ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ต้องรู้ ก่อนตรวจหาภูมิหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยหมอเวร

ต้องรู้ ก่อนตรวจหาภูมิหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยหมอเวร HealthServ.net

การตรวจหาภูมิจำเป็นหรือไม่ หน่วยวัดค่า 2 แบบนะ รู้หรือปล่าว เวลาผ่านไปทำไมภูมิลด จะป้องกันโรคได้หรือปล่าว

ต้องรู้ ก่อนตรวจหาภูมิหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยหมอเวร ThumbMobile HealthServ.net
ต้องรู้ ก่อนตรวจหาภูมิหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยหมอเวร HealthServ
เรื่องกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนไทยมาก ถัดจากการฉีดวัคซีนโควิดแล้ว ก็คือความอยากรู้ว่าตัวเองจะมีภูมิคุ้มกันไหม มีแค่ไหน มีมากมีน้อยอย่างไร กันโควิดได้ไหม ฯลฯ เพื่อตอบคำถามและคลายสงสัยเรื่องการตรวจหาภูมิ จึงมีข้อมูลจากเพจดัง "หมอเวร" มาแบ่งปัน ไปติดตามกันเลย

การตรวจหาภูมิจำเป็นหรือไม่

อย่างแรกที่ควรรู้เลยก็คือการเจาะเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันนั้น ไม่ใช่เรื่องจำเป็นนักสำหรับคนทั่วไป ยกเว้นว่าอยากจะฉีดเข็มสามนั่นแหละ ค่อยลองไปเจาะเลือดหาภูมิดูว่ามันขึ้นมากมั้ย ถ้าขึ้นน้อยก็ค่อยฉีดเพิ่ม

ถามว่าทำไมถึงไม่จำเป็นนัก ต้องบอกว่า อย่างที่เคยเล่าไปหลายครั้งแหละว่าจนถึงตอนนี้ทางองค์การอนามัยโลก ยังไม่มีกำหนดค่ากลางออกมาเลย ว่าถ้าภูมิคุ้มกันถึงตัวเลขนี้แล้วจะถือว่ามีภูมิป้องกันโควิด-19 ได้ มีแค่สถิติว่าคนส่วนใหญ่เลขอยู่ที่ประมาณนี้กันเท่านั้น
 
และที่สำคัญอีกเรื่องที่หลายคนเข้าใจกันผิดเวลาเจาะภูมิมา ว่าเลขขึ้นน้อยแค่หลักหน่วยหลักสิบ แบบนี้จะไม่มีภูมิใช่มั้ย? เพราะเห็นคนฉีด mRNA ตรวจทีภูมิขึ้นมาเป็นหมื่นๆ
 
จะบอกว่าจริงๆ แล้วค่าที่มันต่างกันขนาดนี้ มันเกิดจากเครื่องตรวจเลือดหาภูมิ มันคนละยี่ห้อ และหน่วยที่ใช้วัดมันก็คนละหน่วยกันต่างหากเล่า

หน่วยวัดค่า 2 แบบนะ รู้หรือปล่าว

อย่างในไทยตอนนี้ เท่าที่หมอเวรทราบหลักๆ เค้าใช้กันอยู่ 2 ยี่ห้อ ตัวแรกเป็นของ Abbott มีหน่วยเป็น AU/ml พวกนี้ตรวจทีนึงตัวเลขขึ้นเป็นร้อยเป็นพัน แต่ถ้าเป็นวัคซีน mRNA นี่ขึ้นกันเป็นหมื่น (จริงๆแค่หลักพันก็ถือว่าสูงแล้วนะ) ซึ่งเราจะเห็นเครื่องนี้ตามโรงพยาบาลรัฐ หรืออย่างที่จุฬาฯ , กาชาดก็ใช้เครื่องนี้
 
อีกตัวจะเป็นยี่ห้อ ROCHE พวกนี้จะอยู่ตามแล็ปเอกชนใหญ่ๆ มีหน่วยเป็น U/ml อันนี้ถ้าเจาะมาแล้วตัวเลขขึ้นมาแค่ 0.8 u/ml ตามเกณฑ์ก็ถือว่าภูมิขึ้นแล้ว ค่ากลางๆจะอยู่ประมาณ 40 นิดๆ ส่วน mRNA เจาะขึ้นมาทีก็ประมาณหลักร้อยหน่ะนะ 

สรุปชัดๆ ก็คือ มี หน่วยวัดค่า 2 แบบ 
1. AU/ml 
2. U/ml 
 
ซึ่งสูตรการแปลงตัวเลขจากหน่วยนั้นเป็นหน่วยนี้ คิดว่าคนทั่วไปแบบเราๆ ไม่ต้องจำไว้ใช้ก็ได้ คำนวณยากด้วยอย่าไปสนใจเลย 
 
และอย่างที่บอก ตัวเลขพวกนี้ก็ยังถือว่าเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น ยังเอามาใช้ยึดเป็นค่ากลางไม่ได้ เพราะเลขจากเมืองนอก กับเลขในเมืองไทย ก็เป็นคนละชาติพันธุ์กัน ไทยเราก็ยังไม่มีคนฉีด mRNA เยอะๆ ก็เลยทำให้ยังตอบไม่ได้ว่าเลขที่เห็นมันเยอะหรือมันน้อย มีแต่เอาไปเทียบได้จากต่างชาติเท่านั้นนั่นเอง

ประเด็นที่เข้าใจผิดกันเยอะ

ทีนี้มีอีกเรื่องที่ควรทราบไว้เพราะมีหลายคนเข้าใจผิด เวลาเจาะเทสหลังฉีดวัคซีนใหม่ๆ แล้วภูมิขึ้นดี แต่พอเวลาผ่านไปเจาะเทสอีกทีภูมิหายไปแล้ว ซึ่งอันนี้อย่าเพิ่งตกอกตกใจมาก เพราะไม่ว่าเราจะฉีดวัคซีนอะไรก็ตาม หลังเวลาผ่านไป แอนติบอดี้มันก็จะลดลงตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ทว่ากลไกของร่างกายเราก็ยังมีการเมมโมรี่เชื้อโรคที่เคยฉีดวัคซีนไว้แล้วด้วย อารมณ์แบบเจาะเทสไม่เจอภูมิก็จริง แต่พอเชื้อโรคบุกอันนี้โรงงานผลิตภูมิคุ้มกันเราก็สามารถผลิตภูมิขึ้นมาสู้ทีหลังเองอัตโนมัติได้ด้วยนะ เพียงแต่ว่าอาจจะใช้เวลาสร้างประมาณ 1-2 วันหลังรับเชื้อนั่นเอง
 
นึกภาพว่าเราเล่นเกมวางแผนการรบแล้วมีฝั่งตรงข้ามมาบุก ถ้าเรามีทหารที่เป็นแอนติบอดี้อยู่ ก็สามารถสั่งกระทืบเชื้อโรคได้เลย แต่ถ้าไม่มี เราก็ต้องปั๊มทหารออกมาสู้แทน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาคูลดาวน์รอผลิตกำลังพลซัก 1-2 วันอย่างที่บอก
 
ตัวอย่างอีกอันที่เห็นได้ชัดก็พวกวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ฉีดให้น้องหมาก็ได้ อันนั้เวลาฉีดแอนติบอดีก็จะพุ่งขึ้นสูงสุดหลังได้รับวัคซีนหนึ่งเดือน หลังจากนั้นจะตกลงอย่างรวดเร็วจนหายไปเลยในหกเดือน แต่น้องหมาบางตัวอาจมีภูมิจากการเมมโมรี่เชื้อโรคนี้ไว้ในโรงงานได้นานถึง 4-5 ปีโดยไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นซ้ำก็ตาม
 
ฉะนั้นการเจาะเพื่อตรวจหาภูมิช่วงนี้ ใครไปเจาะแล้วได้เลขอะไรมาก็อย่าเพิ่งแพนิคอะไรมากนัก ข้อมูลมันอาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเรื่อยๆ ถ้าเป็นไปได้เก็บตังไว้เจาะเทสก่อนจะจิ้มเข็ม 3 อันนั้นจะคุ้มค่าแก่การจ่ายตังที่สุดหน่ะนะ

หมอเวร (เรื่องและภาพ)
27 กรกฎาคม 2564

 

 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด