปัจจุบัน ดังนั้น!! ถ้าท่านไม่ได้รับการประเมิน อาจทำให้เสียโอกาส และอาจทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ถ้าไม่ได้ป้องกันในระยะเริ่มต้น----
*** ข้าราชการบำนาญทหารเรือ และครอบครัวอายุ 70 ขึ้นไป เข้ารับการประเมินภาวะผู้สูงอายุแล้วจะได้รับสิทธิพิเศษ บัตรโครงการ “ 70 ปี นาวีเป็นสุข”
ความเป็นมาของโรงพยาบาล
เนื่องด้วยโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ต้องการขยายขีดความสามารถในด้านการรักษาพยาบาลให้มากขึ้น เนื่องจากกองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมให้ขยายและจัดตั้งหน่วยกำลังรบหน่วยสนับสนุนและหน่วยการศึกษาขึ้น ในพื้นที่สัตหีบ จึงทำให้ข้าราชการ ลูกจ้างและครอบครัวของทหารเรือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินพาณิชย์ด้วย ทำให้มีประชาชนเข้ามาประกอบอาชีพในพื้นที่นี้เป็นจำนวนมาก แต่โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ มีพื้นที่จำกัดรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย ทางกองทัพเรือมีความเห็นว่าน่าจะสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในพื้นที่สัตหีบ เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ขนาด 1000 เตียง จากการสำรวจพื้นที่พบว่าบริเวณส่วนหนึ่งของสนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ คือบริเวณสี่แยกบ้าน กม.10 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ขนาดเนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ เป็นพื้นที่เหมาะสม ประกอบกับในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ทางกองทัพเรือจึง อนุมัติให้การสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ ได้กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเป็นองค์ประธานในการวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 18 สิงหาคม 2535 และได้ขอพระราชทานนามของโรงพยาบาลแห่งใหม่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามว่า " โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ "
การดำเนินการก่อสร้าง
กองทัพเรือได้จัดทำโครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เสนอขออนุมัติกระทรวงกลาโหม มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ( ปีงบประมาณ 2535-2538 ) วงเงินรวม 1,809 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าออกแบบจำนวน 18 ล้านบาท ค่าปรับถมพื้นที่ 10 ล้านบาท ค่าเครื่องมือแพทย์ 400 ล้านบาทและค่าก่อสร้าง 1,381 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติโครงการ แต่เนื่องจากการก่อสร้างโรงพยาบาลดังกล่าว จะต้องใช้งบประมาณดำเนินการสูงและมีระยะเวลาการก่อสร้างยาวนาน กองทัพเรือได้เสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปี คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อ26 พ.ย.2534 อนุมัติให้กองทัพเรือผูกพันข้ามปีงบประมาณในปี งป. 35-38 วงเงินรวม 1,989.9 ล้านบาท
กองทัพเรืออนุมัติหลักการให้ดำเนินการก่อสร้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร้อมกับอนุมัติ หลักการว่าจ้างการออกแบบก่อสร้างและเพื่อให้การจัดจ้างก่อสร้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยมีผู้ช่วยเสนาธิการกองทัพเรือฝ่ายยุทธบริการเป็นประธาน มีหน้าที่พิจารณาแบบ ตำบลที่พร้อมประมาณการค่าก่อสร้าง และให้เสนอขออนุมัติแบบและตำบลที่ในโอกาสแรก เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้าง รวมทั้งรับผิดชอบติดตามและตรวจสอบผลการออกแบบก่อสร้าง การจัดจ้างก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา จนกว่าจะพ้นเวลารับประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญา (1 ปี) กรมช่างโยธาทหารเรือ ได้ออกประกาศคัดเลือกผู้รับจ้างออกแบบ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ผลการคัดเลือกปรากฏว่ามีผู้เสนอจำนวน 2 ราย คณะกรรมการดำเนินการว่าจ้างออกแบบเห็นควรให้เลือก บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างในวงเงิน 18 ล้านบาทกองทัพเรือได้เสนอปลัดกระทรวงกลาโหม ขออนุมัติว่าจ้าง บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัดออกแบบงานก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ในวงเงิน 18 ล้านบาท ซึ่งปลัดกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติว่าจ้างตามที่กองทัพเรือเสนอ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด ได้ดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จและได้เสนอคณะกรรมการจัดจ้าง ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาแล้วได้เสนอกองทัพเรืออนุมัติแบบ ตำบลก่อสร้าง ซึ่งกองทัพเรือได้อนุมัติแบบและตำบลที่เมื่อ 8 กรกฎาคม 2535 กรมช่างโยธาทหารเรือ ได้ดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างโรงพยาบาล โดยกำหนดวันยื่นซองประกวดราคาใน 19 สิงหาคม 2535 มีผู้เสนอราคา 6 ราย ปรากฏว่าผู้เสนอราคามีคุณสมบัติและเสนอเงื่อนไขต่าง ๆ ถูกต้องเพียง 4 ราย บริษัท เอสทีเอ็น คอนสตรัคชั่น จำกัด เสนอราคาต่ำสุดเป็นเงิน 1,034,926,671 บาท พร้อมกับเสนอสำนักงบประมาณขอความเห็นชอบราคาว่าจ้างก่อสร้างโรงพยาบาลฯ ตามระเบียบการ การก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ พ.ศ. 2534 ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้ว่าจ้าง บริษัท เอสทีเอ็นฯ ทำการก่อสร้างโรงพยาบาลฯ และสำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบราคาว่าจ้างแล้ว กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง บริษัท เอสทีเอ็น คอนสตรัคชั่น จำกัด ทำการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ในวงเงิน 1,034,926,671 บาท ในวันที่ 29 กันยายน 2535 ระยะเวลาเริ่มต้นการก่อสร้าง 9 ตุลาคม 2535 สิ้นสุด 20 พฤศจิกายน 2538 แบ่งงวดงานออกเป็น 35 งวด ดังนี้
1. อาคารรักษาผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน 1 หลัง
2. อาคารพิเคราะห์และบำบัดโรค 1 หลัง
3. อาคารหอพักคนไข้ 2 หลัง
4. อาคารอำนวยการ 1 หลัง
5. อาคารบริการ 3 หลัง
6. อาคารพักเจ้าหน้าที่ 2 หลัง
7. อาคารโรงอาหาร 1 หลัง
8. อาคารเก็บศพ 1 หลัง
9. ระบบปรับอากาศ โทรศัพท์
10. ระบบผลิตน้ำประปา
11. ระบบบำบัดน้ำเสีย
12. ระบบไฟฟ้า , ประปา
13. สิ่งอำนวยความสะดวก