ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เทคนิคง่ายๆ 7 ขั้นตอน รับมือผู้ป่วยก้าวร้าว

เทคนิคง่ายๆ 7 ขั้นตอน รับมือผู้ป่วยก้าวร้าว HealthServ.net
เทคนิคง่ายๆ 7 ขั้นตอน รับมือผู้ป่วยก้าวร้าว ThumbMobile HealthServ.net

เปิดเผยเทคนิคเคล็ดลับโดยพยาบาลใจดี แห่งโรงพยาบาลมนารมย์

เทคนิคง่ายๆ 7 ขั้นตอน รับมือผู้ป่วยก้าวร้าว HealthServ

7 ขั้นตอน รับมือผู้ป่วยก้าวร้าว

พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นการตอบสนองรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ ที่ส่งผลเสียต่อทั้งตัวผู้ก้าวร้าวเองและผู้ใกล้ชิด หากคนใกล้ตัวเราแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวบ่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตเราในระยะยาวได้ มาเรียนรู้การจัดการผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยเทคนิคง่ายๆ 7 ขั้นตอน
 
1. สงบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ
สิ่งสำคัญอันดับแรก เราต้องควบคุมจิตใจเราให้สงบ มั่นคง ผ่อนคลาย ไม่แสดงอาการกลัวเพื่อหลีกเลี่ยงการอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ป่วย และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ขั้นต่อไป
 
2. จัดสิ่งแวดล้อม
เมื่อผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว หลายคนมีแนวโน้มที่จะทำลายข้าวของ หรือสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวายก็เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ควรชักชวนผู้ป่วยไปพักในสถานที่สงบและปลอดภัย ชวนผู้ป่วยนั่งเพื่อพูดคุย หรือดื่มน้ำเย็น เพื่อลดอารมณ์โกรธ
 
3. เตือนสติผู้ป่วย 
ผู้ป่วยที่กำลังโกรธและมีพฤติกรรมก้าวร้าว จะมีมุมมองแคบๆ แค่ปัญหาของตัวเอง และลืมตัวตนของตัวเองไปชั่วขณะ เราสามารถช่วยเตือนสติได้ด้วยการสะท้อนอารมณ์และพฤติกรรมในขณะนั้น เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว สถานการณ์ก็จะเริ่มผ่อนคลายขึ้น ค่อยพูดคุยปัญหาเพื่อหาทางออกร่วมกัน
 
4. เคารพตัวเองและความรู้สึกของคุณเอง
แม้คุณจะแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องยอมทุกอย่างที่ป่วยร้องขอ คุณต้องเคารพในความรู้สึกของตัวเอง หากผู้ป่วยก้าวร้าวมากขึ้น คุกคามคุณมาก คุณมีสิทธิ์ที่จะแสดงความรู้สึกของตัวเอง โต้ตอบ หรือแสดงถึงความอดทนที่ลดลงได้ 
 
5. ชี้แนะประเด็นสำคัญ
ผู้ป่วยที่ก้าวร้าว มักโดนอารมณ์โกรธปิดบังความจริง คุณควรชี้นำให้ผู้ป่วยเห็นถึงธรรมชาติของอารมณ์และการตอบสนองของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้มองสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้ผู้ป่วยค้นหาปัญหาหลักได้เพื่อวางแผนหาทางออกร่วมกัน
 
6. แสดงความเห็นใจรับฟัง
แสดงความเห็นใจผู้ป่วย รับฟังอย่างตั้งใจ แสดงให้เห็นถึงการใส่ใจและเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย เทคนิคง่ายๆ ถ้าเราเจอสถานการณ์เดียวกันกับผู้ป่วย เราจะรู้สึกอย่างไร จะทำให้เราเข้าใจผู้ป่วยได้ง่ายมากขึ้น และพยายามพูดกับผู้ป่วยด้วยโทนเสียงต่ำ เนื้อหาสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และไม่ซับซ้อน
 
7. วางแผนระยะยาว 
สังเกตพฤติกรรมเตือนก่อนก้าวร้าวเพื่อช่วยเหลือครั้งต่อไป เช่น แตะไหล่เบาๆ เพื่อเตือนสติ ควบคุมตัวเอง เช่น การแตะที่ไหล่เบาๆ เพื่อเตือนสติ หรือบอกว่าตอนนี้ผู้ป่วยกำลังหงุดหงิด เพื่อให้ผู้ป่วยพยายามควบคุมตัวเอง สุดท้าย ถ้าเหตุการณ์เกินกว่าที่คุณจะรับมือไหว ต้องขอความช่วยเหลือ สามารถพาผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์เพื่อประเมินสภาพจิตและให้การรักษาที่เหมาะสม
 
ขอบคุณข้อมูลจาก พยาบาลใจดี
หนึ่งฤทัย กล่ำเงิน
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมนารมย์
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด