ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ.net

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ เป็น“ศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค” แหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกัน มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) พื้นที่แห่งนวัตกรรม และคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลก ในปี 2580

โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ThumbMobile HealthServ.net
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ
โครงการศูนย์ธุรกิจ อีอีซี และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาคมาตรฐานเทียบเท่าสากลในพื้นที่อีอีซี  แหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกัน มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) พื้นที่แห่งนวัตกรรม และคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทย และให้เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 เมืองของโลกในปี 2580 เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะต้นแบบสำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ทั่วประเทศไทย  
 
      เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ดำเนินการตาม พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 มาตรา 36 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) 
 
      โครงการมีที่ตั้ง ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พื้นที่โครงการ 14,619 ไร่ โดยจะพัฒนาระยะแรกประมาณ 5,000 ไร่ โครงการมีที่ตั้งห่างจากท่าอากาศยานอู่ตะเภา 15 กม. และห่างจากกรุงเทพฯ 160 กม. 
 
      มูลค่าการลงทุน: ประมาณ 1.34 ล้านล้านบาท
  • สัดส่วนการลงทุน : ภาครัฐ ร้อยละ 2.8
  • ภาครัฐร่วมเอกชน (PPP) ร้อยละ 9.7 
  • ภาคเอกชน ร้อยละ 87.5
 
กลุ่มธุรกิจเป้าหมาย :
1) ศูนย์สํานักงานใหญ่ภูมิภาค และศูนย์ราชการ
2) ศูนย์กลางการเงิน
3) ศูนย์การแพทย์แม่นยํา
4) ศูนย์การศึกษา วิจัย-พัฒนา นานาชาติ
5) ศูนย์ธุรกิจอนาคต เช่น พลังงานสะอาด ดิจิทัล โลจิสติกส์ วิทย์กีฬา
 
รวมทั้งที่อยู่อาศัยชั้นดีสําหรับคนทุกกลุ่มรายได้
(สําหรับรายได้เริ่มต้น-ปานกลาง ร้อยละ 70 รายได้สูง ร้อยละ 30)

สัดส่วนการใช้ที่ดิน : พื้นที่เชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัย ร้อยละ 70 พื้นที่สีเขียว ร้อยละ 30
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ

กำหนดกรอบระยะเวลาการพัฒนา 10 ปี ระหว่างปี 2565-2575 

 
ระยะที่ 1 พ.ศ. 2566-2570
2565-2567 จัดเตรียมพื้นที่โครงการฯ ออกแบบรายละเอียด และวางแผนการพัฒนา
2567 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 
2568 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ + ควบคู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยสําหรับคนทุกกลุ่ม 
2569-2570 เปิดใช้ สนามบินอู่ตะเภา  และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
 
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2571-2572
ส่วนขยายคลัสเตอร์ธุรกิจ และที่อยู่อาศัย
 
ระยะที่ 3 พ.ศ. 2573-2575
ส่วนต่อขยายพื้นที่เชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย
 
 

การร่วมลงทุน รัฐ-เอกชน พัฒนาด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค

 
ระบบไฟฟ้า และพลังงาน
  • ระบบพลังงานหมุนเวียน
  • สายส่งไฟฟ้า
  • ระบบพลังงานความเย็น
  • ศูนย์พลังงานกลาง
  • จุดชาร์จรถพลังงานไฟฟ้า
 
ระบบบริหารจัดการนํ้า
  • ระบบประปา และท่อนํ้า
  • ระบบระบายนํ้า
 
ระบบจัดการของเสีย
  • การบริหารจัดการและบําบัดนํ้าเสีย
  • การนํานํ้ากลับมาใช้ใหม่
  • การจัดการขยะมูลฝอยและนํากลับมาใช้ใหม่
  • การแปลงขยะเป็นพลังงาน
 
ระบบคมนาคมขนส่ง
  • ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ระบบราง ระบบรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
 
ระบบดิจิทัล
  • โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
  • เครือข่าย 5G
  • แพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะ
  • นวัตกรรมบริการอัจฉริยะอื่นๆ
 
ระบบอุโมงค์สาธารณูปโภค
  • ระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน
 
 

โซนตามธุรกิจเป้าหมายเป็น 5 โซน + โซนที่อยู่อาศัย


ตามแผนแม่บทพัฒนาโครงการ จะแบ่งโซนตามธุรกิจเป้าหมายเป็น 5 โซน ประกอบด้วย 
1) ศูนย์กลางการเงิน ประกอบด้วยธุรกิจการเงินและตลาดทุน สนับสนุนการลงทุน Fintech และ Green Bond  
2) สำนักงานภูมิภาค RHQ/ศูนย์ราชการ เช่น สำนักงานภูมิภาคของธุรกิจไทย ที่มีธุรกิจในอีอีซีและสถานที่ราชการที่สำคัญ 
3) การแพทย์แม่นยำ/การแพทย์เพื่อนาคต เพื่อเป็นที่ตั้งของธุรกิจที่เป็นการร่วมทุนกับโรงพยาบาลชั้นนำของโลก ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย 
4) การศึกษา วิจัย และพัฒนาเป็นพื้นที่สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสนับสนุนธุรกิจเฉพาะด้านการวิจัยพัฒนาเพื่อธุรกิจเฉพาะด้าน 
5) ธุรกิจเฉพาะด้าน เช่น พลังงานสะอาด ธุรกิจ Digitizationและ5G กลุ่มโลจิสติกส์และวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น

ที่อยู่อาศัยชั้นดีสําหรับคนทุกกลุ่มรายได้
  • สําหรับกลุ่มรายได้เริ่มต้น-ปานกลาง ร้อยละ 70
  • สําหรับกลุ่มรายได้สูง ร้อยละ30
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ HealthServ
 

องค์ประกอบการเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 7 ด้าน 
 

เป็นการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ
 
1.สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ
 
2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) จะเป็นเมืองที่มุ่งเน้นความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง เน้นใช้งานยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ รถรางไฟฟ้าสาธารณะ
 
3.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม
 
4.พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) จะมุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต
 
5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาด เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
 
 
6.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจ
 
7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน
 
 
 

เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa)

 
เมืองใหม่อีกแห่งใน EEC คือ เมืองการบินภาคตะวันออก อยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 6,500 ไร่ ใน ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยเมืองการบินภาคตะวันออก มี 6 กิจกรรมสำคัญคือ
 
1. การสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ของสนามบินอู่ตะเภา
2.ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน
3. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน
4. เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
5.ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์
6. ศูนย์ฝึกอบรมการบิน
 
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีงบลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบาท รัฐบาลให้งบสนับสนุน 17,768 ล้านบาท ที่เหลืออีก 272,232 ล้านบาท ทางภาคเอกชนคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุน มีอายุสัมปทาน 50 ปี เริ่มตั้งแต่ มิ.ย.2563
 

เมืองการบินภาคตะวันออก ประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

 
เมื่อ 6 กิจกรรมสำคัญของเมืองการบินภาคตะวันออกแล้วเสร็จ จะเป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี รวมทั้งจะทำให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมระบบการจัดส่งสินค้า และอุตสาหกรรมการบิน (Logistics & Aviation) ที่สำคัญยังจะเป็นมหานครการบินภาคตะวันออก ที่ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมืองประมาณ 30 กิโลเมตรโดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศ และเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออก ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย
 
ครม.อนุมัติสิทธิประโยชน์เมืองการบินภาคตะวันออก ผลักดันเป็นเขตการค้าเสรี
 
ครม. มีมติเมื่อ 9 สิงหาคม 2565 เห็นชอบมาตรการสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เมืองการบินภาคตะวันออก และกำหนดให้พื้นที่เมืองการบินภาคตะวันออก (Airport City) 1,032 ไร่ (ภายในพื้นที่6,500ไร่) เป็นเขตประกอบการค้าเสรี เสมือนพื้นที่นอกประเทศ ซึ่งไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมายหลายประการ พร้อมจัดให้มีกิจกรรมและสันทนาการรองรับการใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมงได้ เช่น โรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นไป ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ร้านอาหารระดับ Michelin Star งานแสดงสินค้าพื้นที่จัดการประชุม บริการความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ
 
ส่วนมาตรการสิทธิประโยชน์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ
 
- กลุ่มผู้ประกอบกิจการในพื้นที่เมืองการบิน มีรูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ เช่น ดำเนินกิจกรรมสันทนาการตลอด 24 ชั่วโมง จำหน่ายแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดไม่เกิน 15 ปี
 
- กลุ่มคนทำงาน รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การผ่อนปรนข้อจำกัดด้านกฎหมายแรงงาน ให้คนต่างด้าวสามารถทำงานบางประเภทได้
 
- กลุ่มคนเดินทางและนักท่องเที่ยว รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ เช่น การยกเว้นภาษีอากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคในพื้นที่เมืองการบินในช่วง 10 ปีแรก
 
 


ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาโครงการ

 
     สกพอ. ประเมินว่าโครงการนี้จะสร้างงาน 200,000 ตำแหน่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,340,468 ล้านบาท  โดยเป็นสัดส่วนการลงทุนของรัฐ 2.8% หรือ 37,674 ล้านบาท เป็นส่วนของค่าที่ดิน ปรับพื้นที่เมืองโครงสร้างพื้นฐานในเมือง นอกเมือง ส่วนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 9.7% หรือประมาณ 131,119 ล้านบาท เป็นค่าสาธารณูปโภคในระบบขนส่งธารณะ ระบบดิจิทัล และเอกชนลงทุน 87.5% หรือประมาณ 1,180,808 ล้านบาท สำหรับพื้นที่พาณิชย์  


 

ความคืบหน้าจากครม.

 
22 มี.ค. 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จำนวน 14,619 ไร่  ในท้องที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ


20 ธันวาคม 2565  ครม.รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ กรอบวงเงินลงทุน 1.35 ล้านล้านบาท
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด