ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โควิดระบาดหนัก อินเดียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร - BBC

โควิดระบาดหนัก อินเดียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร - BBC HealthServ.net

สถานการณ์ของอินเดีย จะว่าไป ตอนช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์นั้นดูดีมาก ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันลดลงเหลือแค่วันละไม่ถึง 20,000 คน จะจุดพีคที่วันละ 90,000 กว่าคนเมื่อเดือนกันยายนปีกลาย ทำให้นายกรัฐมนตรีโมดี ประกาศ เปิดเมือง สถานที่สาธารณะต่างๆ เปิดทำการได้เหมือนปกติ และแน่นอนว่าประชาชนก็เริ่มที่จะไม่ใส่ใจเรื่องการป้องกัน

โควิดระบาดหนัก อินเดียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร - BBC ThumbMobile HealthServ.net
วันจันทร์ที่ผ่านมา (3 พค 64) ตัวแทนระดับสูงของทางการอินเดียบอกกับนักข่าวว่า การขาดแคลนอ๊อกซิเจนในกรุงเดลีและที่อื่นๆนั้น ไม่เป็นความจริง 

เป็นข่าวปล่อยจากรพ.เพื่อให้ได้อ๊อกซิเจนมาช่วยคนไข้ โดยการแทรกแซงของพวกนักการเมือง
 
"แค่มีปัญหาในการขนส่งเท่านั้น" รัฐมนตรีมหาดไทย อินเดีย บอกกล่าวอย่างนั้น และยังปรามให้โรงพยาบาล "ใช้อ๊อกซิเจนอย่างรอบคอบ" ซึ่งในความเป็นจริง แน่นอนว่า แพทย์จะต้องจัดสรรการให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นจริงๆอยู่แล้ว "แต่ยังไงก็ยังไม่เพียงพอ"  
 
และไม่ใช่แค่ประเด็นอ๊อกซิเจนขาดแคลนเท่านั้นที่เป็นปัญหาในอินเดีย ที่หนักหนากว่าก็คือ ความไม่พร้อมรับมือสถานการณ์ของแต่ละรัฐและรัฐบาลกลาง ทั้งที่มีคำเตือนมาก่อนหน้านี้ อาทิ
 
  • เดือนพฤศจิกายน มีการแจ้งรัฐบาลแล้วว่าอ๊อกซิเจนมีไม่เพียงพอและขาดแคลนเตียงในโรงพยาบาลต่างๆ
  • เดือนกุมภาพันธ์ ผู้เชียวชาญหลายคน กล่าวกับ บีบีซีไว้ว่า เกรงว่าจะเกิดซึนามิโควิดถล่มอินเดีย
  • ต้นเดือนมีนาคม คณะผู้เชี่ยวชาญของรัฐ เตือนรัฐบาลว่ามีไวรัสกลายพันธุ์ระบาดของในประเทศแล้ว แต่รัฐบาลกลับนิ่งเฉย
  • วันที่ 8 มีนาคม รัฐมนตรีสาธารณสุขอินเดีย ประกาศว่า อินเดียคุมการระบาดได้อยู่หมัด (endgame of the pandemic)
 
อินเดียพลาดตรงไหน?
 
 

ต้นตอ

 
สถานการณ์ของอินเดีย จะว่าไป ตอนช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์นั้นดูดีมาก ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันลดลงเหลือแค่วันละไม่ถึง 20,000 คน จะจุดพีคที่วันละ 90,000 กว่าคนเมื่อเดือนกันยายนปีกลาย ทำให้นายกรัฐมนตรีโมดี ประกาศ เปิดเมือง สถานที่สาธารณะต่างๆ เปิดทำการได้เหมือนปกติ และแน่นอนว่าประชาชนก็เริ่มที่จะไม่ใส่ใจเรื่องการป้องกัน แม้ว่าตัวนายกฯ จะยังคงขอให้ประชาชนใส่หน้ากากและปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่าง แต่ตัวนายกฯ เองกลับทำสิ่งที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ไม่สวมหน้ากากเมื่อคราวออกไปหาเสียงในหลายรัฐ คณะรัฐมนตรีหลายคนก็เช่นกัน และที่หนักสุด คือการยอมให้จัดพิธีคุมเมลา เทศกาลสำคัญของชาวฮินดู ขึ้น
 

"เป็นความปากอย่าง ทำอย่างโดยแท้" 


"รัฐบาล ไม่เฉลียวใจสักนิดเลย ว่าคลื่นการระบาดระลอกสองมาจ่อแล้ว ฉลองกันเร็วไป"
 
ภาพรันทดที่ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตไม่ได้รับการรักษา สะท้อนความล้มเหลวที่รัฐเมินเฉยและละเลยระบบสาธารณสุขของประเทศโดยสิ้นเชิง ระบบที่ล้มเหลว ความเหลื่อมล้ำสุดขีด คนรวย คนมีเงินสามารถเข้าโรงพยาบาล ซื้อหายากรักษาตัวเอง ครอบครัว แต่คนจนไม่มีโอกาสทำแบบนั้นได้เลย ระบบหลักประกันสุขภาพของคนจนที่มีน้อยนิด ไม่ช่วยอะไร ระบบสาธารณสุขที่ขาดการพัฒนาโดยสิ้นเชิง ดูจากการที่ รัฐบาลกลางไม่สร้างโรงพยาบาลและสร้างบุคคลากรทางการแพทย์ขึ้นมาเพิ่มเลยในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา
 
อินเดียเป็นประเทศที่มีงบด้านสาธารณสุขน้อยที่สุดในบรรดากลุ่ม BRICs (กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) คือเพียง 3.6% ของ GDP เที่ยบกับบราซิลที่ 9.2% แอฟริกาใต้ 8.1% รัสเซีย 5.3% และจีน 5% (ข้อมูลปี 2018)
 
อัตราแพทย์ต่อประชากร อยู่ที่ น้อยกว่า 10 คนต่อประชากร 10,000 คน ในบางรัฐน้อยกว่า 5 คน
 

การเตรียมพร้อม

ที่จริงแล้วมีการเตรียมการเพื่อรับมือกับการระบาดมาตั้งแต่ปีกลายแล้ว 
 
"แม้ว่าจัดการระบาดรอบแรกได้แล้วก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ไว้ก่อน เพราะเชื่อว่ามันจะรุนแรงกว่าเดิม มีการเตรียมจัดหาอ๊อกซเจนและยาที่จำเป็นเอาไว้ ต้องเร่งผลิตไว้ให้เพียงพอ" รัฐมนตรีสาธารณสุขท่านหนึ่งกล่าวกับบีบีซี 
 
"เพราะอ๊อกซิเจนขาดแคลนทำให้ญาติผู้ป่วยต้องไปหาซื้อถังเปล่าราคาหลายพันรูปีในตลาดมืดแล้วต้องรออีกเป็นชั่วโมงเพื่อเติมอากาศ" 
 
แต่กับคนที่มีเงิน ยอมจ่ายเพื่อยาเรมดิซีเวียร์ หรือทอซิลิซูมับ ได้ 
 
ผู้บริหารโรงงานยาเล่าว่า เพราะไม่มีออร์เดอร์มาจากรัฐบาลเลยตอนช่วงต้นปี (มค-กพ) ถ้ารัฐบาลสั่งผลิตเอาไว้ จะไม่มีปัญหาของขาดสต๊อกแบบนี้ แล้วจะสั่งให้ผลิตตอนนี้ ก็ทำไม่ทันความต้องการที่พุ่งสูงไปมากอย่างเวลานี้"
 
ตรงข้ามกับรัฐทางใต้อย่างคีราลา (Kerala) ที่เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไว้อย่างดี โดยจัดหาอ๊อกซิเจนเข้าคลังเตรียมไว้ตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้ว รวมทั้งยาเรมดิซีเวียร์ ยาทอซิลิซูมับ และยาอื่นๆ ที่จำเป็นด้วย อีกทั้งได้มีการทำแผนรองรับ หากมีการระบาดพุ่งสูงขึ้นในพื้นที่อีกด้วย"
 

วิธีป้องกัน

การทำ Genone Sequencing เป็นขั้นตอนสำคัญต่อการจับตาไวรัสที่อาจกลายพันธุ์ ที่อาจจะแพร่เชื้อได้ง่ายและรุนแรงจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ อินเดียเองได้จัดตั้ง  SARS-CoV-2 Genomic Consortia (INSACOG) เมื่อปี 2020 แต่องค์กรเองกลับประสบปัญหาในเรื่องงบประมาณ ทำให้เพิ่งเริ่มดำเนินการได้เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้เอง
 
ความหวังเดียวตอนนี้คือวัคซีน 

ไม่มีวิธีอื่นใดอีกแล้วที่กอบกู้ระบบสาธารณสุขที่ล่มสลายในช่วงเวลาอันสั้น นอกจากวัคซีน การระดมฉีดให้ได้มากที่สุดเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพื่อที่อย่างน้อยช่วยลดการพึ่งพิงการพยาบาลของประชาชนลงได้บ้าง
 
เป้าหมายในฝันนั้นหมายถึงประชากรกว่า 300 ล้านคนจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งรัฐบาลไม่ได้แม้แต่จะคิดเตรียมการอะไรไว้เลย 
 
ขณะนี้ในอินเดีย มีผู้รับวัคซีนครบโดสไปแล้วเพียง 26 ล้านคน ขณะที่มีผู้ที่ได้รับหนึ่งโดสจำนวน 124 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 1,400 ล้านคน รัฐบาลกลางต้องการวัคซีนอีกทั้งหมด 1,200 ล้านโดส โดยแบ่งเป็น 615 ล้านโดส สำหรับประชากรกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 440 ล้านคน และอีก 622 ล้านโดสสำหรับประชากรอายุระหว่าง 18-44 ปี 
 
รัฐบาลอิระงับการส่งออกวัคซีนแล้ว และอัดฉีดเงินว่าจ้างหลายบริษัท อย่าง Biological E  หรือ Haffkine รวมถึง สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย ที่ผลิตวัคซีนแอสต้าเซนเนก้าสำหรับอินเดียในชื่อ โควิชีลด์ (Covishield) ให้เร่งผลิตวัคซีนให้ แต่ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญแล้ว มันอาจจะช้าเกินไป และหนำซ้ำ อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในผู้ที่จะรับวัคซีน 
 

ขำไม่ออกกับความจริงที่ว่า อินเดียที่เป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก กลับขาดแคลนยาและวัคซีนในประเทศ

 
บทเรียนนี้สำคัญ และย้ำความจำเป็นที่รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ต้องทุ่มสุดตัวให้กับระบบสาธารณสุข เพื่อเตรียมรับมือกับโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นอีกแน่นอนในอนาคตอันใกล้ 
 
และมันอาจจะมาเร็วเกินกว่าที่เราจะคาดคิดก็ได้ 

By Vikas Pandey
BBC News, Delhi
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด