ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เคล็ดลับ 6 ข้อในการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของ COVID-19 (สสส & facebook)

เคล็ดลับ 6 ข้อในการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของ COVID-19 (สสส & facebook) HealthServ.net
เคล็ดลับ 6 ข้อในการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของ COVID-19 (สสส & facebook) ThumbMobile HealthServ.net

Facebook ร่วมมือกับ Social Marketing Thaihealth by สสส. เปิดตัวคอนเทนต์มุ่งให้ความรู้ ประกอบด้วยข้อมูลที่หลากหลาย เทคนิคการสังเกต รวมถึงการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับไวรัสผ่านไมโครไซต์ใหม่ล่าสุด

เคล็ดลับ 6 ข้อในการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของ COVID-19 (สสส & facebook) HealthServ
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่เคยที่คนไทยจะเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นปัจจุบันเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19
 
Facebook ร่วมมือกับ Social Marketing Thaihealth by สสส. เปิดตัวคอนเทนต์มุ่งให้ความรู้ ประกอบด้วยข้อมูลที่หลากหลาย เทคนิคการสังเกต รวมถึงการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับไวรัสผ่านไมโครไซต์ใหม่ล่าสุด

เคล็ดลับ 6 ข้อในการรับมือกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของ COVID-19 (สสส & facebook)

1. รับรู้เนื้อหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่พาดหัวข่าว
แค่เพียงหนึ่งคลิกก็สามารถช่วยให้คุณสังเกตุข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้
ขอให้อ่านเนื้อหาให้ครบถ้วน ควรระวังเมื่อเห็นรูปภาพ ตัวเลข คำพูด และวันที่ที่ไม่มีแหล่งที่มา รวมถึงข้อมูลเก่าที่ถูกนำมาใช้ หรือไร้บริบท
 
2. แหล่งที่มาที่เชื่อถือได้เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณ
แหล่งที่มาดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือด้านความถูกต้องหรือไม่?
แรงจูงใจของพวกเขาคืออะไรและพวกเขาอยู่ที่ไหน?
ตรวจสอบหน้าที่ให้ข้อมูล “เกี่ยวกับ” ของเขาเพื่อเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจสอบว่าหน่วยงานสาธารณสุขให้ข้อมูลยืนยันหรือขัดแย้งกับข้อมูลดังกล่าวหรือไม่
 
3. แชร์ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข่าวลือ
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ COVID-19 มักแพร่กระจายบนเว็บไซต์ที่สร้างให้ดูเหมือนของจริง
ขอให้คุณมองหาเบาะแสเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ชี้ไปที่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น URL ปลอม การสะกดที่ไม่ถูกต้อง หรือการจัดหน้าที่ดูแปลกตาและไม่เหมาะสม
 
4. รับภาพรวมบริบททั้งหมดจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
มองหารายงานอื่นๆ จากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เพื่อตรวจสอบว่าเรื่องราวและเนื้อหาดังกล่าว มีข้อมูลที่ถูกต้องจากหน่วยงานด้านสุขภาพหรือไม่
 
5. หากเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องได้รับการแชร์โดยเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว
ให้ส่งข้อความส่วนตัวเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบ
หากเนื้อหาดังกล่าวได้รับการกดถูกใจและความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก
ให้ทำการแก้ไขต่อสาธารณะอย่างสุภาพ
 
6. หยุดคิดก่อนแชร์
บางเรื่องราวอาจใช้ภาษาที่รุนแรงและสะเทือนอารมณ์โดยไม่ได้ให้ข้อเท็จจริง
ขอให้คุณตรวจสอบความถูกต้องก่อนแชร์เรื่องราวดังกล่าว

สำหรับข้อมูลที่ถูกต้องโปรดไปที่ social marketing โดย สสส
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด