ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

EEC ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ ปี 2564 ลงทุน 4 แสนล้าน

EEC ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ ปี 2564 ลงทุน 4 แสนล้าน HealthServ.net
EEC ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ ปี 2564 ลงทุน 4 แสนล้าน ThumbMobile HealthServ.net

ในปี 2564 โครงการ EEC ตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่อง นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คาดการณ์ว่า ในปี 2564 จะมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC ประมาณ 400,000 ล้านบาท

EEC ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ ปี 2564 ลงทุน 4 แสนล้าน HealthServ
 นับตั้งแต่ต้นปี 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจโลก รวมทั้งประเทศไทย ยังคงถูกกระทบโดยตรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทุกรัฐบาลต่างต้องเร่งออกมาตรการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการค้าการลงทุนทั่วโลก
 
โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโครงการ EEC หรือไม่ เมื่อมาดูอภิมหาโปรเจกต์อย่างโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ที่รัฐบาลตั้งเป้าจะให้ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน พบว่า แม้ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดปี 2563 การลงทุนใน EEC ดูจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยเห็นได้จากสถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ในช่วง 11 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-พ.ย.63) ซึ่งมีทั้งสิ้น 387 โครงการ มูลค่าลงทุนสูงถึง 128,158 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ 76,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าการลงทุนลดลงเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นจากปี 2562
 
 
อย่างไรก็ดี ยอดผู้ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อลงทุนจริง ขยายตัวถึงร้อยละ 62 โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และปิโตรเคมี ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนยังคงมีความมั่นใจในประเทศไทย จึงเดินหน้าลงทุนตามแผนที่วางไว้
 
ในปี 2564 โครงการ EEC ตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่อง นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คาดการณ์ว่า ในปี 2564 จะมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC ประมาณ 400,000 ล้านบาท
 

อุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม

โดยแบ่งเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐและเอกชนร่วมกันประมาณ 100,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 300,000 ล้านบาทเป็นการลงทุนตามการขอรับส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม ประกอบด้วย
 
1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
 
2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
 
3.อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
 
4.อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
 
5.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
 
6.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
 
7.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
 
8.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
 
9.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ
 
10.อุตสาหกรรมดิจิทัล
 
เพื่อให้มูลค่าการลงทุนในปี 2564 เป็นไปตามที่ สกพอ. ตั้งเป้าไว้ที่ 400,000 ล้านบาท รัฐบาล ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงจะเพิ่มมาตรการจูงใจนักลงทุน นั่นก็คือ การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เข้ามาทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากอัตราก้าวหน้าที่สูงสุด 35% ให้เหลือในอัตราไม่เกิน 17% ของเงินได้พึงประเมิน นอกจากนี้ จะมีการต่ออายุมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่จะหมดอายุในปลายปี 2564 ด้วย เพื่อสนับสนุนการเติบโตของการลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีใน EEC
 
อีกปัจจัยที่จะทำให้พื้นที่ EEC ดึงดูดใจนักลงทุนในปีนี้ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ซึ่งมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งโดยภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังมีธุรกิจด้านอื่นที่มีการเพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี2563 ทั้งธุรกิจการแพทย์ (Medical Hub) ธุรกิจโลจิสติกส์ และธุรกิจที่เกี่ยวกับออร์โตเมชันและอากาศยาน
 
 
 

ความคืบหน้าโครงสร้างพื้นฐาน

สำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐานใน EEC ก็มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในไตรมาสที่ 1-2 ของปีนี้ก็จะเริ่มส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนในช่วงลาดกระบัง-สนามบินอู่ตะเภา เพื่อก่อสร้างทางรถไฟและสถานี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืนที่ดิน และเตรียมการรื้อย้าย 
 
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19  และการรับมือที่มีประสิทธิภาพของไทย  สกพอ. จึงมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลบวกจากการระบาด อันได้แก่อุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG คือ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียน และอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งเป็นไปในแนวโน้มของห่วงโซ่อุปทานโลกที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเพิ่มมาตรฐานด้านสุขอนามัย โดยจะเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรม 3 ด้าน ได้แก่
 
1.ธุรกิจดิจิทัล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากการพัฒนาระบบ 5G  โดยจะต่อยอดจากการลงทุนโครงข่ายระบบ 5G ของทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 50 ของ EEC ในปี 2564  สกพอ. คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมดิจิทัลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน EEC จะเติบโตมากกว่าร้อยละ 150 และจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อเนื่องอีกมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในด้านเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีมูลค่าสูง
 
2.ธุรกิจสุขภาพ สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ทั่วโลกต้องการอุปกรณ์การแพทย์ การป้องกันและยารักษาโรคเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีความสนใจต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ จึงเป็นโอกาสดีที่ไทยจะส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง ชุด PPE เครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ที่นอกจากจะยังเป็นที่ต้องการของทุกประเทศทั่วโลกแล้ว ยังจะสามารถเสริมสร้างความมั่นคงทางสาธารณสุขของประเทศด้วย
 
ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ใน EEC หลายโครงการ เช่น โครงการ “จีโนมิกส์ไทยแลนด์” ซึ่งเป็นการจัดทำฐานข้อมูลดีเอ็นเอของคนไทย 50,000 ราย เพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาด้านการผลิตยารักษาโรค วัคซีน และวิธีการรักษาโรคใหม่ให้เหมาะสมกับคนไทยและประชากรอาเซียน การพัฒนาในด้านนี้จะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมธุรกิจโรงพยาบาลเฉพาะทางต่าง ๆ ด้วย
 
3.ธุรกิจสมาร์ทโลจิสติกส์ เพื่อต่อยอดจากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน EEC เพื่อการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและคมนาคมของภูมิภาค โดยจะส่งเสริมการลงทุนด้านการขนส่งและคลังสินค้าโดยใช้ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนธุรกิจ Express delivery ด้วย
 
 
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีการเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อป้อนให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ใน EEC โดยจากสถิติปีงบประมาณปี 2563 กระทรวงแรงงานได้ให้บริการจัดหางานแก่กลุ่มอุตสาหกรรมดั้งเดิม และอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-Curve) ทั้งด้านหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ถึง40,464 คน จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 28,000 คน ส่วนการจัดหางานด้านการบริการ กระทรวงแรงงานก็ได้แนะแนวอาชีพให้นักเรียนนักศึกษา และสร้างแรงงานด้านบริการถึง 70,401 คน จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 48,838 คน
 
 
ทั้งนี้ สกพอ. ประมาณการว่า ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2562-2566 ความต้องการแรงงานไทยของภาคเอกชนในพื้นที่ EEC จะมีมากกว่า 4 แสนอัตรา ทั้งในระดับอาชีวะ และปริญญาตรี โดยที่ผ่านมา สกพอ. ได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สร้างหลักสูตรพัฒนาทักษะบุคคลากรให้ตรงความต้องการของภาคเอกชน (EEC Model) ควบคู่กับให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีแก่ภาคเอกชนที่รับนักศึกษาที่จบหลักสูตรดังกล่าวด้วย
 
 
สำหรับการเตรียมพร้อมในระยะยาว กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ขับเคลื่อนการเรียนการสอนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดอบรมพัฒนาครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และการส่งเสริมให้เด็กเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชนในอนาคต
 
ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานในพื้นที่ EEC เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ว่า ถือเป็นอนาคตของประเทศไทย ที่ต้องช่วยกันให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบ และเป็นไปตามแผนงานทุกประการ พร้อมกล่าวย้ำเรื่องการลงทุนในพื้นที่ EEC ว่า จะต้องหาวิธีการให้มีการลงทุนในพื้นที่ EEC เพิ่มขึ้น และหามาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้น
 
 
ทั้งหมดนี้ คือภาพรวมพัฒนาการของโครงการ EEC ตลอดปี 2563 และแผนการดำเนินงานในอนาคต เพื่อผลักดันให้พื้นที่ EEC กลายเป็น “World-Class Economic Zone” ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ได้อย่างสมบูรณ์
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ประเทศไทย นำเสนออุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วยธุรกิจ ด้านการดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ครบวงจร

การแพทย์ชั้นนำระดับโลก
โรงพยาบาลในประเทศไทยได้ดำเนินงานตามมาตรฐานสากลและมีบุคลากร
ทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ได้รับ
การรับรองมาตรฐานโดย Joint Commission International (JCI) เป็นจำนวนมาก
ให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพที่ยอดเยี่ยม ในราคาที่เอื้อมถึง พร้อมทั้งใช้
เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาอีกด้วย
 
โรงพยาบาลและบุคลากร
ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ
 
ประเทศไทย นอกจากมีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานจำนวนมากแล้ว ยังมีบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จำนวนมากอีกด้วย ด้วยชื่อเสียงและความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประเทศไทยจึงเหมาะสำหรับการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพครบวงจร
 
ในภาพรวม 66 แห่ง จำนวนโรงพยาบาลที่ ได้รับมาตรฐาน JCI
(ที่มา: Joint Commission International Accreditation (JCI), 2562)
 
อันดับ 1 ของอาเซียน ด้านการนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ทางการแพทย์ (2562)
 
อันดับ 6 ของโลก ด้านระบบสุขภาพที่ดีที่สุด
 
(ที่มา: นิตยสาร CEOWORLD, 2562)


 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด