ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล

ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล HealthServ.net
ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล ThumbMobile HealthServ.net

ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. .... ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อพรบ.นี้ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2565 - ปัจจุบัน ปิดรับความคิดเห็นแล้ว และอยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

 

ข้อมูลประกอบการพิจารณา


โดยที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดไม่ได้กำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการนำกัญชา กัญชง มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การวิจัยและนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลกระทบต่อโอกาสในการนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ การป้องกัน บำบัดโรค รักษาผู้ป่วย การศึกษาวิจัยหรือการพัฒนานวัตกรรม ฉะนั้น เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในการดูแลสุขภาพของตน และส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากัญชา กัญชง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย ตลอดจนองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน และอุตสาหกรรมอื่น ๆ จึงควรสนับสนุนการนำกัญชา กัญชง มาใช้ในการศึกษาวิจัย การใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ สุขภาพ การใช้ตามวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้มีการบริโภคกัญชา กัญชงอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สมควรกำหนดมาตรการกำกับดูแล ควบคุมการขาย การโฆษณาและการบริโภคกัญชา กัญชง เพื่อคุ้มครองสุขภาพของบุคคล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 
                ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ. ....ซึ่งเสนอโดยนายอนุทิน ชาญวีรกุล สมาชิกสาภ(แทนราษฎร กับคณะ มีสาระสำคัญดังนี้
 
                (1) กำหนดให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดเกี่ยวกับกัญชา กัญชง (ร่างมาตรา 6)
 
                (2) กำหนดให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนและสาธารณสุขโดยใช้กัญชา กัญชง เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำเร็จของผู้ผลิตให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น (ร่างมาตรา 7)
 
                (3) กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกัญชา กัญชง” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกรรมการและเลขานุการ (ร่างมาตรา 8)
 
                (4) กำหนดให้คณะกรรมการกัญชา กัญชง มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริม วิจัย พัฒนา การใช้กัญชา กัญชง ทั้งในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม ให้ความเห็น คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรี หรือผู้อนุญาตในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และประการกำหนดสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinal) ในกัญชง เป็นต้น (ร่างมาตรา 14)
 
                (5) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขายต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต (ร่างมาตรา 15)
 
                (6) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะเพาะ ปลูก ต้องจดแจ้งต่อผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้ว จึงจะดำเนินการได้ (ร่างมาตรา 18)
 
                (7) กำหนดให้เจ้าหน้าที่ บุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ประเมิน ตรวจสอบ และพิจารณาอนุญาต (ร่างมาตรา 21)
 
                (8) กำหนดให้เงินค่าธรรมเนียมตาม (8) (9) (10) ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้ที่จัดเก็บได้ให้ตกเป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ร่างมาตรา 23)
 
                (9) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อนุญาตว่ากล่าวตักเตือน หรือผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามสมควรแก่กรณี (ร่างมาตรา 25)
 
                (10) กำหนดให้ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกไม่ได้ (ร่างมาตรา 26)
 
                (11) กำหนดให้ผู้จดแจ้งผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้รับจดแจ้งว่ากล่าวตักเตือน หรือเพิกถอนใบรับจดแจ้งตามสมควรแก่กรณี (ร่างมาตรา 27)
 
                (12) กำหนดห้ามผู้ใดโฆษณาเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต (ร่างมาตรา 28)
 
                (13) กำหนดให้ในกรณีฝ่าฝืน ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้โฆษณาดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แก้ไขข้อความ ห้ามใช้ข้อความ ระงับการโฆษณา เป็นต้น (ร่างมาตรา 29)
 
                (14) กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ เช่น เข้าไปในสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้าสถานที่ส่งออก สถานที่ขาย หรือเข้าไปในยานพาหนะที่บรรทุกกัญชา กัญชง เป็นต้น (ร่างมาตรา 31)
 
                (15) กำหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 32)
 
                (16) กำหนดให้กรณีผู้อนุญาตหรือผู้รับจดแจ้งไม่ออกใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้ง ผู้ขออนุญาตหรือผู้จดแจ้ง มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้ง (ร่างมาตรา 34)
 
                (17) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้ง แล้วแต่กรณี (ร่างมาตรา 35)
 
                (18) กำหนดห้ามผู้รับอนุญาตขายกัญชา กัญชง เพื่อการนำไปบริโภคแก่บุคคล เช่น ผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เป็นต้น (ร่างมาตรา 37)
 
                (19) กำหนดให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 38)
 
                (20) กำหนดให้ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 37 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท (ร่างมาตรา 40)


 

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. กระทรวงสาธารณสุข
  2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  3. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  5. ประชาชนทั่วไป
 

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

 
  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกัญชา กัญชง” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป้นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริม วิจัย พัฒนา การใช้กัญชา กัญชง ทั้งในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม ให้ความเห็น คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรี หรือผู้อนุญาตในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และหระกาศกำหนดตราสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinal) ในกัญชง
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการกำหนดให้ผู้ประสงค์จะผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขาย ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และการเพาะ ปลูก ต้องจดแจ้งต่อผู้รับจดแจ้ง ออกใบรับจดแจ้งให้แล้ว จึงดำเนินการได้
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ผลิต สถานที่ขาย หรือเข้าไปในยานพาหนะที่บรรทุกกัญชา กัญชง เป็นต้น โดยการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการกำหนดให้ผู้อนุญาตหรือผู้รับจดแจ้งไม่ออกใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้ง ผู้ขออนุญาตหรือผู้จดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และกรณีผู้รับอนุญาตซึ่งถูกพักใช้ใบอนุญาต ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
  5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการกำหนดห้ามผู้รับอนุญาตขายกัญชา กัญชง เพื่อการนำไปบริโภคแก่บุคคล เช่น ผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เป็นต้น
  6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ในการกำหนดให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ....

บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ....

หลักการ ให้มีกฏหมายว่าด้วยกัญชา และกัญชง

เหตุผล โดยที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดไม่ใด้กำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการนำกัญชา กัญชงมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การวิจัย และนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลกระทบต่อโอกาสในการนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ การป้องกัน บำบัดโรค รักษาผู้ป่วย การศึกษาวิจัยหรือการพัฒนานวัตกรรม ฉะนั้น เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในการดูแลสุขภาพของตน และส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านการพัฒนาภูมิปัญญา ด้านการแพทย์แผนไทย ตลอดจนองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน และอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงควรสนับสนุนการนำกัญชา กัญชง มาใช้ในการศึกษาวิจัย การใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ สุขภาพ การใช้ตามวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้มีการบริโภคกัญชา กัญชงอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสมควรกำหนดมาตรการกำกับดูแล ควบคุมการขาย การโฆษณาและการบริโภคกัญชา กัญชง เพื่อคุ้มครองสุขภาพของบุคคล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 
 
 
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกัญชา กัญชง พ.ศ....
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น
 
มาตรา ๓ ให้กัญชา กัญชง ที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ไม่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือประมวลกฎหมายยาเสพติด
 
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
 
"กัญชา" หมายความว่า พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน
 
 
"กัญชง" หมายความว่า พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชง เช่น ยาง น้ำมัน และมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบิ่นอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินปริมาณตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
"สารสกัด" หมายความว่า สารที่ได้จากกระบวนการสกัดทุกส่วนของกัญชา หรือกัญชง
 
"ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทาง
วิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วยเพื่อขาย ไม่รวมการแปรรูปอย่างง่าย
 
"ขาย" หมายความว่า จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า
หรือให้โดยมีสิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์อย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขาย
 
"ส่งออก" หมายความว่า นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
 
"นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
 
"บริโภค" หมายความว่า กิน เคี้ยว ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือใน
รูปลักษณะใด ๆ
 
"ผู้อนุญาต" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ
คณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตให้ผลิต และการนำเข้าหรือส่งออก ขาย หรือการโฆษณากัญชา กัญชง
 
"ผู้รับจดแจ้ง" หมายความว่า
(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย สำหรับการจดแจ้งเพื่อใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชงในครัวเรือน ในกรุงเทพมหานคร
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือผู้ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายสำหรับการจดแจ้งเพื่อใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชงในครัวเรือน ในส่วนภูมิภาค
 
"การใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชงในครัวเรือน" หมายความว่า การเพาะ ปลูก เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เพื่อดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยเดียวกัน ทั้งนี้ ไม่เกินปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
"กระบวนการพิจารณาอนุญาต " หมายความว่า การพิจารณาคำขอ การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร การประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานที่ผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย หรือการตรวจสอบ เพื่อออกใบอนุญาต หรือใบรับจดแจ้ง ตลอดจนการพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับกัญชา กัญชง
 
"โฆษณา" หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด 1 ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ เพื่อประโยชนในทางการค้า
 
"ผู้รับอนุญาต" หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ และในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต
 
"ผู้จดแจ้ง" หมายความว่า ผู้ได้รับใบรับจดแจ้งเพื่อใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชงในครัวเรือนตามพระราชบัญญัตินี้
 
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกัญชา กัญชง
 
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ใด้ให้บริการ รวมทั้งกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และกำหนดกิจการอื่น รวมทั้งออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 
มาตรา ๗ การดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนและสาธารณสุขโดยใช้กัญชา กัญชงเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของผู้ผลิตให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
 หมวด ๒
คณะกรรมการกัญชา กัญชง
 
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการกัญชา กัญชง"ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมอนามัย ธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เลขาธิการกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย และเภสัชกรรม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินเจ็ดคน ในจำนวนนี้ ให้แต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่าสามคน
 
ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
 
 
มาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าว หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งต้ังใหม่เข้ารับหน้าที่
 
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ 
 
มาตรา ๑๐ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ 
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะเหตุบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือความประพฤติเสื่อมเสียหรือ
(๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลทุโทษ
(๓) ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอื่น
 
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพันจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้แต่งตั้งผู้อื่นดำรงตำแหน่งแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
 
ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่หย่อนความสามารถ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด