ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

13 เขตสุขภาพของประเทศไทย

13 เขตสุขภาพของประเทศไทย HealthServ.net
13 เขตสุขภาพของประเทศไทย ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศไทยแบ่งเขตสุขภาพ เป็น 13 เขต รวมกรุงเทพ (เขต 13) โดยมุ่งพัฒนาระบบบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง สร้างระบบที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโดยใช้หลักการ “เขตสุขภาพที่ไร้รอยต่อ (Seamless Health Service Network)”

13 เขตสุขภาพของประเทศไทย HealthServ


ความเป็นมาเขตสุขภาพ

ปีงบประมาณ 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ ให้มีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นระบบขึ้นโดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) มีระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ2556 - 2560) โดยมุ่งพัฒนาระบบบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง สร้างระบบที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโดยใช้หลักการ “เขตสุขภาพที่ไร้รอยต่อ (Seamless Health Service Network)” ตามสภาพข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์และ การคมนาคมโดยไม่มีเส้นแบ่งของการปกครองหรือการแบ่งเขตตรวจราชการ และมีการพัฒนาระบบบริหาร จัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ (พบส.) โดยใช้กลไกความร่วมมือและช่วยเหลือกัน ในการบริหารจัดการระบบ บริการสุขภาพระหว่างสถานบริการสุขภาพทุกระดับตั้งแต่ รพศ. รพท. รพช. รพ.สต. แบบพี่-น้องช่วยกัน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน ใช้หลักการ pool & share คน เครื่องมือ ความรู้ ให้สามารถเชื่อมโยงระบบบริการ สุขภาพทุกระดับ ในการดำเนินการตาม Service Plan เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีมาตรฐานโดยการจัดระบบบริการ สุขภาพจิตและจิตเวชบูรณาการในโรงพยาบาลฝ่ายกายตามเขตสุขภาพในพื้นที่


เขตสุขภาพ 13 เขต
 

  1. ส่วนกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เขตสุขภาพที่ 13
  2. เขตสุขภาพที่ 1 ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน
  3. เขตสุขภาพที่ 2 ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย
  4. เขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี
  5. เขตสุขภาพที่ 4 ได้แก่ สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
  6. เขตสุขภาพที่ 5 ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี
  7. เขตสุขภาพที่ 6 ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด
  8. เขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
  9. เขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ
  10. เขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
  11. เขตสุขภาพที่ 10 ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ มุกดาหาร อำนาจเจริญ
  12. เขตสุขภาพที่ 11 ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร
  13. เขตสุขภาพที่ 12 ได้แก่ สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส


           เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วยจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ซึ่งมีจุดภูมิศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจเชื่อมโยงร่วมกัน รวมทั้งมีลักษณะกายภาพร่วมกัน


สปสช.เขต 13 เขต

 


บทบาทหน้าที่ของเขตสุขภาพ

สำนักงานเขตบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง ที่มีที่ตั้งในส่วนภูมิภาคกลุ่มจังหวัด มีฐานะเทียบเท่ากอง [R8]
 
  1. เป็นสำนักงานเลขานุการการบริหารงานของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ (Service Provider Board)
  2. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนายุทธศาสตร์เขตบริการสุขภาพ บนฐานข้อมูลและฐานความรู้ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข
  3. วิเคราะห์การจัดตั้งคำของบประมาณ บริหารจัดการงบประมาณขาลง ติดตาม กำกับ เร่งรัดและรายงานผลการใช้งบประมาณในภาพรวมเขตบริการสุขภาพ วางระบบและแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานในเขตบริการสุขภาพรับทราบ กำกับการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพให้เป็นไปตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
  4. ประสานงานการบริหารอัตรากำลัง ปรับเกลี่ยจัดสรรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กลาง ประสานการบริหารงานบุคคล เป็นแกนกลางในการบริหารบุคลากรจากกรมต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในเขตบริการสุขภาพ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
  5. บริหารจัดการระบบบริการในระดับเขตบริการสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพ มีคุณภาพได้มาตรฐานและสร้างความเป็นธรรม
  6. บริหารจัดการระบบบริการในระดับเขตบริการสุขภาพ กำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการในเขตบริการสุขภาพให้แก่หน่วยงานในเขตบริการสุขภาพที่สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
  7. กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบการจัดสรร และการปรับเกลี่ยทรัพยากรด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประหยัด คุ้มค่าและสมประโยชน์ต่อราชการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
  8. กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพ ต่อคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ โดยกลไกการตรวจราชการและนิเทศงาน ร่วมกับกลไกการตรวจประเมินโดยหน่วยงานภายในและภายนอก (Internal & External Audit)
  9. กำกับดูแลหน่ายงานในเขต ให้เป็นตามกฎระเบียบ และเป็นผู้แทนในการบังคับใช้กฎ ระเบียบต่างๆ
  10. ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูลข่าวสาร จัดทำระบบข้อมูลและฐานความรู้ด้านการสาธารณสุขในเขตบริการสุขภาพ ให้เป็นระบบเดียว มีคุณภาพ ใช้งานได้
  11. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนารูปแบบพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ภัยสุขภาพ และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในเขตบริการสุขภาพ
  12. ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนารูปแบบ พัฒนาระบบการกำกับติดตาม และประเมินผลของหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพในเขตบริการสุขภาพ
  13. จัดระบบการประเมินผลและรับรองมาตรฐานบริการต่างๆ ของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพ
  14. เป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ระหว่างเขตบริการสุขภาพ เขตบริการสุขภาพกับส่วนกลาง ทั้งภายใน/นอกกระทรวงสาธารณสุข
  15. เป็นศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับการร้องเรียนร้องทุกข์ ทั้งด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การบริการ การบริหาร และการปฏิบัติราชการ
  16. ประสานงาน ส่งเสริมการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
  17. ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขใน เขตบริการสุขภาพ
  18. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตบริการสุขภาพ ที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ
  19. อำนาจหน้าที่อื่นๆที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 


ครม.เห็นชอบตั้ง 13 เขตสุขภาพ

           ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยเตรียมตั้ง 13 เขตทั่วประเทศ
 
           26 เม.ย.2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เน้นตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในแต่ละเขตพื้นที่ เตรียมตั้ง 13 เขตทั่วประเทศ สอดคล้องกับการแบ่งพื้นที่การทำงานของภาคีหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เน้นการหนุนเสริมกันไม่ทำงานซ้ำซ้อนกัน โดยเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขจะมุ่งเน้นด้านบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุขเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนด้วย ขณะที่เขตสุขภาพของ สปสช.เน้นการจัดการด้านการเงินการคลังเป็นหลัก ส่วนเขตสุขภาพเพื่อประชาชนจะเป็นกลไกหนุนเสริมให้เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนที่มีบทบาทในระบบสุขภาพมีความรับผิดชอบร่วมกัน
 
           ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเป็นแนวทางการการทำงานรูปแบบใหม่ที่เป็นไปตามทิศทางพัฒนาการของระบบสุขภาพในยุคปัจจุบันที่มีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ หรือที่เรียกว่าพหุลักษณ์ จึงต้องอาศัยการอภิบาลแบบเครือข่ายที่เอื้อให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และวิชาการเข้ามาทำงานร่วมกันแบบหุ้นส่วน โดยใช้พื้นที่เป็นฐานและเน้นความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตสุขภาพเป็นสำคัญ มั่นใจว่าจะเป็นมิติใหม่ที่ช่วยหนุนเสริมการทำงานทุกภาคส่วนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น [ThaiPBS 26 เมษายน 59]
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด