ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำไม วัคซีนประสิทธิภาพสูงที่ลดการติดโรคได้ชัดเจน จึงจำเป็นที่สุด สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ไม่เพียงแค่ กันตาย แต่ต้องลด การติดโรค ให้ได้ด้วยมากที่สุด

คนที่ยังพูดว่า "บุคลากรสาธารณสุขไม่ต้องได้วัคซีนหลายบูสต์หรือไม่ต้องได้ตัวที่ดีสุดหรอก วัคซีนมีจำกัดควรเอาไปให้คนทั่วไปให้มากที่สุดเพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุด" คือคนที่ไม่เข้าใจสถานการณ์อะไรเลย 
 
ตอนนี้เป้าหมายบุคลากรไม่ใช่แค่ฉีดวัคซีนเพื่อ "กันตาย" เหมือนตอนแรกๆ ที่วัคซีนยังไม่มาก แต่ต้องลด"การติดโรค" ให้มากที่สุดด้วย มากแบบ Maximum 
 
เหตุการณ์ที่เราเห็นชัดๆหลายที่แล้วคือ บุคลากรฉีด Sinovac ไปแล้วก็ยังติดโรคกันปริมาณมาก โรงพยาบาลนึงติดเป็น 10 เป็นร้อยคน โอเค ติดแล้วลดความรุนแรงลงจริง ตายน้อยลงจริง แต่ความตายนั้นไปปรากฎที่อื่นแทน
 
ทุกครั้งที่บุคลากร 1 คนติดโควิด บุคลากรรายล้อมกว่า 10 คน รวมไปถึงคนไข้โดนผลกระทบไปเต็มๆ 
 
ผลกระทบที่ 1 คือขาดคนทำงานนั้นๆ 
 
เช่น หมอไอดีหรือหมอปอดติดโควิด 1 คน หมอเจนอื่นๆต้องเข้ามาทำหน้าที่แทนทันทีอย่างยากลำบาก 
, หรือไม่ว่าหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาขาไหนติดก็ต้องหาคนมาทำแทน 
 
ผลกระทบที่ 2 คือ หยุดการให้บริการทางการแพทย์

เจ้าหน้าที่แผนกไหนติดแทบต้องหยุดการทำงานจุดนั้นชั่วขณะ หรือเป็นสัปดาห์เพื่อกักกันโรค กักตัวเจ้าหน้าที่ - เจ้าหน้าที่ห้องสวนหัวใจติดโรค ต้องหยุด cath ไปหลายวัน , เจ้าหน้าที่ OR ติดโรคต้องหยุด OR ห้องนั้น , ปิดวอร์ด ปิด ER คนไข้ที่เป็นโควิดและไม่ใช่โควิดหลายคนตายจากสาเหตุนี้ ได้รับบริการที่ล่าช้าขึ้นกว่าเดิม แค่ตัวเลขนี้ไม่ได้แสดงชัดให้เห็น 
 
"วัคซีนประสิทธิภาพสูงที่ลดการติดโรคได้ชัดเจนกว่าจึงต้องให้บุคลากรที่ดูแลคนไข้ก่อน"  บุคลากรเค้าไม่ได้รักตัวกลัวตายเลยพยายามยื้อแย่งวัคซีนที่ดีมาหรอก แต่เค้ามีใจที่จะอยู่ทำงานเสี่ยงนี้เพื่อคนไข้อย่างแท้จริง ถ้าเป็นต่างประเทศถ้าบุคลากรไม่ได้วัคซีนที่ดีเค้าคง strike งานกันไปนานแล้วไม่ห่วงคนไข้แบบเอาตัวเข้าแลกหรอก เพราะถือว่ามีความเสี่ยงที่จะทำงาน แต่บุคลากรไทยสู้และเสียสละมาตลอด ยอมให้ฉีด Sinovac ก่อนนั่นก็เป็นความเสียสละรับวัคซีนประสิทธิภาพปานกลางไปก่อน เพื่อให้ทำงานต่อไปได้ไปพลางๆก่อนวัคซีนประสิทธิภาพสูงจะมา 
 
ถึงจะบอกว่าคนทั่วไปเจ็บป่วยเยอะ แต่ต้องยอมรับความจริงที่บุคลากรเสี่ยงกว่าคนทั่วไปเป็นร้อยเท่า เพราะอัตราการ expose ผู้คนที่มีความเสี่ยงในแต่ละวันมีมากกว่าคนปกติมาก เราจะดูแลรักษาคนไข้ให้รอดบุคลากรที่เสี่ยงเยอะจึงต้องรอดก่อน 
 
ถ้าเข้าใจการแบ่งทรัพยากรที่จำกัดให้เป็นก็จะรู้ได้ว่า mRNA ที่มีจำกัด 1.5 ล้านโดสจึงควรนำมาให้บุคลากรก่อนเพื่อกันตายและกันติด ส่วนทรัพยากรที่มีไม่จำกัด เช่น Sinovac/Astraz ที่มีหลายล้านโดสต่างหากที่ควรรีบกระจายให้ประชากรที่ความเสี่ยงน้อยกว่า เพื่อลดความรุนแรงของการป่วยให้มากที่สุดกว้างที่สุด 
(1.5 ล้านโดสฉีดให้บุคลากรทั้งหมดทุกคนตอนนี้ยังเหลือๆเลย)
 
ถ้าไม่ให้ mRNA แก่คนด่านหน้าที่ทำงานเสี่ยงแต่กลับเอาไปให้ใครก็ไม่รู้ไม่เหมาะสมกับหน้าที่บทบาทที่ควรได้รับ ระบบจะพังครืนลงอย่างแน่นอน

Book Pattaranit 
นพ.ภัทรนิตย์ เนินทราย
ผู้เชี่ยวชาญอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
Infectious disease specialist ที่ รพ.ศูนย์ขอนแก่น,
Infectious Disease Fellow ที่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital และ Internist ที่ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด