ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( Acute Myocardial Infarction) ( Acute MI) คือ ภาวะที่เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายในที่สุด

 


สาเหตุของโรค

เกิดจากการที่ก้อนไขมันในเส้นเลือดหัวใจเกิดการปริแตกออกทำให้เกิดการจับตัวกันของเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดการปริแตกของก้อนไขมันอาจจะพบได้ว่าผู้ป่วยออกกำลังมามากก่อนมีอาการ หรือมีอารมณ์เครียด หรือเกิดหลังจากการเสียเลือด เช่นการผ่าตัด

อาการของโรค

เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับตลอดเวลาอาจมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออกและมีอาการเจ็บร้าวไปที่คอ แขน หรือหลังได้ อาการมักจะรุนแรงและเป็นนานมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป

อาการอื่นๆที่อาจพบได้ คือ

คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ใจสั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออก เหนื่อยหอบ แน่นในท้อง

 

 การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย


การรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับ
1.การให้ออกซิเจน
2.การให้ยาแก้ปวด
3.การใช้ยาขยายหลอดเลือด
4.การใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือยาละลายลิ่มเลือด
5.การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป

โดยทั่วไปผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจโดยเฉพาะ เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสัญญาณชีพอยู่บ่อยๆ และควรจะได้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ตลอดเวลา
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้อมยาไนไตรกลีเซอรีน หรือ ไนเตรตใต้ลิ้น แล้วรีบมาโรงพยาบาล

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค

1. เพศชายอายุเกิน 40 ปี เพศหญิงวัยหมดประจำเดือน
2. การสูบบุหรี่
3. ภาวะไขมันในเลือดสูง
4. ความดันโลหิตสูง
5. โรคเบาหวาน
6. อ้วน

วิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค

1. ควบคุมโรคความดันโลหิตสูง อาหาร และการใช้ยา
2. หยุดสูบบุหรี่
3. ลดระดับไขมันในเลือด โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลต่ำ งดอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าวและกะทิ
4. ปรับปริมาณแคลอรี่ในอาหารให้พอดี เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับความสูง
5. ออกกำลังกายพอประมาณทุกวัน หรืออย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์
6. ถ้าเป็นเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี

จากเอกสารเผยแพร่ รพ.พระมงกุฎ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด