ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เกล็ดเลือดต่ำ จุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ กระจายไปทั่วแขนขา มีเลือดออกตามไรฟัน

ลักษณะอาการจุดเลือดสีแดงเล็กๆ กระจายทั่วแขนขา เข้าได้กับเลือดออกบริเวณผิวหนัง รวมทั้งมีเลือดออกตามไรฟัน เหล่านี้เข้าได้กับลักษณะภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

หากมีจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ กระจายไปทั่วแขนขา มีเลือดออกตามไรฟัน สงสัยว่าอาการแบบนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด เป็นอะไรร้ายแรงหรือไม่ มาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
 
         ลักษณะอาการจุดเลือดสีแดงเล็กๆ กระจายทั่วแขนขา  เข้าได้กับเลือดออกบริเวณผิวหนัง รวมทั้งมีเลือดออกตามไรฟัน เหล่านี้เข้าได้กับลักษณะภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่มีในคนไข้ที่มีระดับเกล็ดเลือดที่ต่ำ จุดแดงเล็กๆ กดไม่จาง หรืออาจจะมีเลือดออกตามเยื่อบุต่าง ๆ เช่น มีอาการเลือดออกตามไรฟัน

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำคืออะไร

         เกล็ดเลือด คือ เม็ดเลือดชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือด ในร่างกายเรา ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดออก หรือในกรณีที่มีบาดแผลเกิดขึ้น ก็จะทำหน้าที่ช่วยให้เลือดหยุดไหล
 
        ในกรณีที่เกล็ดเลือดต่ำ คือ ระดับเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 เซลล์/ไมโครลิตร แต่อย่างไรก็ตาม หากมีเกล็ดเลือดต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีอาการได้ ยกเว้นกรณีที่ต่ำมาก คือ มีระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่า 30,000 เซลล์/ไมโครลิตร จะเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดเลือดออกได้เอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระแทกก่อนได้เลย

สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คืออะไร

        ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ สาเหตุเกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่
  1. ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้น้อยลง
  2. การที่เกล็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ เช่น ภาวะที่ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อเกล็ดเลือด ทำให้เกล็ดเลือดโดนทำลายมากขึ้น
  3. เกิดจากกรณีที่คนไข้มีภาวะโรคตับ ทำให้มีม้ามโต เกล็ดเลือดส่วนหนึ่งจึงเข้าไปอยู่ในม้าม เมื่อเจาะเลือดจะพบว่ามีระดับเกล็ดเลือดต่ำลงได้

หากเกล็ดเลือดต่ำควรทำอย่างไร

        ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติ  ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อยืนยันสาเหตุเกร็ดเลือดต่ำว่าเกิดจากอะไร เพื่อให้การรักษาตรงตามสาเหตุนั้น ๆ ต่อไป ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจะไม่อันตรายถึงชีวิต หากรู้เท่าทัน เข้ารับการรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่าง เคร่งครัด

ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด