ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65)

6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) HealthServ.net
6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) ThumbMobile HealthServ.net

กรมการขนส่งทางบก ยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากภาคการขนส่งอย่างเข้มข้นต่อเนื่องทุกมาตรการ ตั้งแต่ปลายปี 64 ถึงต้นปี 65

6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) HealthServ
 กรมการขนส่งทางบก ยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากภาคการขนส่งอย่างเข้มข้นต่อเนื่องทุกมาตรการ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2565
 
          นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบก ได้ติดตามสถานการณ์และเตรียมพร้อมมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้ยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากภาคการขนส่งอย่างเข้มข้นต่อเนื่องทุกมาตรการ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2565
 
 

6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่ง

กรมการขนส่งทางบก ได้กำหนดแนวทางไว้ดังนี้



1. การออกตรวจวัดควันดำจากท่อไอเสียของรถบรรทุกและรถโดยสารทุกวัน
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพิ่มความถี่ในการปฏิบัติงานออกตรวจวัดควันดำทั่วประเทศ โดยเฉพาะบนถนนสายหลักและสายรองที่เข้า-ออกกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่  15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา สระบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี นครนายก สุพรรณบุรี นนทบุรี และปทุมธานี

หากตรวจพบค่าควันดำเกินกำหนดจะลงโทษเปรียบเทียบปรับสถานหนักและสั่งห้ามใช้รถด้วยการพ่นข้อความ “ห้ามใช้” โดยเจ้าของรถต้องนำรถไปแก้ไขสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดำเกินกำหนดและนำมาตรวจสภาพอีกครั้งจนผ่านการตรวจสอบจึงจะนำไปใช้งานได้
 
2. การตรวจสภาพรถบรรทุกและรถโดยสาร
เข้มงวดการตรวจสภาพรถตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด รวมทั้งดำเนินการตรวจวัดค่าควันดำรถทุกประเภทที่เข้ารับการตรวจสภาพรถ และรถที่มาดำเนินการทางทะเบียนในด้านอื่นๆ ที่สำนักงานขนส่ง
 
3. การตรวจสอบการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ
เข้มงวดตรวจสอบการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งการออกไปสุ่มตรวจการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถ ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด
 
4. การตรวจสอบยานพาหนะของหน่วยงานราชการ
ตรวจสอบควันดำรถราชการในพื้นที่อย่างเข้มงวด โดยประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจังหวัดให้แจ้งส่วนราชการภายในจังหวัดนำรถเข้ามาตรวจวัดควันดำ ณ สำนักงานขนส่ง
 
 
5. บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อาทิ กองบังคับการตำรวจจราจร กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร ออกตรวจวัดควันดำรถบริเวณที่มีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูง ในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน ส่วนสำนักงานขนส่งจังหวัดร่วมกับสถานีตำรวจภูธรจังหวัด ตรวจวัดควันดำรถบนท้องถนนทั่วประเทศ พร้อมกำชับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เข้มงวดตรวจสอบสภาพรถโดยสารไม่ให้ปล่อยควันดำขณะนำมาใช้งานบนท้องถนน
 
6. ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาควันดำ
และเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนรถที่มีค่าควันดำ โดยให้แจ้งเบาะแสมายังศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียนทาง Facebook “1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ” เพื่อให้กรมการขนส่งทางบกจะตรวจสอบและลงโทษอย่างเด็ดขาดและจริงจัง
 
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 จากยานพาหนะอย่างยั่งยืน กรมการขนส่งทางบก เร่งส่งเสริมการใช้รถพลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การนำรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิง มาใช้ในระบบขนส่งสาธารณะและขนส่งสินค้าทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้พิจารณากำหนดมาตรการด้านภาษี กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ผู้ประกอบการขนส่งฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า และส่งเสริมให้ภาคเอกชนนำรถพลังงานสะอาดมาให้บริการ รวมถึงการใช้มาตรฐานค่าควันดำใหม่ที่เข้มงวดขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานค่าควันดำและวิธีการตรวจวัดที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะเริ่มใช้เกณฑ์ใหม่ช่วงเดือนเมษายน 2565
6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) HealthServ
6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) HealthServ
6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) HealthServ
6 แนวทางจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของกรมขนส่งทางบก (มาตรการปลายปี 64 - ต้นปี 65) HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด