ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว ทางการเตือนสวมหน้ากาก เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ผิดปกติรีบพบแพทย์

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว ทางการเตือนสวมหน้ากาก เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ผิดปกติรีบพบแพทย์ HealthServ.net
ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว ทางการเตือนสวมหน้ากาก เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ผิดปกติรีบพบแพทย์ ThumbMobile HealthServ.net

กรม สบส. เตือนประชาชน เตรียมพร้อมเฝ้าระวังรับฝุ่น PM 2.5 เลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน แต่หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น หากมีอาการผิดปกติทางเดินหายใจควรรีบพบแพทย์

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว ทางการเตือนสวมหน้ากาก เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ผิดปกติรีบพบแพทย์ HealthServ
ช่วงเดือนระหว่างเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงหน้าหนาว สภาพอากาศแห้งและลมนิ่ง ทำให้ฝุ่นละอองสามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศ จากการใช้งานยานพาหนะบนท้องถนนประกอบกับมีฝุ่นละอองการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ควันจากมลพิษ การเผาป่า ทำให้มีการกระจายของฝุ่นละอองปกคลุมหนาเป็นบริเวณกว้าง


สภาวะอาการศที่มีฝุ่นละออง แบบนี้ จะส่งผลกระทบโดยตรง ต่อระบบทางเดินหายใจ  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจ ภูมิแพ้  เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่มีมาตรการผ่อนคลายในการทำกิจการ สถานประกอบการ และกิจกรรมต่างๆ เช่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน การจัดกิจกรรมคอนเสิร์ต การเปิดสถานศึกษาบางแห่ง การเปิดให้ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ประชาชนออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น


คำแนะนำ คือ  ควรสวมหน้ากากอนามัยที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และสามารถช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้

ปัจจุบันค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ (6 ธค 64 - โดยอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)

สำหรับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)  ที่เป็นค่าวัดฝุ่น PM 2.5 มี 5 ระดับด้วยกัน คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
 
AQI 0 - 25 คุณภาพอากาศดีมาก
แสดงด้วยสี ฟ้า
คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว
 
AQI 26 - 50 คุณภาพอากาศดี
แสดงด้วยสี เขียว
คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
 
AQI 51 - 100 ปานกลาง
แสดงด้วยสี เหลือง
คำแนะนำ : 
  • ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
  • ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
 
AQI 101 - 200 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
แสดงด้วยสี ส้ม
คำแนะนำ : 
  • ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
  • ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
 
AQI 201 ขึ้นไป มีผลกระทบต่อสุขภาพ
แสดงด้วยสี แดง

คำแนะนำ : ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

 

ตรวจสอบค่าฝุ่นแผ่นแอป

ตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 จากแอปพลิเคชัน “Air4Thai” และเว็บไซต์ www.air4thai.com ทุกครั้ง เพื่อประเมินความเสี่ยงและป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากาก PM 2.5 ตลอดเวลาเพื่อป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก
ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว ทางการเตือนสวมหน้ากาก เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ผิดปกติรีบพบแพทย์ HealthServ


7 วิธี ป้องกันมลพิษต่อสุขภาพ


ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานอาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก วัยเรียนและกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เสี่ยงต่อการได้รับมลพิษทางอากาศระดับสูง แต่สามารถป้องกันได้ โดยมีข้อปฏิบัติ 7 วิธี ดังนี้

1. เลี่ยงทำกิจกรรมหรืองดออกกำลังกายกลางแจ้ง ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน

2. สวมหน้ากากอนามัยทั้งแบบผ้าหรือแบบบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน หรือสวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลานาน ๆ 

3. ทำความสะอาดบ้านและโรงเรียนให้สะอาดห้องปลอดฝุ่น

4. ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น เช่น การจุดธูป ปิ้งย่าง เผาขยะ เผาเศษใบไม้ เป็นต้น

5. หากพบเด็กหรือบุคคลในครอบครัวมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบพาไปพบแพทย์

6. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเลี่ยงการออกนอกบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับมลพิษจากฝุ่น PM 2.5 และ

7.ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหากมีอาการผิดปกติทางเดินหายใจควรพบแพทย์ทันที
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด