ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การล้มในผู้สูงอายุ

อ่านคำถอดเทป จากการสัมภาษณ์แพทย์ ช่วง Health Talk ในรายการ Happy&Healthy
ทางสถานีวิทยุ ขสทบ. FM.102 MHZ 9.00-10.00 น.ดำเนินรายการโดย ปัทมพร บุพพะกสิกร และทีมงาน
หัวข้อ การล้มในผู้สูงอายุ
วิทยากร นพ.ภรเอก มนัสวานิช
แพทย์ประจำแผนกผู้ป่วยนอกด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

อ่านคำถอดเทป จากการสัมภาษณ์แพทย์ ช่วงHealth Talk
ในรายการHappy&Healthyทางสถานีวิทยุ ขสทบ.FM.102 MHZ
9.00-10.00น.ดำเนินรายการโดย ปัทมพร บุพพะกสิกร และทีมงาน
หัวข้อการล้มในผู้สูงอายุ
วิทยากรนพ.ภรเอก มนัสวานิชแพทย์ประจำแผนกผู้ป่วยนอกด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ รพ. จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

DJผู้สูงวัยการเดินแตกต่างกันผู้อื่นอย่างไรบ้างคะ
นพ.ภรเอกขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว เช่น การลุกนั่ง บางคนอาจรู้สึกหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ทรงตัวได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นเวลาที่จะต้องเปลี่ยนท่าจะต้องช้าๆ ต้องมีสติก่อนแล้วค่อยๆเปลี่ยนท่า ต้องระวังให้ดีคือหลังรับประทานอาหาร บางครั้งลุกไวๆ อาจทำให้หน้ามืดได้ง่ายเหมือนกัน เป็นช่วงที่ต้องระวังไว้ครับ

DJอุบัติเหตุทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเกิดในลักษณะและในสถานที่แบบไหนคะ
นพ.ภรเอกอุบัติเหตุเกิดได้เหมือนกับคนวัยหนุ่มสาวทั่วไป แต่ว่าเรื่องที่น่าห่วงกว่าคือการหกล้ม เพราะการหกล้มทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา เพราะฉะนั้นการหกล้มก็จะมีสองส่วนใหญ่ๆ ถ้าอยู่ในบ้านที่อยู่อาศัย ผู้สูงายุก็มักจะหกล้มในบริเวณห้องน้ำและบันไดบ้านเพราะบางที่ขั้นบันไดเล็กกว่าเท้าทำให้เดินไม่ถนัด บางครั้งมืดทำให้มองไม่เห็นขั้นบันได ส่วนห้องน้ำมักจะลื่นทำให้หกล้มได้งาย บางทีก็สะดุดล้มสิ่งของในบ้านได้ ถ้าเป็นบริเวณนอกบ้าน พื้นถนนมักจะไม่เรียบ เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ง่ายเช่นเดียวกันครับ

DJอย่างบริเวณบันไดในบ้าน ก็ควรจะติดไฟให้สว่างใช่ไหมคะ
นพ.ภรเอกการติดไฟหรือการมีหน้าต่างจะทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดขึ้นครับ บันไดก็ควรจะมีราวจับเพื่อให้จับและพยุงตัวได้สะดวกขึ้นครับ

DJผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหรือทานยารักษาอยู่เป็นสาเหตุที่ทำให้หกล้มหรือมีผลข้างเคียงไหมคะ
นพ.ภรเอกเป็นสาเหตุใหญ่ครับ เพราะการหกล้มในผู้สูงอายุมักจะเกิดจากหลายสาเหตุพร้อมกัน ทั้งเรื่องยา เรื่องโรคประจำตัว โรคประจำตัวที่มีปัญหาได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้การเดินไม่ค่อยมั่นคง โรคพาร์กินสัน ปัญหาโรคข้อทั้งหลาย ปวดเข่าเดินไม่สะดวกรวมถึงปัญหาสายตาที่ทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน ส่วนเร่องยามียาหลายตัวที่ส่งผลทำให้หกล้มได้ง่าย ส่วนมากจะเป็นพวกยานอนหลับ ยาแก้แพ้บางชนิดและยาลดความดันโลหิต

DJเพราะฉะนั้นหลังการทานยาพวกนี้แล้วควรพักผ่อนหรือพยายามไม่เคลื่อนไหวใช่ไหมคะ
นพ.ภรเอกส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาทันที แต่อยากให้ระวังว่าควรอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์ บางท่านจัดยาเองทำให้ทานยาเกินขนาด

DJเคยสังเกตผู้สูงอายุบางคนมักใจร้อนและชอบเดินเร็ว จะทำอย่างไรคะ
นพ.ภรเอกมีสองอย่างคือการเปลี่ยนท่ารวดเร็ว คือต้องมีสติ ต้องมองก่อนแล้วค่อยก้าวเดิน อีกอย่างหนึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ทำให้ดูเหมือนกับรีบเดิน เดินเร็ว

DJเคยได้ยินว่าถ้าเวลาจะหกล้มไม่ควรเอามือไปค้ำจริงหรือเปล่าคะ
นพ.ภรเอกจริงๆมันก็ไม่ดีนะครับ ที่ว่าห้ามเอามือไปค้ำคือห่วงว่าถ้าเกิดกระดูกข้อมือไม่แข็งแรงอาจจะทำให้ข้อมือหักได้ แต่การที่ปล่อยให้ล้มไปเลยไม่เอามือค้ำก็ไม่ดีเช่นกันอาจทำให้กระดูกสะโพกหัก

DJกระดูกส่วนไหนของผู้สูงอายุที่เปราะและหักง่ายที่สุดคะ
นพ.ภรเอกทั้งหมดครับ ข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง มีปัญหาได้หมด เพียงแต่ว่าที่กลัวกันคือเรื่องกระดูกสะโพก เพราะว่าถ้าหักแล้วจะเป็นปัญหาใหญ่ ต้องผ่าตัดและมีผลแทรกซ้อนเยอะ แต่ส่วนไหนก็หักได้ทั้งนั้น

DJการหกล้มเป็นในลักษณะเดิมซ้ำๆเป็นไปได้ไหมคะ
นพ.ภรเอกเป็นไปได้ครับ เพราะการหกล้มเกิดจากหลายสาเหตุถึงแม้ว่าจะแก้ไปได้สาเหตุหนึ่งแต่ก็ยังทำให้ผู้สูงอายุหกล้มลักษณะเดิมได้อีก

DJแล้วการหกล้มในส่วนของสะโพกมีความจำเป็นต้องผ่าตัดไหมคะหรือต้องดูองค์ประกอบอื่นหลายอย่าง
นพ.ภรเอกต้องดูทั้งอาการและความแข็งแรงของร่างกาย บางท่านไม่อาจผ่าตัดได้เพราะร่างกายไม่แข็งแรงพอเป็นต้น

DJคำว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวอายุประมาณเท่าไหร่คะ
นพ.ภรเอกจริงๆผู้สูงอายุต่างกับเด็กที่สามารถกำหนดได้ชัดเจนว่าอายุเท่าไหร่ทำอะไรได้ แต่ผู้สูงอายุแตกต่างกันมากครับผู้สูงอายุบาคงอายุแปดสิบยังแข็งแรงอยู่ บางคนพึ่งหกสิบทำอะไรไม่ได้แล้ว ผู้สูงอายุจึงดูที่ตัวเลขไม่ได้ ต้องดูเป็นรายบุคคลไป

DJถ้าผู้สูงอายุต้องไปไหนคนเดียว ต้องเตรียมอะไรบ้างคะ
นพ.ภรเอกอย่างแรกคืออย่ากลัวจนเกินไป ก็ควรปล่อยบ้าง สนับสนุนให้เขาไป มีวิธีให้เขาติดต่อสื่อสารกับเราได้ ไปสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยก็ให้คอยสังเกต ส่วนเรื่องไม้เท้า ก็ต้องแล้วแต่ผู้สูงอายุแต่ละท่านว่ามีปัญหาในการเดินหรือไม่

DJวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือต้องปฏิบัติอย่างไรถ้าเจอผู้สูงอายุหกล้มอยู่คะ
นพ.ภรเอกเข้าไปถามก่อนว่ารู้สึกอย่างไร ให้ลองขยับขาดูนะครับ ถ้าขยับได้แล้วเขาบอกว่าไม่เป็นไรก็ให้พยุงเขาขึ้นช้าๆแล้วหาที่นั่งให้นั่งพักก่อนสักครู่

DJโดยรวมการป้องกันทำอย่างไรคะ
นพ.ภรเอกแก้ที่สาเหตุ ว่ามีสาเหตุหรือปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เขาล้มง่าย ถ้ามีโรคประจำตัวก็ต้องควบคุมให้เรียบร้อย แก้ไขปัญหาเรื่องสายตา เรื่องต้อ ก็สามารถผ่าตัดดีขึ้น แล้วก็สถานที่โดยเฉพาะห้องน้ำและบันไดต้องมีราวจับ สุดท้ายก็ต้องสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ทานอาหารที่หลากหลาย ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงโดยเฉพาะขาทั้งสองข้าง การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเป็นการออกกำลังกายที่ไม่นัก เช่น รำมวยจีน การเดินเร็ว ว่ายน้ำ และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขครับ

DJสุดท้ายฝากคำแนะนำให้กับผู้สูงอายุหน่อยค่ะ
นพ.ภรเอกแนะนำให้ดูแลตัวเองให้เรียบร้อย แล้วก็ดูแลเรื่องโรคประจำตัว คงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหลายฝ่ายทั้งผู้สูงอายุเอง ลูกหลานแล้วก็ครอบครัว รวมถึงแพทย์ที่ดูแลครับ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด