ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กัญชาถูกกฎหมายในเยอรมนี มีโอกาสแค่ไหน

กัญชาถูกกฎหมายในเยอรมนี มีโอกาสแค่ไหน HealthServ.net
กัญชาถูกกฎหมายในเยอรมนี มีโอกาสแค่ไหน ThumbMobile HealthServ.net

หนึ่งประเด็นของการหารือร่วมระหว่าง 3 พรรคการเมืองในความพยายามจัดตั้งรัฐบาลของเยอรมัน เป็นการหาแนวทางกฎเกณฑ์ควบคุม ตั้งแต่การปลูก การค้าและการจำหน่าย

กัญชาถูกกฎหมายในเยอรมนี มีโอกาสแค่ไหน HealthServ
สำนักข่าว DW ออกรายงานน่าสนใจเกี่ยวกัญชาในเยอรมนี  ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งประเด็นของการหารือร่วมระหว่าง 3 พรรคการเมืองในความพยายามจัดตั้งรัฐบาลของเยอรมัน  เป็นการหาแนวทางกฏเกณฑ์ควบคุม ตั้งแต่การปลูก การค้าและการจำหน่าย

อัพเดตล่าสุด 3 พรรค หลักในการจัดตั้งรัฐบาล มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเห็นด้วยกับการ "ทำให้กัญชาถูกกฏหมายในเยอรมัน" ซึ่งหากทำได้ จะเป็นชาติที่ 2 ในสหภาพยุโรป ต่อจากลักเซมเบิร์กที่ยอมรับกัญชาถูกกฏหมาย - DW News (24 ตค 64) 


บริษัทเวชภัณฑ์ของเยอรมันก็จับตาอยู่เช่นกัน
 
ย้อนกลับไปมองประเทศแคนาดา ต้นแบบประเทศกัญชาเสรี ที่ประกาศให้กัญชาถูกกฏหมายเมื่อสามปีที่แล้ว ความสำเร็จนี้ นอกจากสร้างตลาดมูลค่าสูงถึง 2 พันล้านยูโรปต่อปีให้ประเทศแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นเร้าฝั่งผู้บริโภคให้ตื่นเต้นและอยากจะมีส่วนร่วมในการบริโภคผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฏหมายไปพร้อมกันได้อย่างมาก เห็นได้จากชาวแคนาดาเข้าคิวยาวเหยียดหน้าร้านจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต ในวันที่ 11 ตุลาคม 2018 วันที่รัฐบาลประกาศให้กัญชาถูกกฏหมาย 

"เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวันประวัติศาสตร์" 

หลังเปิดเสรีกัญชา ทางการแคนาดาจะเน้นควบคุมตรวจสอบ ในด้านการเพาะปลูกและการจำหน่าย 
 
สำหรับเยอรมนี กัญชาเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาดมืด แน่นอนว่าย่อมไร้การควบคุมคุณภาพ และเป็นองค์กรอาชญากรรมที่กอบโกยกำไรมหาศาลตรงนี้ไป

นี่น่าจะเป็นจุดที่รัฐบาลเยอรมนีจะต้องการเปลี่ยนแปลงมุมมองรวมถึงนโยบายเกี่ยวกับเรื่องกัญชา บริษัทยาในเยอรมันก็หวังที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันนี้ ความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์มีสูงมากขึ้นเรื่อยๆ และทั้งหมดต้องต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างเช่น จากเดนมาร์ค เนื่องจากผลผลิตของที่นี่มีสารออกฤทธิ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ
 
ปัจจุบันในเยอรมัน การจำหน่ายกัญชาทางการแพทย์ จะต้องตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น 
 
เฉพาะช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 แพทย์เยอรมันสั่งจ่ายยาที่มีส่วนสารสกัดกัญชาไปแล้วมีมูลค่ารวมกว่า 90 ล้านยูโร สำหรับผู้ป่วยโรคลมชักหรือโรคเรื้อรังต่างๆ
 
ขณะนี้มีบริษัทยาเยอรมันเพียง 3 บริษัทเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการปลูกกัญชาได้ โดยปลูกแบบภายนอกโรงเรือนและต้องมีกำแพงป้องกัน
 
มูลค่าของยอดขายกัญชาทางการแพทย์กำลังอยู่ขาขึ้น ผลผลิตส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแคนาดา
 
บ. Geca Pharma ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโคโลญน์ เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าและจำหน่ายกัญชาทางการแพทย์ ให้ข้อมูลน่าสนใจ ต่อคำถามที่ว่า บริษัททำกำไรจากธุรกิจนี้อย่างไร
 
"การพูดคุยประเด็นนี้น่าจับตา สำหรับเราในฐานะบริษัทที่นำเข้าและกระจายผลิตภัณฑ์  จะมุ่งตอบโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ออกได้ง่ายที่สุด ซึ่งหากมีการทำให้ถูกฏหมายได้จริง ประมาณการว่าจะมีผู้ป่วยมากถึง 1 ล้านรายที่ต้องการผลิตภัณฑ์" 
 
สำหรับตลาดที่กว้างขึ้นอย่างกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ป่วยล่ะ ทำไมที่ผ่านมา รัฐบาลถึงยังไม่ตัดสินใจ รออะไร ทั้งที่มีการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามูลค่าตลาดสูง ถึงระดับพันล้านยูโร
 
"แน่นอนว่าตัวเลขมูลค่าตลาดนั้นสูงจริง แต่ที่ผ่านมากัญชายังถูกจัดอยู่เป็นยาเสพติดระดับ 4 เทียบเท่า เฮโรอีน หรือ โคเคน และไม่มีประโยชน์ด้านการแพทย์การรักษาโรคแต่อย่างใด กระทั่งปี 2019 ได้มีการปรับ
ให้มาอยู่ระดับ 1 ที่ให้การยอมรับว่า กัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์  กระทั่่งถึงวันนี้ ที่มีการพูดคุยกันเพื่อทำให้เป็นเสรีและถูกกฏหมาย นี่นับเป็นก้าวสำคัญมากทีเดียว"
 
 
แล้วมีด้านลบหรือข้อสงสัยหรือข้อกังวลใดๆ ที่ต้องพิจารณาบ้างไหม
 
"รัฐบาลต้องรับฟังทุกฝ่ายที่ต้องการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ทั้งด้านผลิต นำเข้า และการจำหน่ายจ่ายแจก อย่างเช่น หากเภสัชกรต้องการที่เป็นผู้ที่สั่งจ่าย ก็จะต้องมาร่วมพูดคุยกันด้วย เป็นต้น"

Germany on the brink of legalizing cannabis | DW News
22 ตุลาคม 2564
กัญชาถูกกฎหมายในเยอรมนี มีโอกาสแค่ไหน HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด