ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ (กรมวิทย์)

วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ (กรมวิทย์) HealthServ.net
วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ (กรมวิทย์) ThumbMobile HealthServ.net

ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 เมื่อตรวจพบว่ามีสารออกฤทธิ์หรือกัญชาอยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 50 นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย
วิธีการตรวจจึงต้องมีประสิทธิภาพสูง เพื่อความแม่นยำ ถูกต้องและรวดเร็ว

วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ (กรมวิทย์) HealthServ


การตรวจพิสูจน์สารเสพติด กัญชา ในปัสสาวะ


การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย สามารถตรวจได้จาก เลือด ปัสสาวะ เส้นผม เล็บ 
สำหรับการตรวจหาสารสำคัญกัญชา ตรวจด้วยการใช้ปัสสาวะ
 
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารในปัสสาวะ ได้แก่ เภสัชจลศาสตร์ น้ำหนักของผู้เสพ ปริมาณการเสพ ระยะเวลาและความถี่ของการใช้  ความเป็นกรดด่างของปัสสาวะ 
 

ช่วงเวลาที่มีโอกาสตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ แบ่งตามชนิดของสารเสพติดและลักษณะการเสพ
ประเภทกัญชา  
  • ผู้เสพไม่ประจำ จะพบในปัสสาวะ 2-5 วัน
  • ผู้เสพประจำ จะพบในปัสสาวะ 4-14 วัน
  • ผู้เสพเรื้อรัง จะพบในปัสสาวะ อาจถึง 2-3 เดือน
 
ชนิดสารเสพติด สารสำคัญ ที่ตรวจพบได้ในปัสสาวะ ในผู้เสพกัญชา 
 
  • สารสำคัญที่พบ : สารกลุ่มแคนาบินอยด์ 
  • สารเมตาบอไลต์ : 11-นอร์-เดลต้า-9-เตตราไฮโดรแคนาบินอล คาร์บอกซิลิคแอซิด
  • สารที่ตรวจพบได้ ในปัสสาวะ : 11-นอร์-เดลต้า-9-เตตราไฮโดรแคนาบินอล คาร์บอกซิลิคแอซิด
 
 
การเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจ 
 
ต้องเก็บภายใน 24 ชม.หลังเสพยา
ปริมาตรปัสสาวะ เพื่อตรวจกัญชา ใช้ปริมาณไม่น้อยกว่า 30 มิลลิลิตร
 
ยาเสพติดชนิดอื่นๆ 
- ยาบ้า (ปริมาณไม่น้อยกว่า 15 มิลลิลิตร)
- ยาอี (ปริมาณไม่น้อยกว่า 15 มิลลิลิตร)
- มอร์ฟีน (ปริมาณไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร)
- โคเคน (ปริมาณไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร)


 
ชนิดของสารเสพติด

สารที่ตรวจพบได้ในปัสสาวะและเกณฑ์การตัดสินผลการตรวจพบ
ประเภทกัญชา : สารที่พบได้ในปัสสาวะ 11-nor-∆9 -THC-COOH  ค่า เกณฑ์ 50 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร
 
ยาเสพติดชนิดอื่นๆ 
- ยาบ้า/ ไอซ์ : สารที่พบได้ในปัสสาวะ เมทแอมเฟตามีน/ แอมเฟตามีน 1000 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร
- ยาอี MDMA/ MDA : สารที่พบได้ในปัสสาวะ 1000 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร
- ยาเลิฟ MDA : สารที่พบได้ในปัสสาวะ 1000 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร
- เฮโรอีน มอร์ฟีน / 6MAM : สารที่พบได้ในปัสสาวะ 300 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร
- มอร์ฟีน มอร์ฟีน / M3G : สารที่พบได้ในปัสสาวะ 300 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร
- โคเคน  : สารที่พบได้ในปัสสาวะ โคเคน 300 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร


การตรวจหาสาร Cannabinoids ในปัสสาวะ ห้องปฏิบัติการพิษวิทยาคลินิก ศิริราช

 
ห้องปฏิบัติการพิษวิทยาคลินิก ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล มีบริการตรวจทดสอบหาสาร Cannabinoids ในปัสสาวะ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง  ให้บริการกับทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-4197317-8  
 
 
วิธีการวิเคราะห์ (methodology)

หลักการ Enzymatic/Colorimetric เครื่องมือ Architect ci4100
ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้ (time limit for requesting additional test) : 24 ชั่วโมง
 
ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ

การตรวจหาระดับยา Canabinoids ในปัสสาวะของผู้ป่วยที่ได้รับยา Cannabinoids ใช้เพื่อการ Diagnosis และ treatment การรับยา Cannabinoids ทั้งทางการรักษาปกติและการใช้เป็นยาเสพติด AxSYM Cannabinoids assay ใช้เป็นการตรวจกรองเบื้องต้น และควรใช้วิธี GC/MS (Gas chromatography/ mass spectrometry) เป็นวิธีตรวจยืนยัน หรือวิธีตรวจยืนยันอื่นๆ ร่วมกับอาการทางคลินิกเพื่อประกอบการตัดสินใจในการติดตาม การรักษาของแพทย์
 
สิ่งส่งตรวจ ( specimen ) ปริมาณและภาชนะที่ใช้เก็บ ( collection medium )

- ปัสสาวะที่เก็บใส่ภาชนะที่สะอาด ปริมาณ 15-20 ml และเก็บไว้ที่ตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไม่สามารถตรวจได้ภายใน 48 ชั่วโมงให้เก็บที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าภายหลังละลายให้ผสมให้ดีก่อนตรวจ และสามารถใช้ตัวอย่างปัสสาวะที่มีสารกันเสียเหล่านี้ได้ด้วย (Sodium azide 0.1%, boric acid 0.1%, NaF 0.013%)
- Gastric Content ปริมาณ 15-20 ml
- Toxin sample ปริมาณ 3-5 เม็ด
 
การประกันเวลาการทดสอบ ( TAT ) : 60 นาที
 
การรายงานผล

- รายงานผลเป็น Negative/Positive
- ความเข้มข้นของปริมาณยาและสาร metabolite < 50 ng/mL ถือว่า Negative
- ความเข้มข้นของปริมาณยาและสาร metabolite > 50 ng/mL ถือว่า Positive

 


 
วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ (กรมวิทย์) HealthServ
 

+++++


วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ ตรวจยืนยัน


 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยแพร่ข้อมูล "การตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะแบบรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยตัวดูดซับของแข็งแบบออนไลน์ ลิควิดโครมาโทกราฟี แทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี" (Liquid  Chromatography Tandem Mass Spectrometry)

เป็นการตรวจยืนยัน (Confirmation test) จากผลการตรวจเบื้องต้น
 
ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่ามีผู้เสพกัญชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 เมื่อตรวจพบว่ามีสารออกฤทธิ์หรือกัญชาอยู่ในปัสสาวะตั้งแต่ 50 นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไปถือว่าเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย วิธีการตรวจจึงต้องมีประสิทธิภาพสูงเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะด้วยตัวดูดซับของแข็งแบบออนไลน์ เทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟี แทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี ย่อยสลายพันธะระหว่าง THCA และกลูคิวโรไนด์ดัวยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ มี THCA-D3 เป็นสารมาตรฐานภายใน สกัดสารด้วยตัวดูดซับของแข็งแบบออนไลน์ แยกสารด้วยคอลัมน์ชนิด C18 ตรวจวัดด้วยแทนเดมแมสสเปกโทรเมทรี ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีอ้างอิงตาม FDA guidance พบว่าช่วงความเป็นเส้นตรง 10 – 300 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร มีความแม่นอยู่ในช่วง 80.5-107.3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ค่าความเที่ยงภายในวันเดียวกัน และระหว่างวัน แสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน มีค่าต่ำกว่า 13% ค่าความไม่แน่นอนขยายที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เท่ากับ 1.86 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ตัวดูดซับของแข็งแบบออนไลน์ช่วยลดขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างและความผิดพลาด เทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟีมีประสิทธิภาพในการแยกสารผสม แทนเดมแมสสเปกโทรเมทรีเพิ่มความเฉพาะเจาะจง วิธีที่พัฒนาสามารถใช้ได้กับตัวอย่างส่งตรวจจริง เหมาะสมต่อการใช้เป็นวิธีมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 
 
ความเป็นมา 
 
การเสพกัญชาเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย หากพบกัญชาในปัสสาวะตั้งแต่ 50 นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย [1] การตรวจพิสูจน์ผู้เสพกัญชาสามารถตรวจได้โดยตรวจเมทาบอไลต์หลักของกัญชา คือ 1 1 - nor-9-carboxy-delta-9-tetrahydrocannabinol (THCA)[2] (รูปที่ 1) ซึ่งสามารถตรวจพบในปัสสาวะได้แม้หยุดสูบนาน 58 ชั่วโมง[3]
 
THCA ขับออกทางปัสสาวะในรูปที่จับกับกลูคิวโรไนด์มากกว่า THCA อิสระ 1.3-4.5 เท่า[4]  ในการตรวจวิเคราะห์ตรวจวัด THCA อิสระ จึงต้องสลายพันธะ (Hydrolysis) ระหว่าง THCA กับกลูคิวโรไนด์ ด้วยด่างหรือเอนไซด์เบต้ากลูคิวโรนิเดส และทำการสกัดด้วยวิธีการสกัด ด้วยวัฏภาคของเหลว (Liquid-Liquid Extraction, LLE) หรือการสกัดด้วยวัฏภาคของแข็ง  (Solid-Phase Extraction, SPE)[5] 
 
วิธีการสกัดทั้งสองชนิดต้องใช้ ปริมาณตัวอย่าง สารเคมีมาก และเวลาเตรียมตัวอย่างก่อนวิเคราะห์อย่างน้อย 120 นาที
 
 
 
 
วัสดุและวิธีการ
 
สารละลายมาตรฐาน 1.0 ± 0.0135 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรในเมทานอลของ THCA ความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ 99.0 สารมาตรฐานภายใน (Internal standard solution; I.S.) 11-nor-9-carboxy-delta-9-tetrahydrocannabinolD3 (THCA-D3) ความบริสุทธิ์มากกว่าร้อยละ 98.0 ตัวอย่างส่งตรวจจำนวน 6 ตัวอย่าง ขั้นตอนเตรียมตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ดังรูปที่ 2
 
เครื่องลิควิดโครมาโทกราฟท างานด้วยระบบ 2 ปั๊ม โดยมี switching valve เปลี่ยนทิศทางทางเดินัองวัฎภาคเคลื่อนที่ (รูปที่ 3) ตรวจสอบความถูกต้องัองวิธีวิเคราะห์อ้างอิงตาม Food and drug administration guidance for industry: bioanalytical method validation [6] และคำนวนค่าความไม่แน่นอนการวัดตามแนวทาง ISO/GUM [7] (รูปที่4) 
 
 
 
การทดลองย่อยสลายพันธะระหว่าง THCA และกลูคิวโรไนด์ ด้วยกรด HCl ความเข้มข้นสูง ทำให้ THCA-D3 สลายตัว สารละลายอิ่มตัวของ KOH ทำให้เกิด THCA อิสระได้ดีเท่ากับการใช้ β-glucuronidase ตั้งแต่การอบร้อน 10 นาที จนถึง 90 นาที ดังนั้นวิธีนี้จึงเลือกใช้ KOH ในการ hydrolysisและเป็นสารเคมีที่หาง่ายและราคาถูก
 
การสกัดสารด้วยตัวดูดซับของแข็งแบบออนไลน์ใช้เวลาเพียง 1 นาที ใช้ได้กับตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย สัมผัสสารเคมีน้อย ทำซ้ำได้สะดวก มีการใช้อย่างกว้างขวางในการตรวจวิเคราะห์วัตถุพยานที่มาจากสิ่งมีชีวิต [8] ราคาถูกกว่าตัวดูดซับของแข็งแบบออฟไลน์ 1 ใน 4 เท่าต่อตัวอย่าง ได้ค่าความไม่แน่นอนขยายของวิธีวิเคราะห์ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เท่ากับ 1.86 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ตรวจตัวอย่างส่งตรวจจริงได้
 

 
การตรวจกัญชาในปัสสาวะด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นด้วยการใช้ KOH hydrolysis และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคลิควิดโครมาโทกราฟี แทนเคมแมสสเปกโทรเมทรี และวัฎภาคของแข็งแบบออนไลน์ มีความถูกต้อง แม่นยำ จำเพาะเจาะจง รวดเร็ว สะดวกต่อการปฏิบัติงาน การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีตามแนวทางของ FDA ยืนยันว่าวิธีมีความถูกต้องใช้ได้ สามารถนำวิธี ไปใช้ในการตราจพิสูจน์ผู้เสพกัญชาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมต่อการใช้เป็นวิธีมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเป็นตัวอย่างวิธีให้ผู้ที่ต้องการวิธีเตรียมตัวอย่างที่สะดวก รวดเร็ว
 
 
 
วิธีตรวจปริมาณกัญชาในปัสสาวะ (กรมวิทย์) HealthServ


เอกสารอ้างอิง

1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม.รวมกฎหมายยาเสพติด พร้อมด้วย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ. พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล็อก;2556.
2. Priyamvada S, Pratima M, and Srinivas B. Chemistry, Metabolism, and Toxicology of Cannabis: Clinical Implications. Iran J Psychiatry. 2012;7(4): 149-56.
3. Huestis MA, Mitchell JM, Cone EJ. Urinary excretion profiles of 11-nor9-carboxydelta 9-tetrahydrocannabinol in humans after single smoked doses of marijuana. J Anal Toxicol. 1996;20:441–452.
4. Jung J, Meyer MR, Maurer HH, Neusüss C, Weinmann W, Auwärter V. Studies on the metabolism of the Delta9-tetrahydrocannabinol precursor Delta9-tetrahydrocannabinolic acid A (Delta9-THCA-A) in rat using LC-MS/MS, LC-QTOF
MS and GC-MS techniques. J Mass Spectrom. 2009;44(10):1423-33.
5. Wolfgang W, Susanne V, Rolf G, Claudia M, Andreas B. Simultaneous determination of THC-COOH and THC-COOH-glucuronide in urine samples by LC/MS/MS. Forensic Sci. Int. 2000;113(1-3): 381–7.
6. U.S. Department of Health and Human Services, Food and Drug Administration (FDA), Center for Drug Evaluation and Research (CDER) and Center for Veterinary Medicine (CVM) [Internet]. Guidance for industry: Bioanalytical method validation [updated 2013 Sep; cited 2017 Mar 16]. Available from: https://www.fda.gov/downloads/drugs/guidances/ucm368107.pdf
7. Eurachem/CITAC Guide CG 4 [Internet]. Quantifying uncertainty in analytical measurement. 2000[cited 2017 Aug 20]. Available from: www.researchgate.net
8. Núñez O, Gallart-Ayala H, Martins CP, LucciP. New trends in fast liquid chromatography for food and environmental analysis. J Chromatogr A. 2012;1228:298-323

ลิงค์อ้างอิง 
1. www.chiangmaihealth.go.th
2. www.si.mahidol.ac.th/th 
3. https://bdn.go.th/th/
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด