ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผลสำรวจความเห็นคนไทย ต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) ปี 2565

ผลสำรวจความเห็นคนไทย ต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) ปี 2565 HealthServ.net
ผลสำรวจความเห็นคนไทย ต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) ปี 2565 ThumbMobile HealthServ.net

ดำเนินการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) โดย สสช. ได้สัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 6,970 คน ระหว่างวันที่ 5-18 มกราคม 2565

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) [สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)] เสนอ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 มิถุนายน 2545) ที่ให้ สสช. จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาล แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] โดย สสช. ได้สัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 6,970 คน ระหว่างวันที่ 5-18 มกราคม 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้


การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565


1. ความกังวลต่อสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ประชาชน ร้อยละ 97.7 มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ร้อยละ 2.3 ไม่มีความกังวล
 

2. การปฏิบัติตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่

(1) กรณีเมื่ออยู่กับคนในบ้าน ประชาชนร้อยละ 90 ปฏิบัติตัวตามมาตรการของภาครัฐเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ติดตามข่าวสารและข้อปฏิบัติจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะ เฝ้าระวังเป็นพิเศษกับสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและสังเกตอาการผิดปกติของสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังไม่สามารถปฏิบัติตัวตามมาตรการของภาครัฐได้อย่างเต็มที่ เช่น การสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา (ร้อยละ 62.8) การแยกกันรับประทานอาหาร/แยกห้องอยู่อาศัย (ร้อยละ 58) และ

(2) กรณีเมื่อออกนอกบ้าน ประชาชนร้อยละ 90 ปฏิบัติตามมาตรการภาครัฐ โดยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่หรือ เจลแอลกอฮอล์ ตรวจวัดไข้ก่อนเข้าไปยังสถานที่ เดินทางโดยรถส่วนตัว และงดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น


3. การปรับเปลี่ยนการใช้วิถีชีวิตเป็นแบบ New Normal Life

ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดย 3 อันดับแรก ได้แก่
(1) จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนออกจากบ้าน เช่น หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 90.4)
(2) หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ (ร้อยละ 64.1) และ
(3) ออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็น เช่น ลดการไปห้างสรรพสินค้าและตลาดนัด (ร้อยละ 60.5) โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเริ่มมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน และผู้ที่มีอายุ 18-49 ปี มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากกว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย


4. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชัน

ประชาชนใช้แอปพลิเคชันเกี่ยวกับติดต่อการสื่อสารและการรับข้อมูลมากที่สุด (ร้อยละ 81.5) เช่น ไลน์ วอตส์แอปป์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ อินสตาแกรม รองลงมาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับทางการเงิน (ร้อยละ 70.7) เช่น เป๋าตัง ถุงเงิน และกรุงไทยเน็ก และแอปพลิเคชันเกี่ยวกับความบันเทิง (ร้อยละ 69.7) เช่น เน็ตฟลิกซ์ ยูทูบ และติ๊กต็อก โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใช้มากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า และผู้ที่มีอายุ 18-49 ปี ใช้มากกว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย


5. ความสุขของประชาชนในภาพรวม

ประชาชนมีความสุขในภาพรวมในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 53.1 มีความสุขระดับปานกลาง ร้อยละ 37.3 มีความสุขในระดับน้อย-น้อยที่สุด ร้อยละ 8.9 และไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 0.7 โดยภาคใต้และภาคใต้ชายแดนมีความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุดสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 68.5)


6. แผนการปรับตัวรับมือหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความรุนแรงอีกครั้ง

ประชาชนมีแผนการปรับตัวรับมือ ได้แก่ (1) ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ออกจากบ้านทุกครั้งต้องใส่หน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านหากไม่จำเป็น (ร้อยละ 87.3) (2) ประหยัดและใช้จ่ายน้อยลง (ร้อยละ 82.2) และ (3) แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยนำเงินออมออกมาใช้จ่าย (ร้อยละ 25.7)


7. นโยบายการให้ประชาชนแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนป้องกันโรค
โควิด-19 หรือผลการตรวจโควิด-19 เพื่อเข้าสถานที่ต่าง ๆ ประชาชนเห็นด้วย ร้อยละ 85.1 และไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14.9 (เนื่องจากเห็นว่า นโยบายดังกล่าวมีความยุ่งยาก ทำให้เสียเวลารวมถึงชุดตรวจ ATK มีราคาแพง และเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล) ทั้งนี้ มีประชาชนที่เคยถูกขอให้แสดงหลักฐานฯ (ร้อยละ 32.4) ณ สถานที่ราชการ (ร้อยละ 13.5) โรงพยาบาล (ร้อยละ 12.3) และสถานที่ทำงาน (ร้อยละ 9.8) ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยถูกขอให้แสดงหลักฐานฯ (ร้อยละ 67.6)
 

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ สสช.


1. ควรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลากหลายช่องทางและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในครอบครัวและเมื่อออกนอกบ้าน
 
2) ควรมีการส่งเสริม ป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยรัฐต้องสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์/ชุดตรวจโควิด-19 (เช่น ATK และหน้ากากอนามัย) ได้ในราคาย่อมเยา หรือตรวจ ATK ให้ฟรีสำหรับการเข้าสถานที่ราชการต่าง ๆ และควรมีมาตรการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ที่ไม่ต้องการฉีดวัคซีนหันมาฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วกลับมาฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่มากที่สุด

3) ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน การให้ความช่วยเหลือประชาชนผ่านมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้แอปพลิเคชัน

4) ควรมีการส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงได้ง่าย โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด

5) ควรมีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือเยียวยาอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านมาตรการหรือโครงการต่างๆ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด