ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย

วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย HealthServ.net

วัณโรค รู้เร็ว….รักษาหาย…ไม่แพร่กระจาย ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูงควรรับประทานยาให้ครบทุกมื้อ ครบทุกเม็ด ป้องกันไม่ให้เกิดอาการดื้อยา ซึ่งใช้เวลาในการรักษา 6-8 เดือน มีพี่เลี้ยงดูแลการกินยาจนครบการรักษา ไม่หยุดยาเองหากมีอาการแพ้ยา ควรรีบปรึกษาแพทย์

วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย ThumbMobile HealthServ.net
วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย HealthServ
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการไอ จาม 
 
อาการสงสัยวัณโรค 

ไอมีเลือดปน, เจ็บหน้าอก, น้ำหนักลด, ไอเกิน 2 สัปดาห์, มีไข้ และเหงื่อออกตอนกลางคืน, เบื่ออาหาร
 
 
การตรวจวินิจฉัยโรค
 
1.คัดกรองอาการสงสัย
2.เอกซเรย์ทรวงอก
3.ตรวจเสมหะ
 
 
วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย HealthServ
  
ใครบ้างมีความเสี่ยงวัณโรค
 
  • ผู้สัมผัสวัณโรค
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ต้องขัง
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ติดสุรา สารเสพติด
  • บุคลากรสาธารณสุข
  • บุคคลที่มีอาการสงสัยวัณโรค
 
การรักษาและการปฏิบัติตนเมื่อป่วยวัณโรค
 
  1. กินยาทุกวัน จนครบ 6 เดือน หากแพ้ยา ควรปรึกษาแพทย์
  2. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
  3. บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิด
  4. รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย ให้มีอากาศถ่ายเท
  5. ทานอาหารมีประโยชน์ งดสุรา บุหรี่ สารเสพติด
  6. นำสมาชิกในครอบครัว ไปตรวจคัดกรองวัณโรค
 
 
ข้อมูลจากกองวัณโรค กรมควบคุมโรค 
วัณโรค รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย
สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
 
 
 
 
 
 

ประวัติศาสตร์วัณโรค และการรณรงค์ในประเทศไทย

 
วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1882 ดร.โรเบิร์ต คอช (Dr. Robert Koch) ประกาศการพบสาเหตุของ วัณโรค คือเชื้อแบคทีเรีย Tubercle bacillus เป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในช่วงที่วัณโรคได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรปและอเมริกา การค้นพบของเขาจึงช่วยเบิกทางการวิเคราะห์คิดค้นวิธีรักษาวันโรค ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 ในโอกาสครบรอบ 100 ปี การประกาศของเขา สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (IUATLD: International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) เสนอให้กำหนด 24 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันวัณโรคโลก (World TB Day) อย่างเป็นทางการเพื่อร่วมกัน ต่อต้านวันโรคและย่ำเตือนให้ประชากรทั่วโลกตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาดทั่วโลกเป็น สาเหตุการเสียชีวิตกว่า 1.75 ล้านคนต่อปี องค์การอนามัยโลกจึงได้ร่วมกับ IUATLD และองค์กรที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์ให้ทั่วโลกเห็นความสำคัญและร่วมกันต่อด้านวัณโรค
 
 
 
วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) วันโรคยังคงเป็นโรคติดต่อที่เป็นนักฆ่าที่อันตรายที่สุดในโลก โดยในแต่ละวันจะมีคนเสียชีวิตจากวัณโรคมากกว่า 4, 100 คน และเกือบ 28,000 คน ล้มป่วยด้วยวันโรค ส่วนประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่ามีผู้ป่วยวันโรครายใหม่ 105,000 รายต่อปี และมีการเสียชีวิตเนื่องจากวันโรคมากถึง 10,000 รายต่อปี กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ได้ตระหนักถึงปัญหานี้มาโดยตลอด และได้ดำเนินงานควบคุมวัณโรคตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรคให้เป็นไปตามข้อตกลงนานาชาติของการประชุม United Nations High-Level Meeting (UNHLM) ประชุมปี 2561 และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGร ปี พ.ศ. 2573 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB Strategy) ในปี พ.ศ.2578
 
 
การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยเครือข่ายการประสานความร่วมมือของหน่วยงานและสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชนในการมีส่วนร่วมในการควบคุมวัณโรค ได้แก่ การค้นหา การรักษา การส่งต่อ การรายงานข้อมูลผู้ป่วย รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้วัณโรคสู่ประชาชน ส่งเสริมการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนก่อให้เกิดความร่วมมือในการควบคุมวัณโรคของทุกภาคส่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานการดำเนินงานวัณโรคแห่งชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
 
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์ ในวันวัณโรคสากลประจำปี พ.ศ. 2565 (World TB Day 2022) พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 24 มีนาคม 2565 ภายใต้ Theme รณรงค์ โดยปีนี้ ทาง Stop TB Partnership และองค์กรต่างๆระดับนานาชาติ ได้ใช้ Theme "INVEST TO END TB. SAVE LIVES." "ร่วมพลัง ต่อชีวิต เพื่อภารกิจยุติวัณโรค" เพื่อเป็นข้อความสื่อไปถึงทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ไปในทิศทางเดียวกัน
 
 

"ร่วมพลัง ต่อชีวิต เพื่อภารกิจยุติวัณโรค"
"INVEST TO END TB. SAVE LIVES."

 
การดำเนินงานเพื่อยุติวันโรค ให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายของทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับร่วมมือประสานงาน รวมพลังมุ่งมั่นทุ่มเท ทั้งทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณกับการกิจหลักด้านการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ด้านการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านการดูแลรักษาที่ได้มาตรฐาน ด้านการป้องกันวันโรค ตลอดจนการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการวินิจฉัยแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญ เข้าสู่กระบวนการรักษาทุกรายให้หายด้วยเทคนิคการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง Patient Centered Care และ DOT เสริมสร้างความรอบรู้ให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ลดการรังเกียจตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชีวิต ลดอัตราการป่วย และอัตราการตายจากวัณโรคให้มากที่สุด เพื่อยุติปัญหาวัณโรคของประเทศ" ตามเป้าหมายการยุติวัณโรคของแผนปฏิบัติการระดับชาติ อันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายอันสูงสุด (Vision) คือ TB-Free Thailand For TB-Free World "เมืองไทยปลอดวันโรค เพื่อโลกปลอดวัณโรค" ต่อไป
 
 
Key message

"รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย" สำหรับการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศ ให้พึงตระหนักถึงวัณโรคอยู่ตลอดเวลา ตรวจหาวัณโรคทันทีเมื่อรู้ว่าเป็นผู้สัมผัส หรือเมื่อมีอาการ หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อเข้าสู่กระบนการรักษาไม่ให้เกิดความล่าช้ (Delay Treatment) ดูแลรักษาตนเองอย่างเคร่งครัด เพราะวัณโรครักษาหายได้ ลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นต่อไป

รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 - 2563

รายงานการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 - 2563 ลิงค์  https://shorturl.asia/ST2Yl

เกี่ยวกับรายงาน

ประเทศไทยในฐานะสมาชิกขององค์การอนามัยโลกได้ดำเนินการแผนงานวัณโรคของประเทศตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก ที่มีเป้าหมายให้การดำเนินงานวัณโรคมีประสิทธิภาพในการลดการเจ็บป่วยเสียชีวิตจากวัณโรคของประชาชน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดปัญหาของวัณโรคในภาพรวมของโลก โดยจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงานวัณโรคของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศเป็นระยะ เพื่อให้ข้อแนะนำในการปรับปรุงการดำเนินงาน อีกทั้งโน้มน้าวให้ผู้บริหารระดับสูงของประเทศเห็นถึงความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานวัณโรค ซึ่งการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลกในประเทศไทยครั้งล่าสุด ดำเนินการเป็นครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งปกติการประเมินจะดำเนินการทุก 5 ปี หรือขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ
 
เพื่อให้การประเมินแผนงานวัณโรคของประเทศทย ที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กองวัณโรคได้จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ใช้ประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศ 5 ปีที่ผ่านมาจากโปรแกรมรายงานข้อมูลวัณโรคของประเทศไทย (NTP) จำแนกตามสำนักงานป้องกันควบคุมโรค เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานแต่ละประเด็นตามรายพื้นที่ นอกจากนี้กองวัณโรคได้พัฒนาชุดคำถาม (checkist/ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลกและองค์กรนานาชาติในการติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทั้งระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับโรงพยาบาล ทตสอบชุดคำถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลและกรุงเทพมหานคร จำนวน 51 แห่ง ได้ข้อมูลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในประเด็นต่างๆ

การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง

 

เมื่อมีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้านควรทำอย่างไร

เชื้อวัณโรคจัดเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่มีการเจริญเติบโตช้า อาการจึงอาจมาได้ช้า กว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ สามารถติดต่อผ่านทางเดินหายใจภายในปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ ม้าม กระดูกหรือเยื่อหุ้มสมอง

วัณโรคกระดูกสันหลัง (Pott Disease)

 วัณโรคกระดูกสันหลัง (Pott Disease) เป็นการติดเชื้อวัณโรคที่บริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท หากเกิดในเด็กจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลัง ทำให้หลังโก่ง พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
 

วัณโรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบ (TB Meningitis)

 วัณโรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบ (TB Meningitis) เป็นวัณโรคชนิดรุนแรงของเยื่อหุ้มสมอง มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต และความพิการสูง สำหรับการรักษา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รักษานานอย่างน้อย 9-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

วัณโรคต่อมน้ำเหลือง

 วัณโรคต่อมน้ำเหลือง เป็นวัณโรคนอกปอดที่พบได้บ่อยที่สุด มักมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ผู้ป่วยส่วนมาก จะมาพบแพทย์ด้วยมีก้อนที่บริเวณลำคอ อาจเป็นก้อนใหญ่ร่วมกับไข้เรื้อรัง หรือเป็นก้อนโตต่อกันเป็นสายยาวเรียกว่า "ฝีประคำร้อย"
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด