ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

5 ความเชื่อผิดๆ ที่คิดว่าไม่เป็นโรคหัวใจ

5 ความเชื่อผิดๆ ที่คิดว่าไม่เป็นโรคหัวใจ HealthServ.net
5 ความเชื่อผิดๆ ที่คิดว่าไม่เป็นโรคหัวใจ ThumbMobile HealthServ.net

จริงหรือไม่? ออกกำลังกายแล้ว ไม่เป็นโรคหัวใจ
จริงหรือไม่? ไขมันในเลือดก็ไม่สูง ไม่เป็นโรคหัวใจ
จริงหรือไม่? ผลตรวจคลิ่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ปกติไม่เป็นโรคหัวใจ
จริงหรือไม่? เลิกสูบบุหรี่แล้ว ห่างไกลโรคหัวใจ
จริงหรือไม่? ไม่เคยเจ็บหน้ำอก ไม่เป็นโรคหัวใจ
5 คำถามที่ควรค่ากับการหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพหัวใจของคุณ

5 ความเชื่อผิดๆ ที่คิดว่าไม่เป็นโรคหัวใจ

ตรวจสอบกันว่าจริงหรือไม่

1. จริงหรือไม่ ? ออกกำลังกายแล้ว ไม่เป็นโรคหัวใจ...

ไขข้อเท็จจริง
การออกกำลังกาย จะช่วยลดการเกิดโคหัวใจ ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เลือดสูบฉีดได้ดี แต่ไม่ได้ปลอดภัยจากการเป็นโรคหัวใจ ยังมีผู้ป่วยกหลายคนเสียชีวิตในขณะออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนัก ในผู้ป่วยที่เคยป็นโรคหัวใจมาก่อน โอกาสในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ขณะออกกำลังกาย ก็เป็นไปได้สูง
 
คำแนะนำ
ยิ่งออกกำลังกายหนัก ออกกำลังกายบ่อยๆ ยิ่งต้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการเดินบนสายพาน (EST) เพื่อหโรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

2. จริงหรือไม่ ? ไขมันในเลือดก็ไม่สูง ไม่เป็นโรคหัวใจ...

ไขข้อเท็จจริง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่จำเป็นจะต้องไขมันในเลือดสูงทุกราย โรคหลอดเลือดหัวใจนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ เช่น ผนังหลอดเลือดหัวใจหด ตีบ ตัน แคลเซี่ยม หรือหินปูนในหลอดเลือด รวมทั้งไขมันในเลือดสูง แต่การที่มีไขมันในหลอดเลือดสูง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้สูงกว่าคนทั่วไปเท่านั้นเอง
 
คำแนะนำ
แม่ในตอนนี้รายังแข็งแรงดี ไขมันก็ไม่สูงเกินมาตรฐาน แต่ทาที่ดีแนะนำให้มาพบแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อควบคุมไม่ให้ไขมันในเลือดสูงไปกว่นี้ หรือท่านใดที่มีระดับไขมันปกติ แต่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการเดินบนสายพาน (EST) 1 ครั้ง ทุก 1 - 2 ปี เพื่อค้นหาอาการของโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้น

 

3 จริงหรือไม่ ? ผลตรวจคลิ่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ปกติไม่เป็นโรคหัวใจ

ไขข้อเท็จจริง
การตรวจดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นกาตรวจดูคลื่นไฟฟ้หัวใจขณะปกติ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ? ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว การงตรวจ EKG จะพบว่าปกติถึงร้อยละ 70 ทั้งๆ ที่เขาเหล่นั้นป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
 
คำแนะนำ
EKG นั้นตรวจขณะที่ร่งกายพักอาจมีข้อผิดพลาดในการค้นหาโรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ การตรวจเช็คว่าหัวใจของเราขาตเลือดหรือไม่ ควรตรวจในขณะที่หัวใจได้ออกแรง หรือตอนที่ออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้หัวใจได้ทำงานหนัก นั่นคือการตรวจด้วยการเดินบนสายพาน (EST)
 

4. จริงหรือไม่ ? เลิกสูบบุหรี่แล้ว ห่างไกลโรคหัวใจ

ไขข้อเท็จจริง
กลุ่มผู้สูบหรี่จะมีโอกาส หรือความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหังใจขาดเลือด มากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 2.4 เท่า โดยเฉพาะย่างยิ่งในผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หรือมีไขมันในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือตถึง 15 เท่า แต่หากผู้สูบบุหรี่นั้นเป็นทั้งความดันเลือดสูง และไขมันในเอด จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 8 เท่าของคนทั่วไป
 
คำแนะนำ
การเลิกสูบบุหรี่ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ การเลิกบุหรี่ลดอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ร้อยละ 50 ในปีแรก แต่อัตราเสี่ยงจะลดลงเท่าคนปกติ เมื่อหยุดบุหรี่แล้ว 15 ปื ดังนั้นผู้ที่สูบบุหรี่ หรือคยสูบมาก่อน ควรได้รัการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินบนสายพาน (EST) เป็นประจำทุกปื
 

5. จริงหรือไม่ ? ไม่เคยเจ็บหน้ำอก ไม่เป็นโรคหัวใจ

ไขข้อเท็จจริง
อาการเจ็บหน้าอก เป็นอการชี้บ่งว่ากล้ามเนื้อหัวใจนั้นขาดเลือด สำหรับคนที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบแต่กล้ามเนื้อหัวใจยังไม่ขาดเลือด ก็อาจจะยังไม่มีอาการให้เห็น ฉะนั้นแล้ว อย่ารอให้มีอคาร เพราะหากมีอการหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเมื่อไหร่ ก็จะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้มีอคาสเสียชีวิตจากโคนี้ได้สูง เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน แม้กล้ามเนื้อหัวใจอาจมีเลือดมาเลี้ยงไม่พอ ก็อาจไม่มีอคารเพราะเส้นประสาทเสื่อมจนไม่มีอาการออกมาให้เห็น
 
คำแนะนำ
อย่ารอให้มีอคารเจ็บหน้าอก หรือความผิดปกติ ควรมาพบแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจเช็ค สุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจสมรถภพหัวใดวยการเดินบนสายพาน (EST) โดยเฉพาะ ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป และผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
ขอบคุณ ข้อมูลจากรพ.ล้านนา 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด