ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ร่วมบริจาคเศษอลูมิเนียม เพื่อขายเป็นทุนซื้ออลูมิเนียมอย่างดี เพื่อผลิตขาเทียม

ร่วมบริจาคเศษอลูมิเนียม เพื่อขายเป็นทุนซื้ออลูมิเนียมอย่างดี เพื่อผลิตขาเทียม HealthServ.net
ร่วมบริจาคเศษอลูมิเนียม เพื่อขายเป็นทุนซื้ออลูมิเนียมอย่างดี เพื่อผลิตขาเทียม ThumbMobile HealthServ.net

ข้อเท็จจริงเรื่องอลูมิเนียมผลิตขาเทียม คือ ที่เคยมีการขอรับบริจากอลูมิเนียมนั้น ไม่ใช้เพื่อนำไปใช้ผลิตขาเทียมโดยตรง แต่จะนำไปขาย เพื่อนำเงินที่ได้ ไปซื้ออลูมิเนียมคุณภาพดี เพื่อนำไปใช้ผลิตขาเทียมที่จะนำไปให้ผู้พิการใช้นั่นเอง - คาดว่าในสังคมยังคงมีเข้าใจคลาดเคลื่อนในจุดนี้อยู่แม้ในปัจจุบัน

ร่วมบริจาคเศษอลูมิเนียม เพื่อขายเป็นทุนซื้ออลูมิเนียมอย่างดี เพื่อผลิตขาเทียม HealthServ

     คลิปรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ : บริจาคเศษวัสดุใช้ทำขาเทียมได้ จริงหรือ?  ตรวจสอบข้อเท็จจริงการนำอลูมิเนียมที่ได้รับบริจาคไปทำขาเทียม



 
     มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้ให้ข้อมูลชี้แจง ข้อเท็จจริง ในประเด็นการใช้ประโยชน์จากอลูมิเนียม ที่ได้รับจากการบริจาค ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และ อาจจะยังคงอยู่ในปัจจุบัน 

 

อดีตใช้เศษอลูมิเนียมทำขาเทียมจริง


      กล่าวคือ ในอดีต 20 กว่าปีก่อน มูลนิธิขาเทียมฯ ได้คิดค้นขาเทียมจากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้แก่ขวดพลาสติกเครื่องดื่มนมเปรี้ยวยาคูลท์และอลูมิเนียมจากฝากระป๋อง โดยขวดพลาสติกจะนำไปละลายในสารละลายทินเนอร์ เพื่อทำเบ้าขาเทียม และอลูมิเนียมจะนำไปหลอมเป็นแท่งและนำมากลึงทำแกนขาเทียม

      เมื่อนำมาประกอบก็ได้ขาเทียมน้ำหนักเบาให้แก่คนพิการขาขาดฟรีโดยไม่คิดมูลค่า

      ผลจากการใช้งานขาเทียมชนิดนี้จัดอยู่ในระดับน่าพอใจ มีข้อดีคือ

      (1) น้ำหนักเบา
      (2) มีแข็งแรงพอที่รับแรงกดจากน้ำหนักตัวของคนพิการขาขาดได้

      แต่ก็พบข้อด้อย โดย เฉพาะชิ้นส่วนที่ทำจากอลูมิเนียมคือ เกิดการผิดรูปเมื่อได้รับแรงบิด เนื่องจากธรรมชาติของอลูมิเนียม เป็นโลหะที่มีความแข็งมาก แต่มีความยืดหยุ่นต่ำกว่าโลหะหลายชนิด

 

ปัจจุบันใช้วัสดุที่ดีขึ้นแล้ว

 
     เมื่อองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของประเทศไทยก้าวหน้าขึ้นโดยเฉพาะวัสดุศาสตร์ มูลนิธิขาเทียมฯ จึงค้นหาวัสดุที่มีความ คงทนแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านขาเทียม ISO 10328

      ปัจจุบันโลหะที่ใช้ทำ ชิ้นส่วนขาเทียมตามแบบของมูลนิธิขาเทียมฯ ทำมาจากโลหะ 2 ชนิดคือ อลูมิเนียมเกรดสูง และ เหล็กกล้าไร้สนิม (หรือสเตนเลสสตีล)

      โลหะทั้ง 2 ชนิด มีความเหนียวมากกว่าอลูมิเนียม ธรรมดา


 

อลูมิเนียมจากการได้รับบริจาค ใช้ทำอะไร




      ในปัจจุบันมูลนิธิขาเทียมฯ ต้องนำอลูมิเนียมที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคมานั้น ไปจำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ทุนทรัพย์มาจัดหาวัสดุที่มูลนิธิขาเทียมฯ ต้องการ ให้คนพิการขาขาดได้ใช้ขาเทียมที่ผลิตจากชิ้นส่วนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

      การเก็บอลูมิเนียมมีประโยชน์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  มูลนิธิขาเทียมฯ สนับสนุนให้ผู้มีจิตศรัทธาทำต่อไป และเมื่อท่านรวบรวมในปริมาณที่มากแล้ว ทางมูลนิธิขาเทียมฯ แนะนำให้ท่านขาย และนำเงินที่ได้มาบริจาคหรือ โอนเข้ามูลนิธิ ขาเทียมเพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินการทำขาเทียมอย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและท่านเองสามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้ (บริจาคได้ที่นี่)
 
     จะเห็นได้ว่าชิ้นส่วนอลูมิเนียมที่ท่านได้บริจาคมาให้แก่มูลนิธิขาเทียมฯ นั้นยังประโยชน์ต่อการพัฒนาขาเทียมของประเทศไทย และต่อคนพิการขาขาดที่ด้อยโอกาส ในทางอ้อม

     ฉะนั้นหากท่านบริจาคห่วงดึงฝากระป๋อง ท่านยังคง มีส่วนร่วมในการมอบขาเทียมให้แก่คนพิการขาขาดเช่นเดิม หากท่านยังมีความประสงค์จะบริจาคอลูมิเนียม สามารถติดต่อและจัดส่งอลูมิเนียมมายังสถานที่ที่เข้าร่วมโครงการรับบริจาคอลูมิเนียมให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ
 
     มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และไปรษณีย์ไทย จัดโครงการบริจาคอะลูมิเนียมเพื่อจัดทำขาเทียมพระราชทานเป็นประจำทุกปี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ
 
  • ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปจำกัด
  • ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งอะลูมิเนียม
  • ได้ทำบุญให้กับคนพิการ
โดยท่านสามารถดำเนินการได้ดังนี้


ในการบริจาคอลูมิเนียม สามารถส่งไปได้ที่ 

1. มูลนิธิขาเทียมฯ
สำนักงานเชียงใหม่ 199 หมู่ที่ 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
สำนักงานกรุงเทพฯ อาคารศรีจุลทรัพย์ ชั้น 16 ถ.พระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10300

2. บริษัทบางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
1/13 ซ.รังสิต-นครนายก 46 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 โทร.02-533027

3. กรมควบคุมมลพิษ
92 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

หน่วยงานเหล่านี้จะรวบรวม (คัดแยก) แล้วขาย เพื่อนำเงินที่ได้ บริจาคให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ อีกต่อหนึ่ง เพื่อเป็นทุนในการซื้อวัสดุ สำหรับทำขาเทียมจริงๆ ต่อไป 

 

 

บริจาคถุงน่อง

"รับบริจาค ถุงน่อง ไม่จำกัดจำนวน"

 
      มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยินดีรับบริจาคถุงน่องไม่จำกัดจำนวน เพื่อนำมาใช้ในส่วนหนึ่งของขั้นตอนการผลิต ขาเทียม ปัจจุบันเนื่องด้วยมีผู้สนใจในการบริจาคถุงน่องที่ใช้แล้วน้อย ทางมูลนิธิขาเทียมฯ จึงได้จัดสรรเงินจากการบริจาคส่วนหนึ่ง นำไปซื้อถุงน่องมาใช้ ในการผลิตขาเทียม ซึ่งทางมูลนิธิขาเทียมฯ เล็งเห็นว่า หากผู้มีจิตศรัทธา ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนพิการขาขาด ท่านสามารถทำได้ หลายทางไม่ว่าจะเป็น การบริจาคเงิน การบริจาคอลูมิเนียม และ การบริจาคถุงน่องที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยเหลือผู้พิการขาขาด ให้มีขาเทียมที่ดีมีคุณภาพ สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
"ทำไมถึงต้องใช้ถุงน่องมาใช้ในกระบวนการผลิตขาเทียม"
 
     ถุงน่องนั้นมีรูปทรงของขาอยู่แล้ว ในขั้นตอนของการผลิตขาเทียม มูลนิธิขาเทียมฯจะใช้ในส่วนของการทำเบ้าขาเทียม ซึ่งจะอยู่ในส่วนที่ ใช้ทำหุ่นตอขา รวมไปถึงทำเบ้าพลาสติกจากหุ่นทราย ทำให้เบ้าขึ้นรูปสวยงามตามรูปทรงของขา ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นในกระบวนการดังกล่าวแล้วจะต้องทิ้งถุงน่อง ซึ่งถ้าหากเราได้รับการบริจาคถุงน่องที่ใช้แล้วจะเป็นการดีที่จะช่วย ในเรื่องการรีไซเคิลของวัสดุที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทาง เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
 
*หาก ท่าน ประสงค์จะร่วมบริจาค ถุงน่องที่ใช้แล้ว ทางเราขอความกรุณาซักทำความสะอาค ก่อนส่งแพ็ค

 
"ถุงน่องที่รับบริจาค ไม่จำกัดขนาด สภาพ และสี"
 
     ท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนพิการขาขาดได้แล้ววันนี้ เพียงสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน จะช่วยสร้างกำลังใจและเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนพิการขาขาด ให้มีคุณภาพชีวิตได้อย่างปกติสุขต่อไป
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด