ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

"ฟาร์มิ่ง" ประกาศผลสำเร็จจากการทดลองยา "เลนิโอลิซิบ" ระยะที่ 2/3 ในการประชุมสมาคมภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก ประจำปี 2565

"ฟาร์มิ่ง" ประกาศผลสำเร็จจากการทดลองยา "เลนิโอลิซิบ" ระยะที่ 2/3 ในการประชุมสมาคมภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก ประจำปี 2565 HealthServ.net
"ฟาร์มิ่ง" ประกาศผลสำเร็จจากการทดลองยา "เลนิโอลิซิบ" ระยะที่ 2/3 ในการประชุมสมาคมภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก ประจำปี 2565 ThumbMobile HealthServ.net

ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น วี (Pharming Group N.V จากนี้จะเรียกว่า "ฟาร์มิ่ง" หรือ "บริษัท") (EURONEXT Amsterdam: PHARM/Nasdaq: PHAR) ประกาศข้อมูลใหม่จากการทดลองใช้เลนิโอลิซิบ (leniolisib) ระยะที่ 2/3 ที่สำคัญในการรักษาโรค APDS หรือแอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา (activated phosphoinositide 3-kinase delta (PI3Kδ)) ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องขั้นต้น โดยนายแพทย์ วี. โคเนติ ราโอ (V. Koneti Rao, MD) นักวิจัยหลักและแพทย์ประจำคลินิกภูมิคุ้มกันบกพร่องเบื้องต้นที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติในเมืองเบเทสดา รัฐแมริแลนด์ เผยผลการวิจัยในการนำเสนอที่การประชุมสมาคมภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก (CIS) ประจำปี 2565

"ฟาร์มิ่ง" ประกาศผลสำเร็จจากการทดลองยา "เลนิโอลิซิบ" ระยะที่ 2/3 ในการประชุมสมาคมภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก ประจำปี 2565 HealthServ
 
ไลเดิน, เนเธอร์แลนด์--4 เม.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
 
 
 
ตามที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แบบนานาชาติ ควบคุมด้วยยาหลอกแบบอำพรางสามฝ่าย (Triple-blind กล่าวคือ ทั้งผู้รับการทดลอง แพทย์ และผู้ประเมินผลต่างก็ไม่ทราบว่าผู้รับการทดลองรายใดได้ยาจริงหรือยาหลอก) ดำเนินการโดยบริษัทโนวาร์ทิส (Novartis) ได้บรรลุผลลัพธ์หลักร่วม ซึ่งประเมินการลดขนาดต่อมน้ำเหลืองและการปรับแก้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งนี้ การหดตัวของรอยโรคปุ่มน้ำเหลืองและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของเซลล์ B ที่ไม่เคยผ่านการรักษามาก่อน (Naïve B Cells) มีความสำคัญในประชากรกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ว่าสารส่อโรค APDS ลดลง ผลการทดลองดังกล่าวนำเสนอเป็นครั้งแรกที่ CIS โดยผลลัพธ์หลักร่วมในวันที่ 85 หลังเส้นฐาน แสดงผลดังต่อไปนี้
 
ในรอยโรคปุ่มน้ำเหลืองที่เป็นตัววัด มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยที่ปรับแล้วใน log10 ของผลรวมของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Sum of Product of Diameters หรือ SPD) ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ -0.30 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเลนิโอลิซิบ เทียบกับ -0.06 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (95% CI: -0.37, - 0.11; p=0.0012)
จากระดับเส้นฐานที่ ˂48% สัดส่วนของเซลล์ B ที่ไม่เคยผ่านการรักษามาก่อนเพิ่มขึ้น 34.76% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเลนิโอลิซิบ เทียบกับสัดส่วนที่ลดลง -5.37% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (95% CI: 28.51, 51.75; p˂0.0001)
ผู้ป่วยทนต่อยาที่ใช้ในการศึกษาได้ดี ไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่นำไปสู่การยุติการรักษาในการศึกษานี้ ไม่มีการเสียชีวิต และอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง (Serious Adverse Events หรือ SAE) ในกลุ่มเลนิโอลิซิบต่ำกว่าในกลุ่มยาหลอก ไม่มี SAE ใดที่ต้องสงสัยว่าสัมพันธ์กับการรักษาในการศึกษานี้
 
ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิง ชาร์ล็อต คันนิงแฮม-รันเดิลส์ ( Charlotte Cunningham-Rundles, M.D., Ph.D.) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาภูมิคุ้มกันของเดวิด เอส. ก็อตสแมน (David S. Gottesman) จากโรงเรียนแพทย์เมาท์ ไซนาย (Mount Sinai School of Medicine) ในนิวยอร์ก กล่าวว่า
 
"นับเป็นข่าวดีที่เลนิโอลิซิบบรรลุผลเชิงบวกดังกล่าวในการศึกษาระยะที่ 3 ใน APDS เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่เห็นว่ายานี้สามารถกำหนดเป้าหมายสาเหตุของโรคที่ยุ่งยากนี้ได้ ทั้งช่วยยกระดับการดูแลและลดอาการของผู้ป่วย ซึ่งความคืบหน้าสู่การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย APDS ของเรานั้นถือเป็นก้าวสำคัญที่เรารอคอยมานาน"
 
ฟาร์มิ่งวางแผนที่จะเริ่มยื่นเอกสารด้านกฎระเบียบทั่วโลกสำหรับเลนิโอลิซิบในไตรมาสที่สองของปี 2565 และเปิดตัวยารักษาในสหรัฐในไตรมาสแรกของปี 2566 และเริ่มเปิดตัวในยุโรปในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการอนุมัติ
 
อนุรัก เรลาน ( Anurag Relan) ประธานเจ้าหน้าที่การแพทย์ของฟาร์มิ่ง กล่าวว่า
 
"ฟาร์มิ่งมีความยินดีที่เลนิโอลิซิบประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทั้งในผลลัพธ์หลักร่วมและในกลุ่มผู้ป่วย APDS ที่ทนต่อยาได้ดี เนื่องจากการอนุมัติผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะช่วยตอบสนองความต้องการสำหรับผู้ที่เป็นโรคหายากชนิดนี้ ที่ปัจจุบันต้องอาศัยการรักษาแบบประคับประคอง เช่น ยาปฏิชีวนะและการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินทดแทน นอกเหนือจากการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกเพื่อให้เลนิโอลิซิบพร้อมใช้งานสำหรับนักวิทยาภูมิคุ้มกัน นักโลหิตวิทยา และผู้ป่วยแล้ว เราจะพัฒนายารักษานี้ต่อไปผ่านการศึกษาภาคขยายแบบเปิดและการศึกษาเพิ่มเติมอีกสองรายการที่จะลงทะเบียนเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี และอาจขยายขอบเขตการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์"
 
เกี่ยวกับแอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา ซินโดรม (APDS)
 
APDS เป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิที่พบได้ยาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนประมาณหนึ่งถึงสองคนต่อล้านคน และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า PASLI เกิดจากตัวแปรในยีน PIK3CD หรือไม่ก็ PIK3R1 ที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวแปรของยีนเหล่านี้ทำให้เกิดการทำงานมากกว่าปกติของวิถี PI3Kδ (ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา)[1],[2] การส่งสัญญาณที่สมดุลในวิถี PI3Kδ จำเป็นสำหรับการทำงานของภูมิคุ้มกันทางสรีรวิทยา เมื่อวิถีนี้ทำงานมากกว่าปกติ เซลล์ภูมิคุ้มกันจะไม่เติบโตเต็มที่และทำงานไม่ถูกต้อง นำไปสู่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและภูมิคุ้มกันผิดปกติ[1],[3] APDS มีลักษณะเฉพาะคือการติดเชื้อรุนแรงบริเวณทางเดินหายใจและไซนัส และติดเชื้อซ้ำได้ ไปจนถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง และโรคลำไส้[4],[5] เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจมีเงื่อนไขที่หลากหลายประกอบกัน รวมถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิอื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรค APDS มักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดและประสบกับการวินิจฉัยล่าช้าเฉลี่ยถึง 7 ปี[6] เนื่องจาก APDS เป็นโรคที่ลุกลามมาก ความล่าช้านี้อาจทำให้เกิดความเสียหายสะสมเมื่อเวลาผ่านไป รวมทั้งความเสียหายที่ปอดอย่างถาวรและเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง[4]-[7] วิธีเดียวที่จะวินิจฉัยภาวะนี้ได้อย่างชัดเจนคือผ่านการทดสอบทางพันธุกรรม
 

เกี่ยวกับเลนิโอลิซิบ
 
เลนิโอลิซิบ (Leniolisib) เป็นตัวยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็กของไอโซฟอร์มเดลตาของหน่วยย่อยตัวเร่งปฏิกิริยา 110 kDa ของคลาส IA PI3K ที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและมีโอกาสต้านมะเร็งได้ เลนิโอลิซิบยับยั้งการผลิตฟอสฟาติดิลโนซิทอล-3-4-5-ไตรฟอสเฟต (PIP3) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวส่งสารในเซลล์ที่สำคัญซึ่งกระตุ้น AKT (ผ่าน PDK1) โดยเฉพาะ และควบคุมการทำงานของเซลล์มากมาย เช่น การเพิ่มจำนวนของเซลล์ การพัฒนาให้มีความจำเพาะของเซลล์ การผลิตไซโตไคน์ การอยู่รอดของเซลล์ การสร้างเส้นเลือดใหม่ และเมแทบอลิซึม ซึ่งแตกต่างจาก PI3Kα และ PI3Kβ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป PI3Kẟ และ PI3Kγ พบในเซลล์ต้นกำเนิดที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดเป็นหลัก บทบาทสำคัญของ PI3Kẟ ในการควบคุมการทำงานของเซลล์จำนวนมากของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (เซลล์บีและเซลล์ทีในระดับที่น้อยกว่า) ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล แมสต์เซลล์ และเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ) บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า PI3Kẟ เป็นเป้าหมายการรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสำหรับโรคภูมิคุ้มกันประเภทต่าง ๆ
 
จนถึงปัจจุบัน เลนิโอลิซิบทนต่อผลข้างเคียงได้ดี ทั้งในระหว่างการทดลองในมนุษย์เฟสที่ 1 ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี และการศึกษาสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเท่านั้นในเฟส 2 และ 3
  เกี่ยวกับฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น วี
 
ฟาร์มิ่ง กรุ๊ป เอ็น วี เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกในเชิงพาณิชย์ที่พัฒนานวัตกรรมการบำบัดทดแทนโปรตีนและการรักษาที่แม่นยำ เพื่อรักษาโรคหายากและตอบรับความต้องการทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง
 
กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของเราคือแฟรนไชส์รีคอมบิแนนท์ฮิวแมน C1 เอสเทอเรส อินฮิบิเตอร์ (rhC1INH) โดยโปรตีน C1INH เป็นโปรตีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งลดตัวรับสัญญาณของคอมพลีเมนต์และติดต่อลำดับปฏิกิริยากระตุ้นที่ต่อเนื่อง เพื่อควบคุมการอักเสบในเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบ
 
ผลิตภัณฑ์หลักของเราคือรูโคเนสต์ (RUCONEST®) เป็นการบำบัดทดแทนโปรตีน rhC1INH ที่ปราศจากพลาสมาตัวแรกและตัวเดียว ได้รับการอนุมัติสำหรับการรักษาภาวะแองจิโออีดีมาแบบเฉียบพลันจากพันธุกรรม (HAE) เรากำลังวางจำหน่าย RUCONEST® ในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักรผ่านองค์กรจัดจำหน่ายและการตลาดของเราเอง และส่วนอื่น ๆ ของโลกผ่านเครือข่ายการจัดจำหน่ายของเรา
 
เรากำลังประเมินประสิทธิภาพทางคลินิกของ rhC1INH ในการรักษาข้อบ่งชี้เพิ่มเติม รวมถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะไตวายเฉียบพลัน และปอดบวมรุนแรงอันเป็นผลมาจากการติดเชื้อโควิด-19
 
นอกจากนี้ เรากำลังอยู่ระหว่างการศึกษายาชนิดรับประทานที่ให้การรักษาเจาะจงอย่างเลนิโอลิซิบ (ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา ชนิดหนึ่ง หรือตัวยับยั้ง PI3K เดลตา) เพื่อใช้รักษาโรคแอคติเวเตด ฟอสโฟอิโนซิไทด์ 3-ไคเนส เดลตา หรือ APDS โดยบริษัทโนวาร์ตีส เอจี ได้อนุญาตให้ใช้สิทธ์ในยาเลนิโอลิซิบทั่วโลกในปี 2562 ยาเลนิโอลิซิบบรรลุผลลัพธ์หลักทั้งสองรายการในการวิจัยเฟส 2/3 ในสหรัฐและยุโรป ทั้งนี้ เรามีแผนยื่นเอกสารต่อฝ่ายกำกับดูแลทั่วโลก เพื่อขอให้มีการพิจารณายาเลนิโอลิซิบตั้งแต่ไตรมาสสองของปี 2565 เป็นต้นไป
 
เรายังได้เริ่มความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทออร์ชาร์ด เทอราพิวติกส์ (Orchard Therapeutics) เพื่อดำเนินการวิจัย พัฒนา ผลิต และวางจำหน่าย OTL-105 ซึ่งเป็นนวัตกรรมยีนบำบัดโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (HSC) ของตนเองที่เพิ่งเปิดเผยไปเมื่อไม่นานมานี้และกำลังศึกษาค้นคว้าแบบภายนอกกายสัตว์ทดลอง เพื่อใช้ในการรักษา HAE
 
นอกจากนี้ เรากำลังนำเทคโนโลยีการผลิตแบบตัดแต่งพันธุ์มาใช้ เพื่อพัฒนาเทคนิคทดแทนโปรตีนแบบใหม่ โดยมุ่งเน้นที่การรักษาโรคปอมเป (Pompe) ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาระดับพรีคลินิก

 
ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า
 
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยข้อความคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งรวมถึงกรอบเวลาและความคืบหน้าในการศึกษาระยะก่อนคลินิกและการทดลองทางคลินิกของฟาร์มิ่ง เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ที่กำลังพัฒนา โอกาสทางคลินิกและการค้าของฟาร์มิ่ง ศักยภาพของฟาร์มิ่งในการเอาชนะปัญหาท้าทายต่าง ๆ อันเป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบต่อการทำธุรกิจ และความคาดหวังของฟาร์มิ่งเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนและทรัพยากรเงินสดที่วางแผนไว้ ข้อความเหล่านี้มีความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และสมมติฐานมากมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง ขอบข่าย ความคืบหน้า และการขยับขยายการทดลองทางคลินิกและผลลัพธ์ในเรื่องต้นทุนจากการดำเนินการดังกล่าว ไปจนถึงความก้าวหน้าทางคลินิก วิทยาศาสตร์ ระเบียบกำกับดูแล และเทคนิค ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้ รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่น ๆ มีการระบุไว้ในรายงานประจำปี 2563 ของฟาร์มิ่ง และรายงานประจำปีบน Form 20-F สำหรับปีที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งยื่นให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐแล้ว โดยเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในข้อความคาดการณ์ล่วงหน้าเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้น และผลการดำเนินงานจริงของฟาร์มิ่งอาจแตกต่างไปอย่างมากจากที่คาดการณ์หรือระบุเป็นนัยไว้ในที่นี้ ข้อความคาดการณ์ล่วงหน้านั้นให้ข้อมูล ณ วันที่เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เท่านั้น และจัดทำขึ้นโดยอิงกับข้อมูลที่ฟาร์มิ่งมีอยู่ ณ วันที่เผยแพร่
 
อ้างอิง :
 
1.  Lucas CL, et al. Nat Immunol. 2014;15:88-97.
 
2.  Elkaim E, et al. J Allergy Clin Immunol. 2016;138(1):210-218.
 
3.  Nunes-Santos C, Uzel G, Rosenzweig SD. J Allergy Clin Immunol. 2019;143(5):1676-1687.
 
4.  Coulter TI, et al. J Allergy Clin Immunol. 2017;139(2):597-606.
 
5.  Maccari ME, et al. Front Immunol. 2018;9:543.
 
6.  Jamee M, et al. Clin Rev Allergy Immunol. 2019;May 21.
 
7.  Condliffe AM, Chandra A. Front Immunol. 2018;9:3
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด