ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พันธุ์กัญชงกับเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมาย

พันธุ์กัญชงกับเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมาย HealthServ.net
พันธุ์กัญชงกับเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมาย ThumbMobile HealthServ.net

ปัจจุบัน สวพส. ได้รวบรวบพันธุ์กัญชงกว่า 30 สายพันธุ์ สำหรับใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร เครื่องสำอาง และการแพทย์

พันธุ์กัญชงกับเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมาย HealthServ

พันธุ์กัญชงกับเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎหมาย 

ที่มาและความสำคัญ
มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้รวบรวมพันธุ์กัญชงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และเริ่มคัดเลือกพันธุ์ให้มีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำ โดยใช้วิธีการคัดเลือกรวม (Mass selection) และในปี พ.ศ. 2554 ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์เฮมพ์ต่อกรมวิชาการเกษตร 4 พันธุ์ คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 มีสาร THC ต่ำกว่า 0.3% (0.072- 0.270%) และมีปริมาณ CBD เฉลี่ย 0.824% (0.594 - 1.100 %) และมีเปอร์เซ็นต์เส้นใยเฉลี่ย 13.9 % (12.9 – 14.7 %) สามารถเจริญเติบโตและในพื้นที่สูงที่มีแตกต่างกัน

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559” (6 ม.ค.60) ได้ระบุความหมายของ “เมล็ดพันธุ์รับรอง” ไว้คือ เมล็ดพันธุ์เฮมพ์จากพันธุ์พืชที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง ทั้งนี้ ตามที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์และเป็นพันธุ์พืช ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช ซึ่งผลิตโดยผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ และในบทเฉพาะกาลระบุไว้ว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ออกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
 
หรือกฎกระทรวง ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด ให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 และได้รับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืชก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) น้อยกว่าร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ผลิต และมีไว้ในครอบครองเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ ประกอบกับกฎกระทรวงฯ เฮมพ์ระบุในระยะเวลา 3 แรกที่มีผลบังคับใช้ ให้เฉพาะหน่วยงานรัฐเป็นผู้ขออนุญาตเท่านั้น ทำให้ สวพส. เป็นหน่วยงานเดียวเท่านั้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองในปัจจุบัน

การผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ของ สวพส.

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

1.การผลิตเมล็ดพันธุ์คัด (Breeder seed)
โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์แล้วมาปลูกในโรงเรือนเพื่อป้องกันการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ ตรวจปริมาณสาร THC ต้นเพศเมียแต่ละต้น และนำเมล็ดต้นเพศเมียที่มีปริมาณ THC ต่ำมารวมกันเป็นเมล็ดพันธุ์คัด
 
2.การผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก (Foundation seed)
โดยนำเมล็ดพันธุ์คัดมาปลูกในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 1 พันธุ์ต่อ 1 พื้นที่ หรือต้องมีระยะห่างของแปลงที่ปลูกต่างพันธุ์กันอย่างน้อย 5 กิโลเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างใบยอดในระยะออกดอกเพื่อตรวจปริมาณสาร THC ต้นเพศเมีย และเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์หลัก
 
3.การผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย (Extension seed)
นำเมล็ดพันธุ์หลักมาปลูกโดยเกษตรกรฝีมือดีในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 1 พันธุ์ต่อ 1 พื้นที่ หรือต้องมีระยะห่างของแปลงที่ปลูกพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างน้อย 1 กิโลเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างใบยอดในระยะออกดอกเพื่อตรวจปริมาณสาร THC ต้นเพศเมีย และเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ขยาย
 
4.การผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง (Certified seed)
นำเมล็ดพันธุ์ขยายมาปลูกโดยเกษตรกรฝีมือดีในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 1 พันธุ์ต่อ 1 พื้นที่ หรือต้องมีระยะห่างของแปลงที่ปลูกพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างน้อย 1 กิโลเมตร สุ่มเก็บตัวอย่างใบยอดในระยะออกดอกเพื่อตรวจปริมาณสาร THC ต้นเพศเมีย และเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์รับรอง
 
ปัจจุบัน สวพส. ได้รวบรวบพันธุ์กัญชงจากพื้นที่สูง และพื้นที่อื่นๆ กว่า 30 สายพันธุ์ สำหรับใช้คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร เครื่องสำอาง และการแพทย์ เช่น พันธุ์ที่มี CBD สูง พันธุ์สำหรับผลิตเมล็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีเป้าหมายที่จะขึ้นทะเบียนพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ
 
การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแต่ละปี สวพส.จะวางแผนตามความต้องการใช้ประโยชน์ โดยปลูกช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. และเก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. ประมาณปีละ 2,000- 3,000 กิโลกรัม หากมีผู้สนใจใช้เมล็ดพันธุ์ของ สวพส. สามารถทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงไว้ล่วงหน้าให้สอดคล้องกับฤดูกาลผลิตได้ โดยการรับ-ส่งเมล็ดนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขก่อนเสมอ
 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.สริตา ปิ่นมณี, สำนักวิจัย
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
2 ธันวาคม 2562
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด