ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้ป่วยโควิด-19 เป็นแล้ว เป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่

ผู้ป่วยโควิด-19 เป็นแล้ว เป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่ HealthServ.net
ผู้ป่วยโควิด-19 เป็นแล้ว เป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่ ThumbMobile HealthServ.net

ผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-19 (COVID-19) สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่มากนัก การศึกษาเบื้องต้นในลิงโดยการทำให้ติดเชื้อซ้ำ พบว่า ลิงจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้

ผู้ป่วยโควิด-19 เป็นแล้ว เป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่ HealthServ

"ผู้ป่วยที่เป็นโรค COVID-19 สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่"

 
คำถามนี้เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่มากนัก การศึกษาเบื้องต้นในลิงโดยการทำให้ติดเชื้อซ้ำ พบว่า ลิงจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้
 
สำหรับการศึกษาในมนุษย์ พบรายงานการเกิดการติดเชื้ออีกครั้งจากผู้ป่วยในประเทศจีน โดยพบร้อยละ 14 ของผู้ป่วย ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้ออีกครั้งมักพบในผู้สูงอายุ มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีโรคประจำตัวหลายชนิด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หรือผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อซ้ำจากผู้ป่วยคนอื่นในชุมชน2
 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเราไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเกิดขึ้นได้เร็วเพียงใดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้น ภายใน 10-14 วันหลังสัมผัสเชื้อ นอกจากนี้ ยังไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นจะอยู่ได้ยาวนานเพียงใด ข้อมูลจากเชื้อตระกูลเดียวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ภูมิคุ้มกันสามารถลดลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การติดเชื้อซ้ำจึงมีโอกาสเป็นไปได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และจำเป็นจะต้องติดตามกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้เป็นระยะ3
 
กล่าวโดยสรุป ข้อมูลในปัจจุบันพบรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำได้ร้อยละ 14 จากข้อมูลของประเทศจีน แต่ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากการไปรับเชื้อจากผู้ป่วยคนอื่น เกิดจากภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้ต่ำ ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงจึงกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่สูง หรือภูมิคุ้มกันลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยรายงานการติดเชื้อซ้ำพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีโรคประจำตัวหลายชนิด ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ การรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) พบปะกันแบบห่างๆ การล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หากไม่สะดวกก็ใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ การไม่นำมือมาสัมผัสบริเวณใบหน้า ดวงตา ปาก จมูก และ การใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ

รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์
รองศาสตราจารย์ ภก. ปรีชา มนทกานติกุล
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คลังความรู้สุขภาพ สธ.
31/7/2563
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด