ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม (24 เมย-30 พค 64)

สถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม (24 เมย-30 พค 64) HealthServ.net
สถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม (24 เมย-30 พค 64) ThumbMobile HealthServ.net

ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ได้โพสต์เกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม ในช่วง 36 วันที่ผ่านมา (หลังสงกรานต์ เริ่มระบาดระลอก 2 ในหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ) และได้ประเมินถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ พร้อมคำแนะนำที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้

สถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม (24 เมย-30 พค 64) HealthServ

เห็นตัวเลขการระบาดของโควิด 19 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้วคงเหนื่อยใจกันทุกคนนะครับ มาดูแนวโน้มผู้ป่วยที่อยู่ในระบบรักษาพยาบาลระหว่างวันที่ 24 เมษายน ถึง 30 พฤษภาคม 2564 กันครับ

ถ้าดูผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในระบบรักษาพยาบาลตามรูปที่ 1 (รวม 48,051 ราย) จะเห็นว่าเพิ่มขึ้น 2 เท่ากว่า โดยเป็นผู้ป่วยที่นอนใน รพ.เพิ่มขึ้นไม่มาก (จาก 17,924 ราย เป็น 19,008 ราย) แต่ที่นอนใน รพ.สนามเพิ่มขึ้นราว 6.5 เท่า (จาก 4,403 ราย เป็น 29,043 ราย)

เดิมผู้ป่วยส่วนใหญ่นอนใน รพ.มากกว่า รพ.สนาม แต่ตั้งแต่กลางเดือน พ.ค.ที่มีการเปิด รพ.สนามเพิ่มเติมจำนวนมาก ทำให้ตอนนี้มีผู้ป่วยที่นอนใน รพ.สนามกับนอนใน รพ.มีสัดส่วน 60:40 แสดงว่าการเปิด รพ.สนามช่วยลดภาระของโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ดีทีเดียว แต่ก็จะเห็นว่าเตียงใน รพ.ก็น่าจะอิ่มตัวเหมือนกันครับ
สถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม (24 เมย-30 พค 64) HealthServ
แต่ถ้ามาดูรูปที่ 2 ที่แสดงแนวโน้มผู้ป่วยอาการหนักและใช้เครื่องช่วยหายใจจะเห็นว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรก (24 เมย-10 พค 64) ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (จาก 418 ราย เป็น 1,209 ราย) ใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า (จาก 113 ราย เป็น 389 ราย) แต่หลังจากนั้นตัวเลขที่รายงานค่อนข้างคงที่  ในขณะที่มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา แสดงว่าเตียงสำหรับผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจน่าจะอิ่มตัวเต็มที่แล้ว
สถานการณ์ผู้ป่วยโควิดที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม (24 เมย-30 พค 64) HealthServ
 พวกเราคงต้องพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก ดูแล้วรัฐบาลคงไม่ lock down เหมือนที่เคยทำในปีก่อน  ตัวเลขตอนนี้ยังไม่ถึง peak สูงสุดนะครับ เราอาจจะได้เห็นตัวเลขหลักหมื่นต่อวันในอนาคต  ดังนั้นต้องป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่ด้วยการอยู่บ้าน เลี่ยงที่ชุมชน อย่าไว้ใจใครทั้งสิ้น ทั้งคนแปลกหน้าและคนที่เรารู้จักดี คิดเสมอว่าทุกคนมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อให้เรา ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง และหมั่นสังเกตุอาการ ไข้ หวัด เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น... ถ้ามีอาการให้รีบไปตรวจคัดกรอง และถ้าเกิดติดเชื้อขึ้นมาก็รีบติดต่อเพื่อให้ได้นอนโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ตั้งแต่ยังไม่มีอาการหรืออาการน้อย  เรื่องวัคซีนก็อย่าลืมไปฉีดเมื่อนัดฉีดได้นะครับ
 
โควิด 19 รอบนี้ไม่ใช่แค่การต่อสู้ช่วงสั้น ๆ แต่คงเป็นการวิ่งมาราธอนครับ ไม่รู้ว่าบุคคลากรทางการแพทย์ที่ตั้งรับรักษาพยาบาลอยู่ หรือประชาชนที่ดูแลตัวเองจะหมดแรงก่อน ถ้ากรรมการกลางไม่สั่งให้หยุดพักเพื่อเติมแรงก่อนจะหมดแรงกันทั้งสองฝ่าย
 
พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
31 พฤษภาคม 2564
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด