ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้ป่วยกับยารักษาโรค

ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรหรือป่วยเป็นอะไร การใช้ยารักษาโรคในกรณีต่าง ๆ ควรคำนึงกฎเกณฑ์เบื้องต้นเช่น บอกแพทย์ให้ทราบว่าคุณซื้อยาอะไรมาใช้เองบ้าง และอ่านวิธีการใช้ยาอย่างละเอียด

ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรหรือป่วยเป็นอะไร การใช้ยารักษาโรคในกรณีต่าง ๆ ควรคำนึงกฎเกณฑ์เบื้องต้นดังต่อไปนี้ - บอกแพทย์ให้ทราบว่าคุณซื้อยาอะไรมาใช้เองบ้าง เช่น ยาระบายหรือยาลดกรด แอสไพรินหรืออะเซตามิโนเฟน ยาแก้ไอ ยาแก้หวัดหรือยาแก้แพ้ หรือผลิตภัณฑ์วิตามินและเกลือแร่เสริอาหารต่าง ๆ ยาที่แพทย์ไม่ได้จ่ายให้เองอาจมีฤทธิ์แรง และทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงถ้าใช้พร้อมกับยาชนิดอื่นที่แพทย์สั่งให้ - อ่านวิธีการใช้ยาอย่างละเอียด ถามแพทย์และเภสัชกรว่าฤทธิ์และผลข้างเคียงของยาเป็นอย่างไร ควรงดอาหารอะไรหรือไม่ ควรเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเลิกใช้ยาชนิดอื่นหรือไม่ ถ้าคุณไปรับยาชุดเดิมมารับประทานใหม่ แต่ดูไม่เหมือนยาตัวเดิมที่เคยได้รับมา ควรรีบถามแพทย์หรือเภสัชกรทันที - ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การใช้ยาเกินขนาดเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ความคิดที่ว่า “ยิ่งมากยิ่งดี” นำมาใช้กับการกินยาไม่ได้แน่นอน - อย่าหยุดยาเอง เพียงเพราะรู้สึกว่าอาการทุเลาแล้ว ควรใช้ยาต่อไปจนครบตามเวลาที่แพทย์กำหนดแม้อาการจะหายไปแล้วก็ตาม ยกเว้นถ้าแพทย์สั่ง - จดบันทึก ขนาดยาที่คุณใช้ในแต่ละวัน และเก็บพกไว้ในกระเป๋าสตางค์หรือกระเป๋าสะพาย ทางที่ดีควรจดอาการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิดไว้ด้วย - เล่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่อกินยาให้แพทย์ฟัง เช่น กินยาแล้วรู้สึกปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ รู้สึกตามัว ได้ยินเสียงแว่วในหู หายใจหอบถี่ เป็นภูมิแพ้ หรือมีอาการอื่น ๆ - ควรกลับไปให้ร้านขายยาหรือเภสัชกรคนเดิมเป็นผู้จัดยาให้ การใช้บริการจากร้านขายยาแห่งเดิมหรือเภสัชกรคนเดิมจะช่วยลดปัญหายาออกฤทธิ์ต้านกันได้ เภสัชกรจะช่วยจัดยาแต่ละชนิดให้คุณได้อย่างเหมาะสม แม้ใบสั่งยาจะมาจากแพทย์ต่างคนก็ตาม - จัดเก็บยาไว้ในที่เหมาะสม ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ระดับอุณหภูมิห้อง และอย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง ยาบางชนิดอาจจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ไม่ควรเก็บไว้กับตู้ในห้องน้ำ เพราะอุณหภูมิและความชื้นในห้องน้ำมักเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา - กำจัดยาหมดอายุเป็นระยะ ยาเมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งจะเริ่มเปลี่ยนสภาพ บางชนิดอาจออกฤทธิ์เป็นพิษกับร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงการกินยาที่หมดอายุแล้วทุกชนิด - เก็บยาให้พ้นมือเด็ก และเก็บทุกชนิดไว้ในภาชนะพิเศษที่เด็กจะเปิดหยิบเอายาเองไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าคุณมีเด็กเล็ก ๆ ลูกหลาน หรืออาคันตุกะอายุน้อย ๆ อยู่ในบ้าน ตลอดเวลา - เก็บยาไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิม ถ้ายาขวดไหนฉลากยาหายไป จนคุณไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไรหรือใช้แก้อะไร ควรนำไปทิ้งทันที และโดยปกติบรรจุภัณฑ์ของยาที่แพทย์จ่ายให้มักเป็นแบบที่กันแสงหรือความชื้นได้โดยเฉพาะ - ถ้าฝาปิดขวดชนิดพิเศษเปิดใช้ลำบาก ควรขอให้เภสัชกรเปลี่ยนขวดที่เปิดง่ายมาใช้แทน - อย่าแบ่งยาหรือใช้ยาร่วมกับผู้อื่น ยาที่ถูกโรคกับคุณอาจไม่ถูกโรคกับคนอื่นเสมอไป - อย่าหยิบยากินในที่มืด หรือกินยาขณะมองเห็นตัวยาไม่ชัด - อย่ากินยาพร้อมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจเป็นอันตรายกับร่างกายได้

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด