ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ

ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ HealthServ.net
ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ ThumbMobile HealthServ.net

ภาวะ MIS-C คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป


MIS-C ย่อมาจาก Multisystem Inflammatory Syndrome in Children
 
ภาวะ Long COVID อ้างอิงจากนิยามองค์การอนามัยโลก ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ระบุว่า เป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับติดเชื้อโควิดนานกว่า 4-12 สัปดาห์และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถ อธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ในเด็กพบภาวะนี้เพียงร้อยละ 25-45 ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็นๆหายๆได้ การรักษาโรคนี้มักเป็นการแยกโรคที่รุนแรงอื่นและรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
 

 
 
ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ HealthServ
 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียงสมมติฐาน ที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนของเชื้อซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้วแต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ ยังไม่แน่ชัดมีข้อสังเกตที่พบในหลายๆ การศึกษา อาทิ เพศหญิง อายุมาก ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรก ของการเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรกเป็นต้น
 
ความชุกของอาการผิดปกติต่างๆ ในภาวะ Long COVID จากผลการศึกษาในต่างประเทศพบหลากหลายตั้งแต่ร้อยละ 14-64 เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนของนิยาม ขาดองค์ความรู้ด้านพยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยง และ การวินิจฉัย รวมทั้งวิธีการประเมินอาการผิดปกติที่แตกต่างกัน
 
จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ของกรมการแพทย์ ผ่านทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นข้อมูลในผู้ใหญ่ พบว่าอาการ long covid ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก ได้แก่  อ่อนเพลีย หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย ไอ  นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ผมร่วง เวียนศีรษะ วิตกกังวล/ เครียด ความจำสั้น เจ็บหน้าอก
 

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า กลุ่มอาการนี้เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด เด็กมักจะมาด้วยอาการไข้สูง ผื่น ปากแดง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาเจียน ถ่ายเหลว บางรายมีหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ และมีภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อค ภาวะนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะนี้จำนวน 15 คน ซึ่งยังไม่พบผู้เสียชีวิต แต่ยังต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องโดยพบว่าร้อยละ 7-14 ยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังมีโครงการตรวจติดตามผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นระยะๆ จากการติดตามในทุกระบบของร่างกายยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและสถาบันฯ ยังคงติดตามดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง
 

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ MIS-C by Dr.Mai LINK

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ MIS-C by Dr.Mai ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ MIS-C by Dr.Mai ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
(Multisystem inflammatory syndrome in children) หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราควรป้องกันการติดเชื้อโควิดในเด็กๆให้ดีค่ะ เพราะค่อนข้างจะมีอันตรายร้ายแรงได้

1. เป็นภาวะหลังจากที่เด็กติดโควิดแล้วมีเกิดอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ

2. มักเกิดขึ้น 2-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19

3. MIS-C ก่อให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย อาการของโรค MIS-C ได้แก่ มีไข้สูง เกิน 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมง, ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ทำให้มีอาการช็อค ความดันต่ำ หัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ เส้นเลือดหัวใจผิดปกติ, ระบบทางเดินหายใจ : ปอดอักเสบ กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ลิ่มเลือดอุดตันในปอด, ระบบทางเดินอาหาร : ท้องเสีย ท้องอืด อาเจียน ปวดท้อง เลือดออกทางเดินอาหาร หรือตับอักเสบ, ผิวหนัง : ผิวหนังแดง เยื่อบุอักเสบ เป็นผื่น, ระบบประสาท : มีอาการชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ระบบเลือด : เกิดการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ, ทางเดินปัสสาวะ : ไตวายฉับพลัน

4. การดูแลรักษาผู้ป่วย MIS-C  ประกอบด้วยการรักษาแบบประคับประคองหรือตามระบบที่มีการอักเสบ เช่น การให้น้ำเกลือ ยากระตุ้นความดันโลหิต การช่วยหายใจ ส่วนยาต้านการอักเสบที่ใช้คือการให้อิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ (IVIG) ยาสเตียรอยด์ รวมถึงยาแอสไพริน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจ

5. เนื่องจากภาวะนี้เกิดหลังจากการติดเชื้อโควิด การป้องกันโรค COVID-19 จึงเป็นแนวทางป้องกัน MIS-C ได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง และฉีดวัคซีน

***ผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อโควิดแล้ว มีอาการที่เข้าได้กับโรคนี้ ควรไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ 


ข้อมูลจากเพจ คุยกับหมอภูมิแพ้เด็ก by Dr.Mai 3 กุมภาพันธ์ 65

MIS-C (รพ.วิภาราม) LINK

MIS-C (รพ.วิภาราม) ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
MIS-C (รพ.วิภาราม) ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
MIS-C หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็กหลังจากเด็กติดเชื้อ COVID-19
  • เป็นภาวะหลังจากที่เด็กติดโควิดแล้วมีเกิดอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ
  • จากรายงานมีโอกาสเกิดภาวะ MIS-C เพียง 0.03 -0.04% ของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโควิด แต่เป็นภาวะที่มีความรุนแรง มักเกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อประมาณ 2-6 สัปดาห์ อายุเฉลี่ยของเด็กที่พบคือ 9.7 ปี
ข้อมูลจาก รพ.วิภาราม

ระวังโรคมิสซี(MIS-C) ‼️ แม้เด็กหายป่วยจากโควิด ยังมีอันตรายถึงชีวิต - โรงพยาบาลนครพิงค์ LINK

ระวังโรคมิสซี(MIS-C) ‼️ แม้เด็กหายป่วยจากโควิด ยังมีอันตรายถึงชีวิต - โรงพยาบาลนครพิงค์ ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
ระวังโรคมิสซี(MIS-C) ‼️ แม้เด็กหายป่วยจากโควิด ยังมีอันตรายถึงชีวิต - โรงพยาบาลนครพิงค์ ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
MIS-N (Multisystem Inflammatory Syndrome in Neonate)  และ
MIS-C (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) 
หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในทารกแรกเกิดและในเด็ก 
 
เป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่เกิดตามหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการอักเสบของระบบอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงนี้ จะเกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อโควิดหรือทารกที่เกิดจากมารดาที่เคยติดเชื้อโควิดมาแล้ว 2-6 สัปดาห์ ตามสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบ MIS-C ได้ประมาณ 316 คน ใน 1ล้านคน (0.0316%) โดยอายุเฉลี่ยประมาณ 9 ปี 
 
ภาวะดังกล่าวถูกรายงานเป็นครั้งแรกปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 จากสหราชอาณาจักร และอีกหลายๆประเทศตามมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย จากข้อมูลล่าสุดจากชมรมโรคหัวใจเด็กแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ป่วย MIS-C จำนวน 109 ราย และ MIS-N จำนวน 11 ราย ในขณะที่มีผู้ป่วยคนไข้เด็กที่ติดเชื้อโควิดประมาณ 332,918 ราย คิดเป็น 360.5 คน ใน 1 ล้านคน (0.036%) 
 
ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่พบผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัย MIS-N 3 ราย และ MIS-C อย่างน้อย 6 ราย โดยทั้งหมดไม่มีโรคประจำตัวใดมาก่อน มาด้วยอาการช็อค หายใจเหนื่อย อาจมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ปวดท้อง ถ่ายเหลว และตรวจพบการบีบตัวของหัวใจแย่ลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ บางรายมีหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองร่วมด้วย ซึ่งทุกรายต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก (NICU หรือ PICU) ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล 10 วันถึง 1 เดือน และมี 1 รายที่เสียชีวิต 
อาการของเด็กที่สงสัย MIS-C คือ มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมง ร่วมกับ อาการอย่างน้อย 2 ระบบ เช่น 
 
  • ผื่น มือเท้าบวมแดง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต 
  • ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว 
  • หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำหรือช็อก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 
  • อาการทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ ลิ่มเลือดในปอด 
  • ซึม ความรู้สึกตัวน้อยลง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือมีอาการทางหลอดเลือดสมอง 
  • ภาวะเลือดออกง่ายจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ 
  • อาการไตวายเฉียบพลัน 
การรักษา คือการให้ยา intravenous immunoglobulin (IVIG)​ และ/หรือยาลดการอักเสบของร่างกาย 
 

วิธีการป้องกันโรค MIS-C และ MIS-N ได้ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เด็กและหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด-19 ซึ่งได้แก่ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน หากจำเป็นต้องอยู่ในที่ชุมชนก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T อย่างเคร่งครัดและรับวัคซีนป้องกันโควิดในเด็กที่อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ 
 

ถึงแม้ตอนนี้การระบาดในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสายพันธุ์โอมิครอนที่มีอาการไม่รุนแรงในช่วงที่มีการติดเชื้อในช่วงแรก แต่ในเด็กทำให้มีภาวะ MIS- C (มิสซี) หลังจากที่หายจากโรคโควิดแล้วได้  จากข้อมูลจากโรงพยาบาลเด็ก70แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกามีการศึกษาว่าเด็กอายุ 12-18 ปีที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA สามารถป้องกันการเกิด MIS-C ได้เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับถึง 90% และจากข้อมูลจากกรมควบคุมโรคของไทยพบว่าช่วงอายุ 12-17 ปีมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 พบ 260 คนในหนึ่งล้านคน แต่ผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด พบเพียง 0.18 คนในหนึ่งล้านคน 

จึงขอเชิญชวนให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานของท่านมารับการฉีดวัคซีน ในกลุ่มเด็กอายุ 5-11ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 

โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มก่อน ดังนี้ 
  1. โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบความสูง (weight for height) มากกว่า + 3SD) 
  2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 
  3. โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 
  4. โรคไตวายเรื้อรัง 
  5. โรคมะเร็งและภูมิคุ้มกันต่ำ 
  6. โรคเบาหวาน 
  7. กลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง และเด็กที่มีพัฒนาการช้า 
     
เปิดให้บริการเฉพาะที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ระหว่าง 7-28 กุมภาพันธ์ 2565 ( หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด) เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ 
จำกัดจำนวน 100 คนต่อวัน 
วัคซีนไฟเซอร์(ฝาสีส้ม) 
ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย 
 
บทความโดย :
พญ.นันทวัน สุอังคะ
นพ.ชัชวาลย์ เชวงชุติรัตน์
กุมารแพทย์ สาขาโรคหัวใจ
โรงพยาบาลนครพิงค์
 
Reference: 
  1. CDC COVID-19 Response Team. Coronavirus disease 2019 in children—United States, February 12–April 2, 2020. Morb. Mortal. Wkly. Rep. 2020, 69, 422–426. [CrossRef] [PubMed] 
  2. Parri, N.; Lenge, M.; Buonsenso, D. Children with Covid-19 in Pediatric Emergency Departments in Italy. N. Engl. J. Med. 2020. [CrossRef] [PubMed] 
  3. Riphagen, S.; Gomez, X.; Gonzalez-Martinez, C.; Wilkinson, N.; Theocharis, P. Hyperinflammatory shock in children during COVID-19 pandemic. Lancet 2020. [CrossRef] 
  4. Verdoni, L.; Mazza, A.; Gervasoni, A.; Martelli, L.; Ruggeri, M.; Ciuffreda, M.; Bonanomi, E.; D’Antiga, L. An outbreak of severe Kawasaki-like disease at the Italian epicentre of the SARS-CoV-2 epidemic: An observational cohort study. Lancet 2020. [CrossRef] 
  5. CDC Health Alert Network. Mulitsystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) Associated with Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Available online: https://emergency.cdc.gov/han/2020/han00432.asp (accessed on 23 May 2020).
  6. Zambrano LD, Newhams MM, Olson SM, et al. Effectiveness of BNT162b2(Pfizer-BioNTech) mRNA Vaccination Against Multisystem Inflammatory Syndrome in Children Among Persons Aged 12-18 Years –United States, July-December 2021. MMWR Morb Mortal Wkly Rep2022:71:52-58.

สหรัฐฯ เฝ้าระวังภาวะมิสซี (MIS-C) ลุกลามในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด - TNN Health LINK

สหรัฐฯ เฝ้าระวังภาวะมิสซี (MIS-C) ลุกลามในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด - TNN Health ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
สหรัฐฯ เฝ้าระวังภาวะมิสซี (MIS-C) ลุกลามในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด - TNN Health ข้อมูลควรรู้ ภาวะ MIS-C และ Long COVID ในเด็ก - กรมการแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐ ประเมินยอดผู้ป่วยโควิดกำลังลดจำนวนลงเรื่อยๆ หลังเชื้อโอมิครอนระบาดอย่างทั่วประเทศในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งในการระบาดรอบล่าสุดนี้ พบว่าเชื้อโอมิครอน ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เป็นเด็กติดเชื้อโควิด มากขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ โรงพยาบาลหลายแห่งมีผู้ป่วยเด็กล้นเตียง
 
แม้ตอนนี้สถานการณ์จะดีขึ้นกว่าเดิมแล้ว แต่สหรัฐฯ กำลังพบกับความท้าทายใหม่ เนื่องจากมีรายงานเด็กที่หายป่วยจากโควิด กลับต้องเผชิญกับภาวะ MIS-C กลุ่มอาการอักเสบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังติดเชื้อ
 
ทำความรู้จักกับภาวะ MIS-C
 
MIS-C หรือ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 
 
อาการที่พบส่วนใหญ่ คือมีไข้ ผื่น ตาแดง มือเท้าบวมแดง ปากแห้งแตก อาจพบภาวะปิดอักเสบ ปวดท้องถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน และหายใจเหนื่อยหอบเร็วร่วมด้วย
 
ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรชะล่าใจ เมื่อเห็นลูกน้อยมีอาการผิดปกติเหล่านี้ หลังหายป่วยจากโควิดแล้ว ก็ควรรีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล เพราะ ภาวะ MIS-C อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ อาทิ ตับ สมอง ปอด และหัวใจ
 
สำหรับที่อเมริกา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือ CDC พบ จำนวนเด็กป่วยด้วยภาวะ MIS-C เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่จำนวนยอดที่อัพเดตรายเดือนล่าสุดเมื่อ 31 มกราคมที่ผ่านมา พบเด็กที่มีภาวะ MIS-C แล้วอย่างน้อย  6,800 คนจากยอดเด็กที่ติดเชื้อโควิดระลอกล่าสุด 4.5 ล้านคน
 
ปกติแล้วภาวะ MIS-C ไม่ได้ทำให้เด็กมีอาการป่วยรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต แต่เมื่อสัปดาห์ก่อน หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐวิสคอนซิส รานงานการเสียชีวิตของเด็กอายุ 10 ขวบรายหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นหลังป่วยด้วยภาวะMIS-C ได้ประมาณ 1 เดือน
 
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายกกำลังมุ่งประเด็นการศึกษาของความแตกต่างระหว่างเคสเด็กที่ติดโควิดแล้วพบ MIS-C ในขณะที่เด็กบางส่วนไม่พบ โดยปัจจุบันพบว่า เด็กที่มีอายุมากมีความเสี่ยงน้อยกว่า เนื่องจากเป็นกลุ่มเด็กที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว
 
สอดคล้องกับงานวิจัยจาก CDC ที่เผยแพร่ไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่า วัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์ไบออนเทค มีความสามารถลดความอาการป่วยที่คล้ายกับ MIS-C ได้อย่างน้อย 91% สำหรับเด็กอายุ 12-18 ปี โดยการศึกษานี้ จัดขึ้นในช่วงที่โควิด สายพันธุ์เดลตา ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักในอเมริกา แต่สำหรับการระบาดที่มีเชื้อโอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักรอบที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญยังคงสับสนในข้อมูล เนื่องจากจำนวนเคส MIS-C ยังแตกต่างกันมากในแต่ละพื้นที่ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด