ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คู่มือการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน อาหารริมบาทวิถี กรมอนามัย

คู่มือการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน อาหารริมบาทวิถี กรมอนามัย HealthServ.net
คู่มือการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน อาหารริมบาทวิถี กรมอนามัย ThumbMobile HealthServ.net

คู่มือการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)

คู่มือการพัฒนาและยกระดับมาตรฐาน อาหารริมบาทวิถี กรมอนามัย HealthServ
คู่มือการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหาร ของศูนย์อนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ประกอบกิจการในพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และสามารถประสานงานกับภาคีเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมอนามัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ตลอดจนผู้ประกอบกิจการ ในพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ที่ปลอดภัยอันจะส่งผลดีต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคต่อไป
 
กรมอนามัย
ธันวาคม 2563 
 
 
บทที่ 1 ความเป็นมาและกรอบแนวคิดในการพัฒนาอาหารริมบาทวิถี
บทที่ 2 แบบประเมินและการรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health)
บทที่ 3 เกณฑ์การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health)
บทที่ 4 แนวทางการดำเนินงานพัฒนาอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) 





+++++


ในปี พ.ศ. 2561 กรมอนามัย โดยสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำได้จัดทำโครงการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย สนับสนุนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยววิถีไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบ (Model) พื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถีให้ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของระดับพื้นที่ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบกิจการ ในการพัฒนาสถานประกอบกิจการด้านอาหาร และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีการจัดบริการอาหาร ริมบาทวิถีใน 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชลบุรี บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ตรัง และสงขลา ผลการดำเนินงานพบจุดเด่นในการพัฒนา เช่น การตรวจสุขลักษณะตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับแผงลอยจำหน่ายอาหารของกรมอนามัย การสร้างภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีในระดับพื้นที่ร่วมกันอย่างเข้มแข็ง ระหว่างหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คณะกรรมการชมรม สมาคมผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร ในส่วนของประเด็นสำคัญที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ และจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้อาหารริมบาทวิถีมีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ได้แก่ อาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มี การปกปิดอาหารจึงอาจมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากฝุุนละออง สารตะกั่ว และโลหะหนักจากไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
พ.ศ. 2562 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย จึงกำหนดแผนการดำเนินงานพัฒนาอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวไทย โดยการดำเนินงานเน้นกระบวนการพัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีให้สามารถจัดการได้อย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนในระดับพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยกำหนดกลุ่มเปูาหมายเป็น 2 กลุ่มพื้นที่ คือ พื้นที่เปูาหมายเดิม ปี 2561 และขยายรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่เปูาหมายใหม่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน แพร่ ชัยนาท ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ขอนแก่น นครพนม ชัยภูมิ ยโสธร กระบี่และสตูล โดยการดำเนินงานเพื่อเน้นการพัฒนาต้นแบบการจัดการพื้นที่ดำเนินงานอาหารริมบาทวิถี และรูปแบบในการขยายผลการดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีสู่ระดับพื้นที่โดยการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายโดยศึกษาระบบและกลไกการพัฒนาอาหารริมบาทวิถี และยกระดับสู่มาตรฐานอาหารริมบาทวิถีทั้งด้านสุขลักษณะ ความปลอดภัย และส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพด้านโภชนาการ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดมาตรการทางสังคม และสร้างกระแสสังคมเพื่อให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมและพิทักษ์สิทธิตัวเองได้ และกำหนดเป็นนโยบายระดับพื้นที่เพื่อนำไปสู่นโยบายในระดับกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยการขยายรูปแบบการพัฒนาการจัดการอาหารริมบาทวิถีที่ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารทั่วประเทศต่อไป
 
 
วัตถุประสงค์การพัฒนาอาหารริมบาทวิถี
๑. พัฒนาต้นแบบพื้นที่จัดบริหารอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย สร้างเสริมสุขภาพ และผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี
๒. พัฒนารูปแบบของระบบและกลไกในการจัดการพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี โดยการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
๓. ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ของผู้ประกอบกิจการ และประชาชนที่ใช้บริการอาหารริมบาทวิถี ให้มีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร
๔. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถีปลอดภัยและสร้างเสริมสุขภาพ 
 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี และ มีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่เน้นส่งเสริมเมนูชูสุขภาพ การจำหน่ายและการ
บริโภคผักผลไม้ปลอดภัยที่เพียงพอ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยและสร้างสุขภาวะให้ผู้บริโภค รวมถึงลดความเสี่ยงในการเจ็บปุวยจากการบริโภคอาหารของประชาชนและนักท่องเที่ยว
 

นิยาม


อาหารริมบาทวิถี (Street food)
หมายถึง อาหารที่จำหน่ายในแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ตั้งริมฟุตบาทหรือริมบาทวิถีมีลักษณะเป็นแคร่ แท่น โต๊ะ แผง รถเข็น หรือ พาหนะอื่นใดที่ขายอาหาร เครื่องดื่ม น้ำแข็ง โดยตั้งประจำที่ ในบริเวณที่ทางราชการอนุญาต ได้แก่ ที่ทางสาธารณะ ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณะประโยชน์ บริเวณวัด หรือที่ริมน้ำ ซึ่งอาจจะมีการจัดตั้งแบบถาวร หรือเคลื่อนย้ายได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
 
มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี
หมายถึง ข้อกำหนดในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถีประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านวัฒนธรรม
 
ต้นแบบอาหารริมบาทวิถี (Model)
หมายถึง พื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี มีระบบและกลไกในการพัฒนา ดังนี้
1. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านวัฒนธรรม
2. มีมาตรการหรือนโยบายระดับท้องถิ่นที่ส่งเสริมพื้นที่ดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีปลอดภัย
3. มีระบบและกลไกในการพัฒนาอาหารริมบาทวิถีโดยภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการขับเคลื่อน
4. มีชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารริมบาทวิถี
 
 
 
บทที่ 2 แบบประเมินและการรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
 
เกณฑ์การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้าน เศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และ มิติด้านวัฒนธรรม
1. มิติด้านสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ (ต้องผ่านทุกข้อ)  คะแนนเต็ม 70 คะแนน
2. มิติด้านเศรษฐกิจ จำนวน 6 ข้อ (เลือกทำอย่างน้อย 3 ข้อ) คะแนนเต็ม 10 คะแนน
3. มิติด้านสังคม จำนวน 4 ข้อ (เลือกทำอย่างน้อย 2 ข้อ) คะแนนเต็ม 10 คะแนน
4. มิติด้านวัฒนธรรม จำนวน 2 ข้อ (เลือกทำอย่างน้อย 1 ข้อ) คะแนนเต็ม 10 คะแนน
 
การประเมินรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health)
การประเมินรับรองเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับพื้นฐาน จำนวน 50 – 59 คะแนน
2) ระดับดี จำนวน 60 – 79 คะแนน
3) ระดับดีมาก จำนวน 80 คะแนนขึ้นไป
 
แบบฟอร์มการประเมินรับรองมาตรฐาน
อาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
มิติด้านสุขภาพ 
มิติด้านเศรษฐกิจ
มิติด้านสังคม
มิติด้านวัฒนธรรม
 
 
 
 
บทที่ 4
แนวทางการด้าเนินงานพัฒนาอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
 
เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานดังนี
 
กรมอนามัย
โดยสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
1) ประชุมชี้แจงหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
2) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้หน่วยงานและภาคีเครือข่าย
3) พัฒนา Platform การประเมินตนเองของผู้ประกอบการผ่านระบบสารสนเทศ
4) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับมาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
5) ติดตามผลการสุ่มประเมิน/เฝูาระวังพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถีที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารจากพื้นที่
6) รณรงค์ ขับเคลื่อน และเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่
7) พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
8) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
 
 
ศูนย์อนามัย และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
1) ประชุมชี้แจงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/อำเภอ เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหาร
2) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ประกอบการ พชอ. อปท.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
3) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับมาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ (Google form) และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
4) ประเมินรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health) ระดับดีมาก ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับพื้นที่
5) สุ่มประเมิน/เฝูาระวังพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่ และรายงานผลการสุ่มประเมิน/เฝูาระวังผ่าน Google form
6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานด้านสุขาภิบาลอาหารระดับพื้นที่
7) รณรงค์ ขับเคลื่อน และเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานในพื้นที่
8) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
 
 
 
ส้านักงานสาธารณสุขจังหวัด
1) ประชุมชี้แจงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหาร
2) คัดเลือกพื้นที่เปูาหมายดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหาร ประจำปี 2564 เพื่อยกระดับอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
3) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ประกอบการ พชอ. อปท.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
4) ประเมินรับรองมาตรฐานอาหารริมบาทวิถี(Street Food Good Health) ระดับดีร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับพื้นที่
5) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับ มาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ (google form) และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
6) สุ่มประเมิน/เฝูาระวังสถานประกอบการอาหารริมบาทวิถี ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในและรายงานผลการสุ่มประเมิน/เฝูาระวังผ่าน Google form
7) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานด้านสุขาภิบาลอาหารระดับพื้นที่
8) รณรงค์ ขับเคลื่อน และเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานในพื้นที่
9) กำกับ ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
 
 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) ประชุมชี้แจงผู้ประกอบการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่
2) สำรวจ/ตรวจแนะนำ และจัดทำทะเบียนสถานประกอบการในพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี และคัดเลือกพื้นที่เปูาหมายดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหาร ประจำปี 2564 เพื่อยกระดับอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health)
3) พัฒนาศักยภาพ/เสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ประกอบการ ประชาชนผู้บริโภค
4) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประเมินตนเองเพื่อยกระดับ มาตรฐานผ่านระบบออนไลน์ (Google form) และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
5) ประเมินมาตรฐานพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ในระดับพื้นฐาน และรายงานความก้าวหน้าแก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
6) เฝูาระวังสถานประกอบการประเภทอาหารริมบาทวิถี ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในพื้นที่ และรายงานผลการเฝ้าระวังผ่าน Google form
7) สรุปรายงานผลการดำเนินงาน
 
 
ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
1) ให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามระเบียบและเกณฑ์มาตรฐานอาหารริมบาทวิถี (Street Food Good Health) ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และผู้ดูแล
2) เข้ารับการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร (จำนวน 3 ชั่วโมง) รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) ปฏิบัติตามหลักสุขวิทยาส่วนบุคคล
4) เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5) รวมตัวเพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบกิจการ/ผู้สัมผัสอาหารภายในพื้นที่จัดบริการอาหารริมบาทวิถี
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด