ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครื่องหมายโครงการ อาหารปลอดภัย Food Safety

เครื่องหมายโครงการ อาหารปลอดภัย Food Safety HealthServ.net
เครื่องหมายโครงการ อาหารปลอดภัย Food Safety ThumbMobile HealthServ.net

อาหารปลอดภัย เป็นสัญญลักษณ์ให้กับฟาร์ม แหล่งปลูก ที่ดำเนินการตาม GAP, COC และ GMP
รับผิดชอบโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เครื่องหมายโครงการ อาหารปลอดภัย Food Safety HealthServ
อาหารปลอดภัย เป็นสัญญลักษณ์ให้กับฟาร์ม แหล่งปลูก ที่ดำเนินการตาม GAP, COC และ GMP
รับผิดชอบโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เป็นการรับรอง

   1. รับรองสินค้าอาหาร
   2. รับรองระบบ การจัดการด้านความปลอดภัยคุณภาพอาหาร เช่น ระบบ CoC (Code of Conduct), GAP (Good Agricultural Practice), GMP (Good Manufacturing Practice), HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) เป็นต้น
   3. รับรองสินค้าที่มิใช่อาหาร เช่น ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
   4. รับรองระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้านความปลอดภัย และคุณภาพอาหาร

หน่วยงานที่รับรอง ได้แก่ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โดยแต่ละหน่วยงานแบ่งกันรับผิดชอบในการตรวจสอบรับรองดังนี้
กรมประมง ตรวจสอบรับรอง ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง
กรมปศุสัตว์ ตรวจสอบรับรอง ผลผลิต และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์
กรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจสอบรับรอง ผลิตภัณฑ์ชุมชน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตรวจสอบรับรอง ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกสหกรณ์
กรมพัฒนาที่ดิน ตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต (สารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติตรวจ สอบ รับรอง มาตรฐาน คุณภาพ และการติดฉลากสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอาหาร
นโยบาย ความปลอดภัยด้านอาหาร

นโยบาย เชิงรุกอาหารปลอดภัย ปี 2550-2551

            คุณจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี  ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการความ ปลอดภัยด้านอาหาร  กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปข้อเสนอ นโยบายเชิงรุกอาหารปลอดภัย ปี 2550-2551 ที่ได้ผ่านการอนุมัติในหลักการของที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ประจำเดือน มกราคม 2550 แล้ว ดังนี้
  1. การลดโรคอาหาร เป็นพิษในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
  2. การจัดระบบตรวจสอบรับรองสถานที่จำหน่ายอาหารในแหล่งท่องเที่ยว
  3. การควบคุมกำกับ ดูแลอาหารปลอดภัยในรถเร่/ตลาดนัด
  4. การประชาสัมพันธ์และสื่อสารสาธารณะ

นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) กระทรวงสาธารณสุข
 

1. หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อ สุขภาพของประชาชน และอาหาร ปลอดภัยที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องปราศจากเชื้อโรค อาหารเป็นพิษ หรือปนเปื้อน จากเชื้อโรคทางเดินอาหารและสารเคมี ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย จึงต้องมีระบบการดูแล ควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพความปลอดภัย อาหารที่ผลิตทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหาร ( Food Chain)  ตั้งแต่วัตถุ ดิบ (การเพาะปลูก เพาะเลี้ยง) การผลิต การแปรรูป การจัด จำหน่าย จนถึงผู้บริโภคอาหาร หรือที่กล่าวว่าจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ( From Farm to Table)  หรือจากฟาร์ม สู่ช้อน ( From Farm to Fork)  ทั้งนี้มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมต้องมีความเท่าเทียมกับมาตรฐาน สากล เช่น การ ใช้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช ( Sanitary and Phytosanitary: SPS)  ซึ่งอยู่บน พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

 

2. ภารกิจหลัก

ภารกิจหลักของกระทรวงสาธารณสุข ตามความในหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0411/ ลร. 2/4326 ลงวันที่ 3 เมษายน 2546 มีดังนี้
2.1 การควบคุมการนำเข้ายา เภสัชเคมี ภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูป วัตถุดิบในการผลิตอาหาร ( ยกเว้นเนื้อสัตว์ ปลาทูน่า และกุ้ง)
2.2 การขึ้นทะเบียนและการควบคุมการจำหน่ายยา เภสัชเคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์
2.3 การอนุญาต ประกอบการโรงงานแปรรูปอาหาร การตรวจสอบควบคุมมาตรฐาน และกระบวนการ ผลิตของโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายในประเทศ
2.4  การตรวจสอบรับรอง อาหารที่จำหน่ายในประเทศ
2.5 รับผิดชอบร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเปิด โอกาสให้ภาคเอกชนเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อให้บริการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหาร เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ส่งออก

 

3. ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน

สำหรับยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน จะประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่
3.1 ด้านการพัฒนา มาตรฐานกฎหมายให้เป็นสากล
- กำหนดให้เน้น การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน ระหว่างอาหารนำเข้า ผลิต และส่งออก
3.2 ด้านความเข้มแข็งในการกำกับดูแลให้อาหารปลอดภัย
- สร้างความ เข้มแข็งของการกำกับดูแลให้อาหารปลอดภัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การ ควบคุมการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย และการขนส่ง
- สร้างแรงจูง ใจให้ผู้ประกอบการมีคุณภาพได้มาตรฐาน
3.3 ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
- รณรงค์เผย แพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคมีความรู้ มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการเลือกซื้อ ประกอบ และบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย
3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรและกระบวนการ
- ฝึกอบรมบุ คลการให้มีความรู้ สามารถพิจารณา ตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพอาหารได้ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ
- สร้างแรงจูง ใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ประสานความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- เชื่อมโยง ระบบข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ
3.5 ด้านการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ
- จัดหา ครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการตรวจวิเคราะห์ให้เพียงพอ

 

4. ตัวชี้วัดและ เป้าหมาย

ตัวชี้วัดและเป้าหมายในการดำเนินการ มีดังนี้
4.1 การตรวจสอบอาหาร
4.1.1 ประเภทของอาหารที่รณรงค์ ได้แก่
- อาหารสด
- อาหารแปรรูป
- อาหารปรุง จำหน่าย
4.1.2 ประเภทสาร เคมีและจุลินทรีย์ที่ตรวจ ได้แก่
- บอแรกซ์
- สารตกค้างจาก ยาฆ่าแมลง
- สารฟอกขาว
- สารกันเชื้อ รา (กรดซาลิซิลิ ค)
- สารฟอร์มาลิน (น้ำยาดองศพ)
- สารเร่งเนื้อ แดง (ซาลบิวตามอล)
- จุลินทรีย์
- สารโพลาร์ใน น้ำมันทอดซ้ำ
- อะฟลาทอกซิ นในถั่วลิสง
4.2 การตรวจสอบ สถานประกอบการ ด่านนำเข้า สถานที่เพาะ เลี้ยง เพาะปลูก
4.2.1 สถานที่นำ เข้า
- สถานที่นำ เข้าประมาณ 2,000 แห่ง ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
- ด่านนำเข้า ทุกด่านตรวจสอบเข้มงวด
4.2.2 สถานที่ผลิต
- สถานที่ผลิต อาหารประมาณ 10,000 ราย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: Good Manufacturing Practices) ตามกฎหมาย
- สถานที่เพาะ เลี้ยง เพาะปลูก มีการดำเนิน การถูกต้องตามหลักวิชาการและปฏิบัติตามกฎหมาย
- สถานที่ผลิต อาหารสัตว์ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
- สถานที่ฆ่า สัตว์เพื่อขายให้ผู้บริโภค มีการดำเนิน การถูกต้องตามตามหลักวิชาการและปฏิบัติตามกฎหมาย
4.2.3 สถานที่จำหน่าย
- มีการตรวจ เฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาดสดทุกแห่ง
- สถานที่ จำหน่ายอาหารสดที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขในตลาดสดทุกแห่งได้ รับป้าย " อาหารปลอดภัย" ของกระทรวงสาธารณสุข
- ซูเปอร์ มาร์เก็ตขนาดใหญ่ทุกแห่งมีมุมจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกระทรวงสาธารณสุข
- ร้านขายอาหาร และแผงลอยทั่วประเทศได้มาตรฐานเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ( Clean Food Good Taste) ของกระทรวงสาธารณสุข

- สถานที่จำหน่ายยาและเภสัชเคมีภัณฑ์ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกแห่ง

 

5. หน่วยงานรับ ผิดชอบ

5.1 หน่วยงานรับ ผิดชอบหลัก: กระทรวงสาธารณสุข
5.2 หน่วยงานร่วม รับผิดชอบ ได้แก่
- กระทรวงเกษตร และสหกรณ์
- กระทรวง มหาดไทย
- กระทรวง อุตสาหกรรม
- กระทรวง พาณิชย์
- กระทรวงการ ต่างประเทศ
- กระทรวงการ คลัง (กรมศุลการกร)
- สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ
- สำนักนายก รัฐมนตรี (สำนักงานคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
- สภา อุตสาหกรรม
- สภาหอการค้า
- สถาบันอาหาร

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด