ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คณบดีศิริราช ระบุ ซิโนแวคอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อสายพันธุ์เดลตา

คณบดีศิริราช ระบุ ซิโนแวคอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อสายพันธุ์เดลตา HealthServ.net
คณบดีศิริราช ระบุ ซิโนแวคอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อสายพันธุ์เดลตา ThumbMobile HealthServ.net

นโยบายการสลับวัคซีนนั้น เข็ม 1 อาจเลือกอะไรก็ได้ แต่เข็มสองต้องเป็นแอสตร้าเซนเนก้า แต่หากคนฉีดแอสตร้าฯ เข็มแรก เข็มต่อไปก็ต้องแอสตร้าฯ

คณบดีศิริราช แจงชัด! กรณีตอบคำถามผ่านคลับเฮาส์ ชี้วัคซีน Sinovac มีประสิทธิภาพก่อนเจอสายพันธุ์ "เดลตา" ทำให้ต้องปรับเปลี่ยน เพราะใช้ซิโนแวคอย่างเดียวไม่เพียงพอ! จึงไม่ต้องสั่งซิโนแวคเข้ามามาก แต่ต้องดูสัดส่วนจำนวนการใช้ว่ามีเท่าไหร่ เมื่อสลับวัคซีนแอสตร้าฯ เพราะยังมีกลุ่มที่ไม่ได้รับเข็มที่ 1 ซึ่งกรมควบคุมโรคมีการรวบรวมตัวเลขนี้
 
ตามที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการตอบคำถามในคลับเฮาส์ (ClubHouse) ของ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 ก.ค.2564 ที่ผ่านมาที่มีผู้ถามคำถามหนึ่ง ว่า "ในฐานะคณบดีศิริราช เห็นพ้องว่า วัคซีนที่ประสิทธิภาพไม่ดีอย่าง Sinovac ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ อาจารย์เห็นพ้องกับพวกเราว่า ไม่ควรจะสั่งวัคซีนชนิดนี้เข้ามาอีกหรือไม่" และมีการโค้ดคำตอบอาจารย์ประสิทธิ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ไม่ควรนำเข้าซิโนแวคนั้น
เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2564 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการตอบคำถามในคลับเฮ้าส์เกี่ยวกับวัคซีนซิโนแวค ว่า ในคลับเฮาส์เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น มีผู้ถามทำนองว่าวัคซีนซิโนแวคไม่มีคุณภาพ ไม่ควรนำเข้ามาอีกหรือไม่ ซึ่งตนได้ตอบไปว่าอย่าใช้คำพูดเช่นนี้ เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคแปลตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นเวลานั้น ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ที่เรียกว่า สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ก็สามารถใช้ได้ แต่เมื่อปัจจุบันมีเชื้อกลายพันธุ์เดลตาเข้ามาระบาดแล้ว การใช้ซิโนแวคอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อสายพันธุ์เดลตา
 
"จึงเป็นที่มาทำให้ขณะนี้ประเทศไทย มีการใช้วัคซีนสลับชนิด โดยเข็มแรกเป็นวัคซีนซิโนแวค และเข็ม 2 เป็นแอสตราเซนเนก้า ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ สามารถกระตุ้นภูมิได้สูง แต่การสั่งซิโนแวคเข้ามาจำนวนมากนั้น ผมไม่เห็นด้วย ส่วนตัวเลขที่เหมาะสม เพื่อการฉีดตามสลับวัคซีนนั้นตัวเลขอยู่ที่กรมควบคุมโรค" ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว
 
เมื่อถามว่าอาจารย์มองว่าต้องนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเท่าไหร่จึงเหมาะสม คณบดีฯ กล่าวอีกว่า ตนไม่สามารถบอกได้ว่า ต้องใช้สัดส่วนอย่างไร เพราะตอนนี้ยังมีคนที่ต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 อยู่ เห็นได้จากตัวเลขการฉีดวัคซีนครบสองโดสยังไม่มาก ประมาณไม่ถึง 20% ซึ่งตามนโยบายการสลับวัคซีนนั้น เข็ม 1 อาจเลือกอะไรก็ได้ แต่เข็มสองต้องเป็นแอสตร้าเซนเนก้า แต่หากคนฉีดแอสตร้าฯ เข็มแรก เข็มต่อไปก็ต้องแอสตร้าฯ ส่วนกลุ่มที่ต้องรับเข็มที่ 3 นั้น อาจมีทั้งแอสตร้าฯ และไฟเซอร์ ซึ่งต้องมาคำนวณตัวเลขเหล่านี้ว่า ต้องใช้สัดส่วนเท่าไหร่ อย่างไร ซึ่งตนไม่มีตัวเลขเหล่านี้ ต้องถามกรมควบคุมโรค
 
"จากสถานการณ์ตอนนี้ และมีเดลตาระบาด มองว่าการใช้ซิโนแวคจะน้อยมากๆ ยิ่งซิโนแวคกับซิโนแวค แต่ก็ยังมีอยู่ในกลุ่มคนที่จำเป็นต้องเดินทางไปจีน และมีเรื่องวัคซีนพาสปอร์ต แต่จำนวนไม่น่ามาก ดังนั้น ส่วนตัวจึงมองว่า อาจไม่ต้องสั่งเข้ามามากแล้ว ต้องดูสัดส่วนความเป็นจริงและความจำเป็นที่ต้องใช้สลับวัคซีนมากกว่า"  ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

Hfocus
17 กค 64
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด