ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

40 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ จากจุดเริ่มต้น พัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

40 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ จากจุดเริ่มต้น พัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน HealthServ.net
40 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ จากจุดเริ่มต้น พัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ThumbMobile HealthServ.net

40 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ จากจุดเริ่มต้น พัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

40 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ จากจุดเริ่มต้น พัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน HealthServ

จากจุดเริ่มต้น พัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน 40 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์

Part1: กว่าจะเป็นโรงพยาบาลนครพิงค์
   พ.ศ. 2484  รัฐบาลในขณะนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างรพ.ประจำจังหวัดเชียงใหม่ขึ้น บริเวณด้านนอกประตูสวนดอกโดยใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลนครเชียงใหม่" เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2484
 
   ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลได้มีดำริให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการโอนกิจการโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น " โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่" จนถึงปัจจุบัน
 
    นับจากนั้นเป็นต้นมา จ.เชียงใหม่จึงไม่มีรพ.ประจำจังหวัดที่สังกัดภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เป็นเวลานานกว่า 20 ปี 
 
   จนกระทั่งปีพ.ศ. 2523 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ทำการก่อสร้างรพ.ประจำจังหวัดแห่งใหม่ขึ้น ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ บนพื้นที่ 76 ไร่ โดยใช้ชื่อว่า "โรงพยาบาลเชียงใหม่"  มีขนาด 75 เตียง เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2523 มีนพ.อำพน ศิริบุญมา เป็นผู้อำนวยการคนแรก และเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง
 
     พ.ศ.2533 รพ.เชียงใหม่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  "โรงพยาบาลนครพิงค์" เพื่อลดความสับสนกับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยที่รพ.นครพิงค์ในขณะนั้นได้ขยายบริการเพิ่มขึ้นเป็น 256 เตียง
 
     ความเจริญรุกคืบเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่จ.เชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 18 ในปี พ.ศ. 2538 รพ.นครพิงค์ได้รับงบประมาณเพื่อจัดระบบการแพทย์รองรับ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ขณะนั้นรพ.นครพิงค์ ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด และขยายบริการเพิ่มเป็น 524 เตียง
 
      รพ.นครพิงค์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านโครงสร้างและระบบการรักษา จนกระทั่ง พ.ศ.2549 รพ.นครพิงค์ได้ผ่านการรับรองคุณภาพ HA และยังคงพัฒนาให้ผ่านการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
 
     พ.ศ.2556 รพ.นครพิงค์ได้รับการยกระดับจากโรงพยาบาลทั่วไปขึ้นเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 609 เตียง
 
    ในปัจจุบัน พ.ศ.2563 โรงพยาบาลนครพิงค์เป็นโรงพยาบาลขนาด 690 เตียง (ไม่รวม ICU 104 เตียง) มีแพทย์เฉพาะทางครบทุกแผนกรวม 206 คน มีบุคลากรสหสาขาวิชาชีพรวมแล้วกว่า 2,200 คน มีผู้ป่วยนอกเข้ามารับบริการเฉลี่ยวันละ 2,300 คน ให้บริการผู้ป่วยในจ.เชียงใหม่และจ.ใกล้เคียง ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมฟื้นฟูและป้องกันโรค ครอบคลุมตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ไปจนถึงระดับศูนย์ความเชี่ยวชาญในหลายๆด้าน
 
 
Part 2 : จากผู้ให้บริการสู่การเป็นผู้สร้างบุคลากรทางการแพทย์
     พ.ศ. 2552 รพ.นครพิงค์ได้ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยพะเยา ต่อมาจึงได้ก่อตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกรพ.นครพิงค์ขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นคลินิก ให้กับนิสิตคณะแพทยศาสตร์ม.พะเยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน 
     ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลนครพิงค์ได้ผลิตแพทย์ เพื่อออกไปรับใช้สังคมแล้ว 5 รุ่น 76 ท่าน นอกจากนั้นศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกรพ.นครพิงค์ยังได้จัดการศึกษาในระดับหลังปริญญา เพื่อผลิตแพทย์เฉพาะทางใน 6 สาขา ได้แก่ สาขาศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ออโธปิดิคส์ อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัวและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
 
Part 3 : พัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญ สู่อนาคตอย่างไม่หยุดยั้ง
โรงพยาบาลนครพิงค์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญใน 4 ด้าน ได้แก่
 
1.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ : ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลนครพิงค์ ให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจ ทั้งในด้านการวินิจฉัย การรักษาและการวิจัย อย่างครบวงจร มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านอายุรกรรมโรคหัวใจ กุมารแพทย์โรคหัวใจ สามารถรักษาผู้ป่วยโดยการสวนหัวใจทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ ได้ตลอด 24 ชม. รวมไปถึงสามารถให้การรักษาโดยการผ่าตัดเปิดหัวใจ โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและทรวงอก มีการพัฒนาระบบปรึกษาผ่านเทคโนโลยีสื่อสารทางไกล เพื่อให้แพทย์ในพื้นที่สามารถปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง
 
2.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน : พัฒนาระบบช่องทางเร่งด่วน (fast track) สำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุ บาดเจ็บทางสมอง หลอดเลือดสมองตีบ เพื่อลดระยะเวลาการเข้าถึงการรักษา เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย พัฒนาระบบการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ (sky doctor) เพื่อให้ผู้ป่วยในพื้นที่ทุรกันดาร เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วมากขึ้น ทำให้มีโอกาสการรอดชีวิตมากขึ้น
 
 - สร้างห้องแยกโรคความดับลบ 8 ห้องที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
 
3. ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง : รพ.นครพิงค์ได้มีการก่อสร้างศูนย์โรคมะเร็งแห่งใหม่ขึ้นที่ บ.ขอนตาล ต.ริมใต้ อ.แม่ริม ในเนื้อที่กว่า 25 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ที่ได้รับการบริจาคจากวัดพระนอนขอนตาล(ลัฏฐิวัน) เปิดให้บริการรักษาโรคมะเร็งอย่างครบวงจรทั้งการให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง ฝังแร่ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งอายุรแพทย์โรคมะเร็ง รังสีแพทย์ด้านรังสีรักษา และศัลยแพทย์

4.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด : เพิ่มศักยภาพโดยการขยาย NICU เป็น 32 เตียง ให้การรักษา Birth asphyxia ด้วยวิธี Therapeutic Hypothermia ให้การรักษาเส้นเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดชนิด PDA โดยการสวนหัวใจ ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติแต่กำเนิดโดยกุมารศัลยแพทย์
ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา รพ.นครพิงค์ ได้มีการพัฒนาคุณภาพ Excellence service ในทุกๆด้านอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสู่การเป็น "ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ชั้นนำแห่งล้านนา"

รพ.นครพิงค์ 
26 กันยายน 2563

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด