ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคติดเชื้อไอพีดี(IPD)

ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ยังมีอีกหลายโรคที่ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพของเด็กทารก อาทิ โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส (โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัสที่รุนแแรงเราจะเรียกว่า โรคติดเชื้อไอพีดี(IPD) ย่อมากจากคำว่า “Invasive Pneumo coccal Disease” ) ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความพิการและความตายของเด็กทารกทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าทำให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบในทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็มีอุบัติการณ์โรคนี้เช่นกัน

ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ยังมีอีกหลายโรคที่ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพของเด็กทารก อาทิ โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความพิการและความตายของเด็กทารกทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าทำให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบในทั่วโลกเสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้มากกว่า 1 ล้านคนต่อปี แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็มีอุบัติการณ์โรคนี้เช่นกัน

ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เผยว่า โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัสที่รุนแแรงเราจะเรียกว่า โรคติดเชื้อไอพีดี(IPD) ย่อมากจากคำว่า “Invasive Pneumo coccal Disease” ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงในเด็ก ที่มีมานานแล้ว แต่คนส่วนใหญ่จะไม่รู้จัก โดยเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรียสเตรปโค-คอกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) หรือรู้จักในชื่อ นิวโมคอกคัส ซึ่งจะพบได้ทั่วโลกในคนทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบได้บ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้

โรคติดเชื้อไอพีดี ประกอบกลุ่มโรคที่รุนแรง ดังนี้ โรคเยื่อบุสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสนี้ และยังยังพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไอพีดีจำนวนมากที่เกิดอาการพิการทางสมอง และระบบประสาท ทำให้มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว การสูญเสียระบบสั่งการ ลมชัก และการผิดปกติท่าวงด้านสติปัญญาอีกด้วย

แม้ในประเทศไทยจะยังไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง แต่โรคติดเชื้อไอพีดีนี้ไม่ใช่โรคใหม่สำหรับคนไทย เพราะโรคติดเชื้อไอพีดี จะมีอาการเป็นไข้คล้ายกับโรคติดเชื้อทั่วไป คนส่วนใหญ่จึงมักคิดว่าเป็นไข้ธรรมดา และไม่ให้ความสำคัญในการตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการติเชื้อดังกล่าวในบางรายสามารถคร่าชีวิตเด็กทารกได้ภายใน 48 ชั่วโมง หรือภายใน 2 วันเลยทีเดียว

โรคติดเชื้อไอพีดี สามารถทำให้ติดเชื้อรุนแรงได้ในอวัยวะหลายระบบ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีก็สามารถเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว บางรายอาจเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 วันอย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อที่พบได้บ่อย ได้แก่
การติดเชื้อในระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้สูง ปวดศรีษะอย่างแรง คลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง ส่วนในรายเด็กทารกจะวินิจฉัยยาก อาจมีอาการงอแง ซึม ไม่กินนม และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิต หรือพิการ หูหนวก ปัญญาอ่อน

การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง ร้องกวน งอแง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ช็อก เสียชีวิต นอกจากนี้ เชื้ออาจกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมอง ปอด กระดูกและข้อ เป็นต้น

การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่นหูน้ำหนวก เด็กจะมีอาการไข้สูง บ่นปวดหู งอแง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจรุกรามไปอวัยวะข้างเคียงหรือสมองได้ และเกิดหูน้ำหนวกเรื้อรัง แก้วหูทะลุ และการได้ยินบกพร่อง ซึ่งมีผลต่อพัฒนาทางด้านภาษาของเด็กด้วย

การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่นปอดอักเสบ เด็กจะมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตได้ถ้าได้รับการรักษาล้าช้า

โรคติดเชื้อไอพีดี ถือเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความพิการและการตายทั่วโลก อีกทั้งเป็นโรคที่ยากต่อการวินิจฉัย ต้องตรวจเจาะไขสันหลัง และการรักษาก็ทำได้ยากมาก เพราะปัจจุบันการติดเชื้อโรคไอพีดี เป็นเชื้อโรคที่ดื้อต่อยารักษา
“เชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดเชื้อไอพีดี พบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะแม้จะมีสุขภาพแข็งแรงดีก็ตาม โดยเชื้อนี้พบได้ทั่วไปในโพรงจมูก และลำคอ สามารถแพร่กระจายเข้าไปสู่คนอื่นได้ง่าย โดยการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป เช่น เดียวกับโรคหวัด ยิ่งถ้าโรคนี้เข้าสู่เด็กเล็กซึ่งยังไม่มีภูมิต้านทานโรค ก็อาจเกิดติดเชื้อไอพีดีนี้ขึ้น มาได้ ศ.น.พ.สมศักดิ์ กล่าว

การป้องกันการติดเชื้อโรคไอพีดีนี้ ทำได้หลายวิธี เช่น สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม สอนให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่เป็นหวัดหรือป่วย และในเด็กเล็กคุณแม่ควรให้กินนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อไอพีดีได้ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั่งแต่ยังเป็นทารก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ซึ่งปัจจุบันวงการแพทย์ต่างประเทศมีการใช้วัคซีนแล้วในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ เป็นต้น ส่วนประเทศไทยกำลังจะนำมาใช้

ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกตอาการเด็กเวลามีไข้สูงว่ามีอาการตามที่กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่หากพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอีกครั้ง ซึ่งแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและมีการส่งเลือดหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ไปตรวจยืนยันทางห้องปฎิบัติการอีกครั้ง โดยการรักษาจะทำได้โดยการให้ยาปฎิชีวนะ ซึ่งมักได้ผลหากเชื้อไม่ดื้อยา

แม้โรคติดเชื้อไอพีดี จะสามารถรักษาได้ด้วยยาปฎิชีวนะ ร่วมกับวิธีทางการแพทย์อื่นๆ แต่ปัจจุบันพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัสบางสายพันธุ์ มีการพัฒนาการดื้อยาทำให้การรักษายากลำบาก เสียค่าใช่จ่ายสูงและหากรักษาไม่ทันท่วงทีก็อาจเสียชีวิต หรือพิการได้ ดังนั้น การให้วัคซีนในทารกและเด็กเล็ก จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด