ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

น้ำหนักเปลี่ยนผิดปกติ

โดยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวมักมีสาเหตุชัดเจน ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถือว่ามีนัยสำคัญ หากไม่มีเหตุอันควร ควรต้องไปปรึกษาแพทย์ทันที

โดยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวมักมีสาเหตุชัดเจน เช่น เพราะเปลี่ยนอาหารหรือลักษณะกิจกรรมที่ทำ หรือเพราะประสบกับภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกาย ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วหรือลดลงอย่างรวดเร็วถึงประมาณร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวรวม (คือประมาณ 7 ½ - 15 ปอนด์ในคนที่หนัก 150 ปอนด์ หรือ 3.4-6.8 กิโลกรัมในคนที่หนัก 68 กิโลกรัม) ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถือว่ามีนัยสำคัญ คนที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว หรือโดยไม่มีเหตุอันควร ควรต้องไปปรึกษาแพทย์ทันที 

น้ำหนักเพิ่ม คุณอ้วนหรือเปล่า น้ำหนักเพิ่มเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และส่วนใหญ่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปีละ 1-2 กิโลกรัม ซึ่งแก้ไขด้วยการรู้จักเลือกกินอาหารและออกกำลังกายให้สม่ำเสมอขึ้น แต่ถ้าน้ำหนักตัวคุณเพิ่มขึ้นเร็วมาก อาจเป็นได้ว่าเกิดจาก 

  1. การเปลี่ยนอาหาร ดื่มโซดาและสุรามากขึ้น กินอาหารไขมันสูง เช่น ไอศกรีม ของหวาน อาหารทอด มากขึ้น กินขนมมากขึ้น กินอาหารจานด่วนเป็นประจำ หรือเปลี่ยนไปกินอาหารปรุงสำเร็จมากขึ้น 
  2. การทำกิจกรรมน้อยลง เพราะได้รับบาดเจ็บจึงทำให้เคลื่อนไหวได้น้อยลง เปลี่ยนจากงานที่ต้องใช้แรงมานั่งโต๊ะมากขึ้น หรือทำกิจวัตรบางอย่างน้อยลง เช่น เดิมขึ้นลงบันไดหรือเดินไปทำงาน ฯลฯ 
  3. การเปลี่ยนยา ยาบางชนิดทำให้น้ำหนักขึ้น เช่น ยาต้านเศร้า รวมถึงการใช้ฮอร์โมนบางอย่าง เช่น ฮอร์โมนเอสโทรเจน โพรเจสเทอโรน และคอร์ติโซน เป็นต้น 
  4. อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวลมาก เครียดมาก เป็นโรคซึมเศร้า อาจทำให้พฤติกรรมการกิน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนไป 
  5. ภาวะบวมน้ำ คนที่มีอาการหัวใจล้ม ไตวาย หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ มักมีอาการบวมน้ำ คือ เนื้อตัวบวม ใส่แหวนคับ รองเท้าคับ ข้อเท้าบวมตอนบ่าย ๆ เย็น ๆ หายใจหอบถี่ผิดปกติ หรือต้องลุกไปห้องน้ำบ่อย ๆ ตอนกลางคืน 
การดูแลรักษาตนเอง 
ถ้าคุณมีลักษณะอาการตามข้อ 1 หรือ 2 ดังกล่าวข้างต้น ให้เปลี่ยนอาหารและออกกำลังกายให้มากขึ้น แล้วรอดูอาการสัก 4-6 สัปดาห์ ถ้าไม่ได้ผลหรือเริ่มมีลักษณะอาการตามข้อ 3, 4 หรือ 5 ควรไปพบแพทย์ น้ำหนักลด คนที่น้ำหนักตัวลดลงถึงร้อยละ 5-10 ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนหรือน้อยกว่านั้นโดยไม่มีเหตุอันควร ควรต้องระวังเป็นพิเศษ แต่ทุกวันนี้หลายคนมองข้ามปัญหานี้ไป อาการน้ำหนักลดในกรณีดังกล่าวอาจเกิดสาเหตุต่อไปนี้
  1.  เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน อดอาหาร กินไปทำงานใหม่ กินไขมันน้อยมาก เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร ทำกิจกรรมก่อนและหลังอาหารไม่เหมือนเดิม กินคนเดียว
  2. ลักษณะกิจกรรมเปลี่ยนไป เปลี่ยนงาน เปลี่ยนจากงานนั่งโต๊ะมาทำงานที่ต้องใช้แรงงานขึ้น งานยุ่งและวุ่นวายมากขึ้น เริ่มต้นออกกำลังกายใหม่ ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงของฤดู
  3. ใช้ยาใหม่ อาทิ ยาต้านเศร้าและยากระตุ้นบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อกินเอง (ยาสมุนไพร หรือยาที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน) หรือยาตามแพทย์สั่ง 
  4. อารมณ์แปรปรวนความวิตกกังวล ความเครียด หรือการเป็นโรคซึมเศร้า ก็มีผลทำให้น้ำหนักลดได้ เช่นกัน 
  5. สาเหตุอื่น  การเป็นโรคฟัน เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ รู้สึกกระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อยขึ้น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น การดูดซึมอาหารผิดปกติ หรือปวดท้องเพราะเป็นแผลในกระเพาะ เป็นโรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ จนทำถ่ายเหลวบ่อย ๆ และอุจจาระมีเลือดปน เป็นโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น โรคเอดส์ หรือวัณโรค รวมถึงการเป็นโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลดกะทันหันได้เช่นกัน 

การดูแลรักษาตนเอง
 
ถ้ามีปัญหาดังที่ระบุไว้ในข้อ 1 หรือ 2 แต่ไม่มีปัญหาข้ออื่นเลย ควรปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารเป็นหลัก พยายามกินอาหารสามมื้อในสมดุล และเปลี่ยนมาดื่มเครื่องดื่มเสริมสุขภาพชนิดอื่นแทนการกินอาหารถ้วนและถูกกว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำเร็จรูปทั่วไป ถ้าน้ำหนักตัวยังปรับขึ้นมาเท่าเดิมไม่ได้ภายในสองสัปดาห์ หรือมีปัญหาตามระบุใน ข้อ 3, 4 หรือ 5 ควรไปพบแพทย์ 

การดูแลเด็ก เด็กที่น้ำหนักลดหรือเติบโตไม่เต็มที่ อาจเป็นเพราะระบบย่อยอาหารไม่ดี จึงทำให้ร่างกายย่อยหรือดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นเข้าไปใช้ไม่ได้ การขาดสารอาหารนี้จะมีผลต่อกระดูก และทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา หรือถ้าเด็กมีปัญหาเรื่องการกินและน้ำหนักลดผิดสังเกต โดยไม่มีเหตุอันควร ก็ควรไปพบแพทย์ประจำตัวเด็กจะดีที่สุด

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด