ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชง (บทสรุปความคิดเห็น-กันยายน 2564)

แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชง (บทสรุปความคิดเห็น-กันยายน 2564) HealthServ.net
แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชง (บทสรุปความคิดเห็น-กันยายน 2564) ThumbMobile HealthServ.net

การประชุมรับฟัง-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 ร่วมกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ มีกิจกรรมบรรยายเกี่ยวกับความคืบหน้ากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการใช้กัญชงและกัญชาในเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงสถานการณ์การอนุญาตกัญชงและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเปิดรับฟัง-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม

 
 
สรุปการประชุมรับฟัง-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชง
 
 
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองควบคุมวัตถุเสพติด จัดประชุมรับฟัง-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 9.30 -12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักวิชาการ อาคาร 1 ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและผ่านระบบ Zoom meeting

การประชุมฯ ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานและสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
  • สถาบันกัญชาทางการแพทย์
  • การยาสูบแห่งประเทศไทย
  • องค์การเภสัชกรรม
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย
  • สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย
  • สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร ฯลฯ 


และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งสิ้นกว่า 100 คน

โดยมีกิจกรรมบรรยายเกี่ยวกับความคืบหน้ากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งการใช้กัญชงและกัญชาในเครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงสถานการณ์การอนุญาตกัญชงและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเปิดรับฟัง-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม
 
นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบาลส่งเสริมกัญซงเป็นพืชเศรษฐกิจ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้ผลักดันกฎหมายปลดล็อกกัญชง และส่งเสริมการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำครบถ้วนแล้ว ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชงร่วมกัน
 
 
ดร.กก.อนันต์ชัย อัศวเมมิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานการประชุม กล่าวว่า การประชุมร่วมกันนี้ถือเป็นโอกาสที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สมาคมต่าง ๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพกัญชงร่วมกัน เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม
 
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนพืชกัญชงสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ จากหน่วยงานและสมาคมต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้
 
คุณพรทิพย์ อัษฎาธร สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) นำเสนอประเด็นข้อจำกัดและประเด็นปัญหา ดังนี้
 
• อุตสาหกรรมต้นน้ำ: เพื่อให้ได้ผลผลิต (ช่อดอก เมล็ด เส้นใย) ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

ประเด็นปัญหา ได้แก่ เกษตรกรปลูกแล้วไม่มีผู้รับซื้อ ขั้นตอนการขออนุญาตยุ่งยาก และระยะเวลาของใบอนุญาตสั้น ข้อจำกัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่หลากหลาย และ CBD ยังต้องพึ่งพาต่งประเทศ องค์ความรู้ไม่เพียงพอ และเครื่องมือในการเก็บเกี่ยวยังไม่เหมาะสม ราคาซื้อขายยังไม่มีความขัดเจน และไม่มีแหล่งทุนสนับสนุนสำหรับเกษตรกร
 
• อุตสาหกรรมกลางน้ำ: สถานที่สกัดที่มีมาตรฐาน อุปกรณ์เครื่องมือ มีผลผลิตที่ชัดเจน

ประเด็นปัญหา ได้แก่ ต้องการให้มีศูนย์รับซื้อ/คนกลาง ในการคัดแยกส่วนวัตถุดิบกลุ่มเส้นใย เพื่อลดต้นทุนและเข้าถึงง่าย ควรมีการปรับปรุงสายพันธุ์เมล็ด เพราะสารสกัดที่ได้ค่อนข้างน้อย ไม่คุ้มทุนและราคาสูง รวมถึงแต่ละสายพันธุ์ให้คุณสมบัติและสารสำคัญที่แตกต่างกัน
 
• อุตสาหกรรมปลายน้ำ: กฎหมายเปิดให้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลายทาง เช่น สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง

ประเด็นปัญหา ได้แก่ แหล่งที่มาของสารสกัดที่เหมาะสม (สารสำคัญเป็นไปตามเกณฑ์ ปราศจากสารปนเปื้อน) ยังไม่มีราคากลางเชิงอุตสาหกรรม และ Target market ส่งเสริมความรู้ทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค
 
 
 
 
คุณช่อทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์ จากสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาคย่อม (ISMED) นำเสนอประเด็นการผลักดันกัญชงสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ ดังนี้ ควรส่งเสริมการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อทำให้ต้นทุนลดลง และการพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และใช้เทคโนโลยีในการเก็บเกี่ยวเพื่อลดตันทุนแรงงาน หน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษา ควรทำการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมปลายน้ำ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมปลายน้ำควรเน้นการสร้างนวัตกรรม เพราะในตลาดมีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ของค่อนข้างมากอยู่แล้ว จึงต้องมีนวัตกรรมที่ผสมผสานร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เพื่อความน่าสนใจยิ่งขึ้น รวมถึงนวัตกรรมเรื่องการ scale up ในระบบอุตสาหกรรม และจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 429 ที่กำหนดให้สารสกัด C8D ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบมีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 30% น่าจะไม่จำเป็นเพราะมีการกำหนดปริมาณ CBD ที่ต้องควบคุมในผลิตภัณฑ์สุดท้ายแล้ว สำหรับโครงสร้างราคา ทาง ISMED กำลังดำเนินการเก็บข้อมูลเรื่องราคาวัตถุดิบร่วมกับ สวพส. ประมาณ 3-4 เดือนน่าจะเห็นผล
 
 
ภญ.วารุณี เศวตประวิชกุล องค์การเภสั ชกรรม นำเสนอว่า ทางองค์การเภสัชกรรมมีการดำเนินงานครบทั้งอุตสาหกรรม ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีพื้นที่ปลูกกัญชา/กัญชงขององค์การเภสัชกรรมเอง และมีเครือข่ายผู้ปลูกกัญชา/กัญชงกระจายทั่วประเทศ 12 แห่ง ซึ่งจะนำวัตถุดิบมาสกัดเป็นสารสกัดและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้ง Health product และ Consumer product
 
 
 
ดร.ภญจิรพันธ์ ม่วงเจริญ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ระบุว่าปัญหาคือ ผู้สกัดมีความพร้อม แต่ไม่สามารถติดต่อกับผู้ปลูกได้ หากมีการประสานกันได้ การดำเนินการจะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
 
 
 
คุณมาลี หาญสุโพธิพันธ์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ต้องการทราบข้อมูลผู้ปลูก ผู้สกัด และ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการปลูก การสกัด เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิต ปัจจุบันกัญชงต้นทุนค่อนข้างแพง บางแหล่งมีองค์ความรู้ข้อมูลทางเทคนิคสนับสนุน การควบคุมคุณภาพ ไม่เพียงพอ
 
 
คุณเมธา สิมะวรา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำเสนอประเด็นว่า ควรขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยภาคเอกชน ไม่ใช่ภาครัฐ อุตสาหกรรมต้นน้ำ อยากให้กฎหมายปลดล็อกให้เอกชนซื้อช่อดอกได้ อุตสาหกรรมกลางน้ำ ควรพัฒนาเทคโนโลยีการสกัด เพราะต้นทุนยังค่อนข้างสูง และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ยังต้องนำเข้า CBD จากต่างประเทศ
 
 
 
ดร.พจนีย์ พะเนียงเวช สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) เสนอให้มีแนวทางกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนที่ชัดเจน เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง เป็นต้น รวมถึงกำหนดเรื่องสถานที่ในการรับวิเคราะห์เพิ่มเติม
 
 
 
บริษัท เอสเธติค พลัส จำกัด นำเสนอประเด็นว่าถึงแม้ว่าวัตถุดิบจะให้ CBD เท่ากัน แต่เกรดจะแตกต่างกัน เพราะมาจากระบบในการปลูกที่แตกต่างกัน มีปริมาณสารปนเปื้อนไม่เท่ากันส่งผลให้ราคาวัตฤดิบแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการในการจัดการวัตถุดิบ (มีผลต่อต้นทุน) เสนอให้มีความชัดเจนในการกำหนดราคาที่บริษัทสกัดสามารถรับซื้อ เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ปลูก
 
 
ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สรุปประเด็นในการประชุมทั้งหมดว่า ปัจจุบันมีศูนย์ประสานงานที่ติดตามความต้องการอุตสาหกรรมปลายน้ำเพื่อมาวิเคราะห์ปริมาณที่จะใช้จากอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำซึ่งดำเนินการโดยการยาสูบแห่งประเทศไทย
  •  เสนอให้ทางสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) จัดตั้ง Consultation unit (Business model development)
  • เสนอให้ทาง อย. จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในการจำแนกประเกทผลิตภัณฑ์ และแนะนำชั้นตอนการดำเนินงาน
  • เสนอให้ทางสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย (TIHTA) รวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาโครงสร้างราคาและต้นทุน
 

ติดต่อสอบถามเรื่องกัญชง 
กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 
email narcotic@fda.moph.go.th
การจัดเตรียมสถานที่ โทร. 0 2590 7756, 0 2590 7339
การยื่นขอรับใบอนุญาต โทร. 0 2590 7769
ข้อมูลสารสนเทศ โทร. 0 2590 7343
  • ข้อมูลสรุปจากอย.
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด