ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

10 เหตุผล นำโควิด-19 จากโรคระบาดสู่โรคประจำถิ่น - นพ.ยง ภู่วรวรรณ

10 เหตุผล นำโควิด-19 จากโรคระบาดสู่โรคประจำถิ่น - นพ.ยง ภู่วรวรรณ HealthServ.net
10 เหตุผล นำโควิด-19 จากโรคระบาดสู่โรคประจำถิ่น - นพ.ยง ภู่วรวรรณ ThumbMobile HealthServ.net

ศจ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญที่ติดตามด้านโรคโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อุบัติการณ์ของโรคเมื่อปี 2019 ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่โรคโควิดจะกลายไปเป็นโรคประจำถิ่นในไม่ช้านี้ พร้อม 10 เหตุผลยืนยัน เพราะ "ชีวิตที่ต้องเดินหน้าต่อไป"

หมอยง กล่าวถึงโอกาสการเปลี่ยนแปลงของโรคโควิด 19 จากโรคระบาด เป็นโรคประจำถิ่นมาตั้งแต่ช่วงหลังสงกรานต์  ท่านได้เขียนไว้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 65 เรื่อง "โควิด 19  ชีวิตที่ต้องเดินหน้าต่อไป"  ไว้ว่า 
 
"การศึกที่ผ่านมากว่า 2 ปี แม้มีการสูญเสีย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการจัดการได้ดี ยอดผู้ป่วยตายต่อจำนวนประชากรดีกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส "

การได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุมในประชาชนไทย ส่งผลดีอย่างที่ฝ่ายการแพทย์คาดการณ์ไว้ 
 
"การเกิดภูมิต้านทานจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ในการติดเชื้อจะมี แบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย จนกระทั่งมีอาการมาก การศึกษาของศูนย์ ในเด็กอายุ 5-6 ขวบ พบการติดเชื้อแบบไม่มีอาการทราบจากการตรวจเลือด ประมาณร้อยละ 8  ถ้านับเด็กที่มีอาการด้วย ขณะนี้ก็น่าจะมีการติดเชื้อในกลุ่มดังกล่าวมากกว่า 1 เท่าตัว การติดเชื้อครั้งแรก ส่วนใหญ่จะมีอาการมากที่สุด และเมื่อติดเชื้อซ้ำอาการจะลดน้อยลง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจชนิดอื่น เช่น RSV พบความรุนแรงในเด็กเล็กที่เป็นครั้งแรก และในปีต่อๆไปก็มีการติดเชื้อซ้ำอีก อาการจะลดลง และเมื่อเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่การติดเชื้อจะเป็นแบบไม่มีอาการ จึงไม่มีปัญหาในผู้ใหญ่ในอนาคต ประชากรมีภูมิต้านทานมากขึ้น โรครุนแรงน้อยลง มียาที่ใช้รักษาดีขึ้น เราจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดความรุนแรง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน เรามุ่งเน้นให้วัคซีนเพิ่มภูมิต้านทานในกลุ่มเสี่ยง"

เป็นข้อมูลที่สนับสนุนและสอดคล้องกับความพยายามของฝ่ายสาธารณสุข ที่มุ่งดำเนินทุกกลยุทธ์ เพื่อ นำประเทศกลับมาสู่สภาวะปกติ

"โควิด 19 จะอยู่กับเราตลอดไป และจะเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด เมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคจะน้อยลง และจะมียารักษาเพิ่มขึ้น เหมือนไข้หวัดใหญ่ มียา oseltamivir และจะมีการพัฒนายารักษาได้ดียิ่งขึ้น การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ต้องเดินหน้าให้กลับมาสู่ภาวะปกติใกล้เคียงกับก่อนการเกิดระบาดของโรค เดินหน้าไปด้วยความรอบคอบ ชีวิตต้องเดินหน้าด้วยความไม่ประมาท เราจะผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ได้ในที่สุด"
 
 
 
 

10 เหตุผล นำโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น หรือโรคประจำฤดูกาล

 

หมอได้จำแนกเหตุผล 10 ข้อที่ชี้ว่าโรคโควิด พร้อมจะปรับเป็นโรคประจำถิ่น
 
1. เราไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัส covid-19 ให้หมดไปจากโลกใบนี้ของเราได้ เราจะต้องอยู่กับไวรัสนี้ตลอดไป

2. การระบาดของโรคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการติดต่อง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคลดลง จากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด

3. ระยะฟักตัวของโรคสั้น 2 ถึง 5 วัน แนวโน้มในการกักตัวสั้นลง เป็น 7 + 3 หมายถึงกักตัวแค่ 7 วัน และอีก 3 วันใช้วิธีการดูแลป้องกันการแพร่กระจายโรค

4. ไม่มีการหา time line เพราะโรคกระจายอยู่ทั่วไป จึงเป็นการยากที่จะบอก

5. การระบาดเกิดกลุ่มในครอบครัว ได้ง่าย จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกัน ในอนาคตการระบาดในโรงเรียน สถานที่มีคนหมู่มากเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ที่เราได้พบเห็น 

6. ความรุนแรงของโรค จะพบในกลุ่มเปราะบาง อายุมาก มีโรคประจำตัว

7. การสร้างภูมิต้านทาน ด้วยวัคซีนมีความจำเป็น ลดความรุนแรงของโรค จำเป็นที่จะต้องมีเข็มกระตุ้น

8. ยาต้านไวรัส จะมีการพัฒนาออกมา และจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง

9. การศึกษาวิจัยให้ได้องค์ความรู้ มาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรค ป้องกัน รักษามีความจำเป็น

10. มาตรการในการป้องกันโรค สุขอนามัย ล้างมือ หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่าง ยังมีความจำเป็น จนกว่า โรคนี้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือประจำฤดูกาลเช่นโรคทางเดินหายใจทั่วไป การใช้ต่อไปก็มีประโยชน์ต่อโรคทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน
 
ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่โรคประจำถิ่น  หรือตามฤดูกาล ก็ยังคงต้องติดตามความรุนแรงของโรค การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ของโรคให้อยู่ในสภาวะควบคุมได้
 





 
 
 

โควิด 19 อยู่ในภาวะขาลง
 

ล่าสุด 15 พฤษภาคม 2565 หมอยง ระบุว่าโรคโควิด 19 กำลังอยู่ในภาวะขาลง ขณะที่การระบาดต่อไปในอนาคต "ก็น่าจะมีฤดูกาลคล้ายกับไข้หวัดใหญ่"
 
กล่าวคือ

"เมื่อย้อนไปดูการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009  จะมีการระบาดอย่างมากในปีแรก และต้นปีที่ 2  หลังจากนั้นก็เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009  ก็ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้  ไข้หวัดใหญ่ระบาดในแต่ละปี ก็ขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ ที่มีทั้งไข้หวัดใหญ่ A และ B การระบาดในแต่ละปี พบได้ตลอดทั้งปีแต่จะพบมาก ตามฤดูกาล โดยมีช่วงสูงสุดระยะแรก หลังเปิดเทอมแรกในฤดูฝน ที่มีโรคทางเดินหายใจสูง และจะสงบลงเมื่อเข้าสู่ช่วงตุลาคม พฤศจิกายน และจะพบการระบาดขึ้นช่วงที่ 2 แต่ต่ำกว่า ในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม และเมื่อเด็กปิดเทอมเข้าสู่ฤดูร้อน โรคทางเดินหายใจก็จะลดลง และจะไปเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเปิดเทอม เป็นไปตามฤดูกาลมาโดยตลอด"

หมอยงเชื่อว่า การระบาดของโควิดในอนาคตจะมีลักษณะเดียวกันกับ ไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นการให้วัคซีนป้องกัน ก็มีลักษณะเดียวกันกับการให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่  ซึ่งช่วงระยะเวลาที่ให้ดีที่สุดในการฉีดวัคซีน จะเป็นช่วงก่อนเปิดเทอมแรก (พฤษภาคม-มิถุนายน)  เพื่อให้เด็ก เยาวชน มีภูมิต้านทานที่สูงในการป้องกันในช่วงฤดูฝน
 

"ทำนองเดียวกัน เมื่อเปิดเทอม covid-19 ก็จะเพิ่มสูงขึ้น และถ้าต่อไปโรคโควิด 19 จำเป็นต้องให้วัคซีนทุกปี ช่วงที่ให้วัคซีนดีที่สุด ควรจะเป็นช่วงก่อนที่นักเรียนจะเปิดเทอม"


เมื่อโควิดเป็นโรคประจำถิ่น วัคซีนยังจำเป็นต่อการป้องกัน เพื่อให้ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ได้ดำเนินต่อไป
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด