● ช่วงอายุ 2 ปี
ความเข้าใจภาษา
- ชี้อวัยวะได้ 3-6 อย่าง
- ทำตามสั่งได้ 2 ขั้นตอน ชี้รูปได้มากขึ้น
- เข้าใจคำถามมากขึ้น เช่น "นี่อะไร" ฯลฯ
การใช้ภาษา
- พูดเป็นคำที่มีความหมายได้มากขึ้น ประมาณ 50 คำ
- เรียกชื่อของในบ้านได้มากขึ้น
- พูดเป็นวลีสั้นๆ ได้ เช่น "ไปเที่ยว" "ไม่กิน" ฯลฯ
- ถามคำถาม "อะไร"
- ระวัง! *ลูกไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำต่อเนื่องเช่น เอานม ไปเที่ยว ฯลฯ พูดคำศัพท์น้อยกว่า 50 คำ
● ช่วงอายุ 2 ปีครึ่ง
ความเข้าใจภาษา
- เริ่มทำตามสั่งที่ซับซ้อนได้มากขึ้น
- ชี้ภาพในหนังสือได้ถูกต้องมากขึ้น
การใช้ภาษา
- บอกชื่อตัวเองได้
- บอกความต้องการได้ เล่าเรื่องที่สนใจแต่อาจจะยังไม่เชื่อมโยง
- ระวัง! *ลูกไม่พูดเป็นวลียาว 3-4 คำ ยังทำเสียงไม่เป็นภาษา
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยมีพัฒนาการทางการพูดที่สงสัยว่าจะพูดช้า ควรปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อประเมินและให้คำแนะนำต่อไป
คำแนะนำเบื้องต้นในการพัฒนาภาษาของลูก
1. มีเวลาพูดคุยหรือเล่นกับลูก งดการดูจอทุกชนิด ยกเว้นการ video call
2. ออกเสียงพูดให้ชัดเจน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก
3. ถ้าลูกพูดช้า คนเลี้ยงควรพูดในสิ่งที่เขาสนใจหรือกำลังทำ เพื่อให้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ร่วมกับฝึกให้เขาทำตามสั่ง ซึ่งเราอาจจะต้องจับมือทำไปด้วย เพื่อให้เขาเชื่อมโยงคำพูดกับการกระทำ รอและเปิดโอกาสให้ลูกได้เปล่งเสียงตามด้วย
4. มีการเล่น ชี้ชวนดูรูปภาพในหนังสือ หรือสิ่งของรอบตัว ร้องเพลง เล่นสมมติ เพื่อเพิ่มคำศัพท์
5. ฝึกให้ลูกพูดในสถานการณ์จริง โดยการ
- ตั้งคำถาม เช่น "อะไร" "ที่ไหน"
- เป็นผู้ฟังที่ดี หยุดรอให้ลูกสบตา ขยับปากจะพูด อาจจะถามซ้ำถ้าไม่เข้าใจ หรือพูดแทนไปก่อน เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้
- ขยายความคำตอบของลูก และชมเขา เมื่อเห็นว่าพยายามสื่อสาร
เพียงเท่านี้ พ่อแม่ก็สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาของลูกเบื้องต้นได้
โรงพยาบาลนวเวช มุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและเข้าถึงง่าย พร้อมดูแลสุขภาพของผู้หญิง แม่ และเด็ก อย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลนวเวช โทร.02 483 9999 I www.navavej.com