ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เมื่อโควิดทำร้ายใจ หมดไฟทำงาน จะรับมืออย่างไรกับอาการ BURNOUT

เมื่อโควิดทำร้ายใจ หมดไฟทำงาน จะรับมืออย่างไรกับอาการ BURNOUT HealthServ.net

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน

เมื่อโควิดทำร้ายใจ หมดไฟทำงาน จะรับมืออย่างไรกับอาการ BURNOUT ThumbMobile HealthServ.net

เมื่อโควิดทำร้ายใจ หมดไฟทำงาน จะรับมืออย่างไรกับอาการ BURNOUT

โควิดทำพัง ไม่แค่ร่ายกาย แต่ทุกวันนี้ได้ลุกลามคุกคามลงไปถึงระดับสังคม และจิตใจผู้คนด้วยแล้ว อย่างมิอาจปฏิเสธ คำถามสำคัญเชิงจิตวิทยาที่ต้องการคำตอบมากๆ ขณะนี้ คือ

จะรับมืออย่างไรกับอาการ BURNOUT เมื่อโควิด-19 ทำใจพังจากการทำงาน 

 
คำตอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน โดยมีอาการหลัก 3 อาการ ได้แก่

1. มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ

2. มองความสามารถในการทำงานของตนเองในเชิงลบ ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จ

3. มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า
 

ดูแลใจอย่างไรช่วงCOVID19

• หมั่นสังเกตอารมณ์
หมั่นสังเกตอารมณ์และความเครียดของตนเอง พยายามผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง ฝึกสมาธิ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพสารเสพติด

• ติดต่อคนที่เรารัก
ติดต่อคนที่เรารักผ่านมือถือหรือโซเชียลมีเดีย จะช่วยให้เราและคนที่เรารัก มีกำลังใจมากขึ้น

• ดูแลใจเพื่อนร่วมงาน
ดูแลใจเพื่อนร่วมงานด้วยการชื่นชม เห็นคุณค่าในความเสียสละ รวมทั้งให้กำลังใจตนเองและเพื่อนร่วมงาน "เราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกัน"

• รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
ดูแลสุขภาพตนเองด้วยการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด

• รับการดูแลใจ
ถ้ารู้สึกว่าตนเองหรือเพื่อนร่วมงานเครียดมาก ให้ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323

ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่ถ้าหากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
 
 
• ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
• กรมสุขภาพจิต

ภาพจากรพ.มนารมย์
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด