ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

จับตานโยบายสุขภาพ ผู้ว่ากทม.คนใหม่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กัปตันBangkok

จับตานโยบายสุขภาพ ผู้ว่ากทม.คนใหม่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กัปตันBangkok HealthServ.net
จับตานโยบายสุขภาพ ผู้ว่ากทม.คนใหม่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กัปตันBangkok ThumbMobile HealthServ.net

ผลการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ครั้งแรกในรอบ 9 ปี ชัดเจนแล้วว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เป็นผู้ว่ากทม.คนใหม่ กับคะแนนเสียงประวัติศาสตร์ราว 1.3 ล้านคะแนน เป็นเอกฉันทานุมัติที่เปี่ยมด้วยความหวังว่าเมืองหลวงแห่งประเทศไทย จะเดินหน้าต่อไปสู่อนาคตอย่างแข็งแกร่ง มีทิศทาง และมีประสิทธิภาพ

จับตานโยบายสุขภาพ ผู้ว่ากทม.คนใหม่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กัปตันBangkok HealthServ


ส่องกล้องมองดูนโยบายของท่านผู้ว่ากทม.ที่ได้เผยแพร่เอาไว้บนเว็บไซต์ chadchart.com ทั้งหมด 214 นโยบาย ใน 9 หมวดหมู่ ได้แก่ ปลอดภัยดี (34)สร้างสรรค์ดี (20)สิ่งแวดล้อมดี (34)เศรษฐกิจดี (30)เดินทางดี (42)สุขภาพดี (34)โครงสร้างดี (34)เรียนดี (28)บริหารจัดการดี (31) ต่อจากนี้ไป จะถูกหยิบยกออกมาคลี่ เปิดแผนปฏิบัติในแต่ละหัวข้อทีละเรื่อง และเริ่มเดินหน้าไปให้บรรลุเป้าหมาย 
 
สำหรับด้านสุขภาพและการสาธารณสุขเป็นหนึ่งประเด็นที่สำคัญที่อยู่ในความสนใจ  ที่ผู้ว่าชัชชาติ ได้ประกาศนิยามไว้ว่า   "ดูแลสุขภาพเชิงรุกถึงย่านที่อยู่อาศัย"  พร้อมแผนนโยบายในหมวดสุขภาพดี  ที่มี 34 นโยบาย จำแนกเป็นนโยบาย 6 หมวดย่อย ได้แก่ อากาศ (8 นโยบาย) พื้นที่สีเขียว (3 นโยบาย) จราจร (1 นโยบาย) พื้นที่สาธารณะ (2 นโยบาย) พื้นที่ออกกำลัง (4 นโยบาย) การรักษาพยาบาล (7 นโยบาย)


กล่าวจำเพาะลงไป ในนโยบาย ที่เป็นด้าน "การรักษาพยาบาล"  ที่แม้จะดูน้อยไปบ้างเพียง 7 นโยบาย เท่านั้น  แต่เมื่อดูเนื้อหาแต่ละนโยบาย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "นโยบายเล็กแต่เอฟเฟคเบิ้ม"  เหตุเพราะแต่ละนโยบาย ต้องเกี่ยวข้องกับงบประมาณจำนวนมาก  แต่จะช่วยเหลือ ยกระดับคุณภาพชีวิตต่อประชาชนคนกรุงได้มากมาย และจะยังแผ่ขยายกระจายประโยชน์ออกไปพื้นที่ที่กว้างไกลได้อีกมาก เรียกว่าส่งผลระดับกว้างอย่างมีนัยยะเลยทีเดียว  ดังนั้นจึงจำเป็นที่ควรจะต้องไปไล่เรียงดูกันแต่ละนโยบายกัน

 

1.ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง

ประโยชน์คนกรุงฯ
- ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
- ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดี
 
รายละเอียด

ส่งเสริมและต่อยอดการดำเนินการของโครงการ BMA Home Ward การดูแลผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหลักร่วมกับการดูแลติดตามโดยศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) ในชุมชนกว่า 2,000 แห่ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมายังสถานพยาบาลของผู้ป่วยและครอบครัว และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตลอดจนลดภาระงานของเจ้าหน้าที่แพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาล ลดปัญหาเตียงเต็มและความแออัด
 
กทม.จะดำเนินการส่งเสริมการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ Care Giver (CG) ใน อสส. รวมถึงการอบรม CG ในสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วย ผสมผสานการติดตามและดูแลการรักษาจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลทันสมัย (remote monitoring) ทั้ง 
 
  1. Telemedicine พบหมอได้จากที่บ้าน
  2. นำหมอไปหาชุมชนและแหล่งที่อยู่อาศัยด้วย Mobile Medical Unit
  3. แอพพลิเคชันในการเก็บข้อมูลผู้ป่วยตามบ้านให้อยู่ในระบบเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข 
  4. แอพพลิเคชันอำนวยความสะดวกให้ อสส. สามารถประเมินและคัดกรองโรคของผู้ป่วยได้เบื้องต้น
 
กลุ่มเป้าหมาย จากเดิมที่ดูแลรักษากลุ่มผู้ป่วยติดเตียง (long-term care) และการดูแลกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย (palliative care) เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคสมองเสื่อม และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)  ขยายโครงการและการดูแลสู่กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือต้องมีคนช่วยดูแลในกลุ่มโรคอื่น และคนที่มีโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาในระยะยาว เช่น กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  (NCDs) เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด และเบาหวาน

2.ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางระยะไกล ลดเวลาในการเดินทางและความแออัดในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ 
  - ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดีใกล้บ้านในระดับเส้นเลือดฝอย
  - คลินิกบริการและการรักษาโรคตอบโจทย์ความต้องการ ตรงกับวิถีชีวิตของประชาชน
 
 
รายละเอียด

ปัจจุบัน กทม.มีศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) หลัก 69 แห่ง ซึ่งเป็นการบริการการแพทย์ปฐมภูมิ (primary care) สำหรับประชาชน จากสถิติปี 2563 มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 1.72 ล้านครั้ง (แบ่งเป็นในเวลาราชการ 1.35 ล้านครั้ง และนอกเวลาราชการประมาณ 370,000 ครั้ง) 
 
ศบส.หลายแห่งยังมีปัญหาในหลายมิติแตกต่างกันไปในแต่ละศูนย์ เช่น โครงสร้างพื้นฐานและอาคารทรุดโทรม ความแออัดของการใช้งาน ปริมาณบุคลากรที่ไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วย ส่งผลต่อขีดความสามารถในการรักษาที่จำกัด
 
เพื่อยกระดับคุณภาพของการบริการรักษาปฐมภูมิ กทม.จะพัฒนาคุณภาพ ศบส. ดังนี้ 
 
  1. ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารเดิมให้ทันสมัย เพียงพอกับผู้ใช้งาน 
  2. จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุทางการแพทย์ที่จำเป็น
  3. เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เฉพาะทางให้เพียงพอ เช่น ทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่พยาบาล นักกายภาพบำบัด ที่ปรึกษาทางจิตวิทยา ด้วยการจ้างประจำในกรอบอัตรากำลังและลูกจ้างชั่วคราวหรือ outsourcing
  4. เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนคลินิกการให้บริการ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนเมืองและกลุ่มโรคในปัจจุบัน เช่น คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกจิตวิทยาปรึกษา สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย คลินิกสุภาพสตรีที่ครอบคลุมบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  5. ขยายบริการของคลินิกนอกเวลาราชการ ตามแบบการประเมินและความต้องการของประชาชนในพื้นที่
  6. ปรับปรุงสวัสดิการ ค่าล่วงเวลา ตลอดจนค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับภาระงานในส่วนเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล ข้าราชการ ตลอดจนการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวหรือโครงการตามอัตรากำลังที่ขาดแคลน 
  7. เพิ่มบริการให้ยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เกี่ยวกับคนพิการ เช่น รถเข็น (Wheel Chair) เครื่องช่วยเดิน ถังออกซิเจน ฯลฯ

3.หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - ประชาชนได้รับการบริการและรักษาพยาบาลที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้โดยไม่ลดต้นทุนเวลาและค่าใช้จ่ายได้
 
 
รายละเอียด

ประสบการณ์และภาพจำของประชาชนในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งการรอคิวที่ล่าช้าด้วยการทำเอกสาร การนัดหมาย การรอชำระเงินและรับยา ตลอดจนการรอพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงแต่มีจำนวนจำกัด หลายพื้นที่ครอบครัวอยู่ห่างไกลสถานพยาบาล ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ต้องใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลกว่าครึ่งวัน แต่พบแพทย์เพียง 10-15 นาที 
 
ผู้ป่วยหลายกลุ่มโรคต้องมีการตรวจรักษาเป็นประจำเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของอาการ (follow up) ทุกๆ เดือน หรือ 3 เดือนครั้ง ส่งผลให้ประชาชนบางกลุ่มเสียโอกาสในการทำงานสร้างรายได้ ไม่อยากลางานหรือหยุดงานเนื่องจากขาดรายได้และเป็นภาระค่าใช้จ่าย ยิ่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถานพยาบาลของกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ 
 
ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนด้วยการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย และโครงข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์
 
แม้ปัจจุบัน กทม. จะมีการริเริ่มโครงการ telemedicine ผ่านแอพพลิเคชั่น “หมอ กทม.” ในกลุ่มผู้ป่วยนอก (OPD) ที่มีข้อมูลผู้ป่วยอยู่เดิมภายใต้สถานพยาบาลในสังกัดบ้างแล้ว ในระยะยาว กทม.จะพัฒนาให้การให้บริการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลครอบคลุมครบวงจร เช่น การรับแจ้งผู้ป่วยและทำนัดหมาย เช่น ผ่านแอพพลิเคชั่นของ กทม. อย่าง BMAQ การชำระเงินรูปแบบออนไลน์ (e-Payment) การรับยาที่บ้านหรือร้านยาใกล้บ้าน ผสานกับแจ้งเตือนให้กินยาให้ถูกต้องตามแพทย์แนะนำ
 
เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการการรักษาที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้ผ่านการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยแบ่งการใช้เทคโนโลยีเป็น 2 รูปแบบ คือ 
 
  1. การบริการจากสถานพยาบาลทุติยภูมิ (โรงพยาบาล) กับปฐมภูมิ (ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือศูนย์สุขภาพชุมชน) เพื่อเสริมบริการการรักษาแบบมีเจ้าหน้าที่คอยสนับสนุน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและต้องการความช่วยเหลือ
  2. การบริการแบบ end-to-end ใช้แอพพลิเคชั่นทางสมาร์ตโฟนเพื่อให้สถานพยาบาลติดต่อกับคนไข้ที่ต้องพบแพทย์เป็นประจำและมีประวัติการรักษาอยู่เดิมได้โดยตรง ลดการเดินทาง พบหมอออนไลน์ รอรับยาที่บ้าน
 
 

4.Mobile Medical Unit รถสุขภาพเชิงรุก ตรวจถึงชุมชน

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางระยะไกล ลดเวลาในการเดินทาง และลดความแออัดในสถานพยาบาลโดยไม่จำเป็น 
  - ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดีใกล้บ้านในระดับเส้นเลือดฝอย
 
 
รายละเอียด

รถตรวจเชิงรุกชุมชน สุขภาพดีวิถีใหม่ - ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพฯ (อสส.) และยกระดับการเข้าถึงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ สาธารณสุขชุมชน และหน่วยตรวจเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษา   
 
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และพยาบาลสามารถตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ตรวจวัดค่าสัญญาณชีพ (vital signs) ตรวจวัดมวลกล้ามเนื้อและองค์ประกอบของร่างกายเพื่อดูเรื่องโภชนาการ เจาะเลือดส่งตรวจ เอ็กซเรย์ รวมถึงจ่ายยาสามัญพื้นฐานให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็ว  
 
นอกจากนี้ ในตัวรถยังติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล (digital device) เพื่อเชื่อมต่อบริการทางการแพทย์ผ่านระบบ telemedicine ด้วยอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณคุณภาพสูงระบบ 5G ให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ด่านหน้าได้รับคำปรึกษาหรือวินิจฉัยโรคจากจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
 
การบริการภายใต้ตัวรถ mobile unit ที่ทันสมัย ตลอดจนมีพื้นที่ปิดมิดชิด ส่งผลให้การซักถามอาการโรคหรือการตรวจคัดกรองเบื้องต้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรี 
 
เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนคนกรุงเทพฯ เข้าถึงสวัสดิการด้านการตรวจคัดกรองสุขภาพพื้นฐาน ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายและเป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่จะได้รับการบริการสาธารณสุขคุณภาพดี
 
 
 

5.เร่งรัดผลักดันการก่อสร้าง และศึกษาการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ให้ครอบคลุม

ประโยชน์คนกรุงฯ
 - การบริการสาธารณสุขและรักษาพยาบาลของรัฐภายใต้สังกัด กทม. ครอบคลุมประชาชนส่วนใหญ่ใน 6 กลุ่มเขต
 
 
รายละเอียด

ปัจจุบันโรงพยาบาลสังกัดของ กทม.มีทั้งหมด 12 แห่ง โดยสังกัดอยู่ในสำนักการแพทย์ 11 แห่ง ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นต้น โดยมีโรงพยาบาลวชิระ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 
 
 
โดยสถิติปี 2563 จำนวนเตียงในสถานพยาบาล 11 แห่งมีจำนวน 2,200 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 7.17 จากจำนวนเตียงของโรงพยาบาลทั้งหมดในกรุงเทพฯ (ทั้งรัฐและเอกชนมีจำนวน 30,718 เตียง) ในสถานพยาบาลดังกล่าวมีจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้าใช้บริการและใช้สิทธิประกันสุขภาพเฉลี่ยสูงถึง 1.4 ล้านครั้งต่อปี มีจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้าใช้บริการและใช้สิทธิประกันสังคมประมาณ 500,000 ครั้งต่อปี โรงพยาบาลในสังกัดหลายแห่งมีบริการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ยังไม่มีโรงพยาบาลของรัฐที่ครอบคลุมการให้บริการสาธารณสุขซึ่งเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่สำคัญ
 
ดังนั้น กทม.จะศึกษาออกแบบความเป็นไปได้ในการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในพื้นที่ที่โครงสร้างพื้นฐานและจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างใหม่เติบโตในอัตราสูง แต่สถานพยาบาลของรัฐยังไม่ครอบคลุม เช่น ฝั่งกรุงธนเหนือ
 
 

6.การรักษาและส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อ ด้วยการบูรณาการข้อมูล

ประโยชน์คนกรุงฯ
 - การรักษาพยาบาลคุณภาพดี ด้วยการส่งต่อข้อมูลและส่งตัวผู้ป่วยแบบไร้รอยต่อ

รายละเอียด

ปัจจุบันฐานข้อมูลผู้ป่วย (data patient) ภายใต้ระบบบริหารจัดการข้อมูล (HIS: Hospital Information System) ภายในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนถูกบริหารแยกขาดจากกัน ทำให้การส่งต่อการรักษาผู้ป่วย (refer) ตลอดจนการเปลี่ยนสถานพยาบาลจากผู้ป่วยเองทำได้ยากลำบาก ด้วยสาเหตุและอุปสรรคจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลประวัติสุขภาพและประวัติการรักษาโรค 
 
ดังนั้น กทม.จะผลักดันการบูรณาการฐานข้อมูลผู้ป่วยต้นแบบ โดย
 
  • นำร่องจากการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลหลักภายใต้สังกัด กทม. และเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกับสถานพยาบาลปฐมภูมิประเภทศูนย์บริการสาธารณสุขทั่วกรุงเทพฯ
  • ส่งเสริมและลงทุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูล ผ่านการกำหนดมาตรฐานชุดข้อมูล (data standard set) เพื่อการบริการข้อมูลผู้ป่วย การรักษาฉุกเฉินเร่งด่วน (Emergency Medical Services: EMS) และการส่งตัวต้องไร้รอยต่อ (e-Refer)
  • อนาคตจะมีการผลักดันสู่การสร้างระบบข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Record: EHR) รวมถึงการบูรณาการการจัดการระหว่างกันของสถานพยาบาล ทั้งเรื่องการบริหารจัดการเตียง (Load Capacity) และการบริหารจัดการเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เฉพาะทางขั้นสูงที่มีจำนวนจำกัด เป้าหมายเพื่อดูแลรักษา ป้องกันการสูญเสียและเจ็บป่วยรุนแรงในประชาชนชาวกรุงเทพฯ

7.เพิ่มจำนวน Excellent Center และยกระดับศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง

ประโยชน์คนกรุงฯ

- คนกรุงเทพฯ ได้รับบริการการรักษาโรคขั้นสูงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยป้องกันการสูญเสียรุนแรงในชีวิตและสุขภาพร่างกาย
 
รายละเอียด

ปัจจุบันศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Excellent Center) ภายใต้สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 8 ศูนย์ฯ ซึ่ง 4 แห่งตั้งอยู่ภายใต้โรงพยาบาลกลาง 2 แห่งอยู่ภายใต้โรงพยาบาลตากสิน และอีก 2 แห่งอยู่ภายใต้โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ นอกจากนี้มีแผนการผลักดันการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง คือศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสิรินธร 
 
จากข้อมูลข้างต้นพบว่ามีการกระจุกตัวของศูนย์ความเป็นเลิศและเจ้าหน้าที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในบางพื้นที่ ส่งผลต่อการบริการรักษาโรคเฉพาะทาง ความสะดวกสบาย และการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของประชาชนที่ไม่ทั่วถึงครอบคลุม
 
ดังนั้น กทม. จะผลักดันการเพิ่มจำนวนศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ให้ครอบคลุมกลุ่มโรคคนเมืองยุคใหม่ ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่บริการให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขตทั่วกรุงเทพฯ ในโรงพยาบาลอื่น ๆ ภายใต้สังกัด นอกจากนี้ต้องมีการบูรณาการทางวิชาการและงานวิจัย ผลักดัน ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง (Urban Medicine Center) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่อยู่ภายใต้สังกัด กทม.เป็นศูนย์วิจัยการรักษาที่มีความเป็นเลิศทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ 
 

นโยบายที่เกี่ยวโยงกับด้านสุขภาพในหมวดอื่นๆ

นอกจากหมวดสุขภาพแล้ว ในหมวดอื่นยังมีนโยบายที่เกี่ยวโยงกับสุขภาพโดยตรงที่ต้องบันทึกไว้ดังนี้

น้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ฟรี ทั่วกรุง [เศรษฐกิจดีสุขภาพดี]

 
ประโยชน์คนกรุงฯ
  - ได้เข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ที่มีคุณภาพฟรี 
  - ลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
 

รายละเอียด

ปี 2547 กทม. การประปานครหลวง (กปน.) และบริษัทเอกชนได้ลงนามความร่วมมือกันในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ให้แก่ชาวกรุงเทพฯ ด้วยการติดตั้งตู้กดน้ำทั้งหมดประมาณ 387 จุด โดยทรัพย์สินตู้กดน้ำรวมถึงการบำรุงรักษาเป็นหน้าที่ของบริษัทเอกชน [1] 
 
ปัจจุบันสำนักจราจรและขนส่ง กทม. ทำหนังสือถึง กปน.ให้เร่งดำเนินการรื้อถอน โดย กปน.ได้ประสานไปยังบริษัทเอกชนให้ดำเนินการรื้อถอนให้ครบทุกจุด เพื่อที่สำนักจราจรและขนส่งกรุงเทพฯ จะได้ดำเนินการคืนทางเท้าและปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองให้แก่ประชาชน 
 
ที่มาของคำสั่งรื้อถอนมาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ ได้แก่ 
 
  1. ที่ผ่านมามีผู้ใช้งานน้อย เนื่องจากมีคำถามเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและความสะอาดอย่างไรก็ตามกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เช่น คนขับแท็กซี่ ผู้ค้าแผงลอย ยังพึ่งพาตู้กดน้ำเหล่านี้อยู่
  2. ตำแหน่งติดตั้งกีดขวางการสัญจรทางเท้า 
 
ทั้งนี้ข้อมูลจากหลายบทสัมภาษณ์สะท้อนว่าหากตู้กดน้ำเหล่านี้มีการปรับปรุงคุณภาพ ประชาชนก็มีความต้องการใช้งาน [2]
 
 
ดังนั้น กทม.จะทบทวนการรื้อถอนดังกล่าว ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพตู้กดน้ำและน้ำดื่ม ให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
 
  1. วิธีการจ่ายน้ำ อาจจะปรับให้เป็นลักษณะการเติมน้ำลงขวดแทน
  2. กำหนดรอบการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
  3. ปรับตำแหน่งที่ไม่ขีดขวางทางเท้า อาจจะตั้งให้ขนานกับทางเท้าชิดแนวขอบทางเท้าด้านใดด้านหนี่งแทน
  4. พิจารณาเสริมในบริเวณจุดจอดจักรยาน และชุมชนต่าง ๆ
 

ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ในหน่วยงานของ กทม. [เศรษฐกิจดีสุขภาพดี]

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - คนพิการมีงานทำและมีรายได้อย่างมีศักดิ์ศรี
  - ส่งเสริมการสร้างความเข้าใจและการอยู่รวมกันท่ามกลางความหลากหลายของกลุ่มคน
 
 
รายละเอียด

กฎกระทรวงกําหนดจํานวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทํางาน และจํานวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนําส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 โดยต้องรับคนพิการเข้าทำงาน 1 ต่อ 100 ของจำนวนผู้ปฏิบัติงาน [1] ปี 2563 กทม.มีการจ้างงานคนพิการเข้าทำงานแล้ว 100 คน [] แต่ยังไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง กทม. รวมแล้วประมาณ 80,000 คน กทม.จะต้องจ้างงานคนพิการเข้าทำงานอย่างน้อยอีกกว่า 700 ตำแหน่ง จึงจะปฏิบัติตามกฎหมาย
 
ดังนั้น กทม.จะส่งเสริมการจ้างงานอย่างเท่าเทียมกัน โดรจ้างให้เต็มอัตราหรือจ้างให้มากที่สุด ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างไม่มีการกีดกัน 

นำร่องผ้าอนามัยฟรี [เศรษฐกิจดีสุขภาพดี]

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - ลดภาระผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนสังกัด กทม.
  - แก้ปัญหาความจนประจำเดือน (Period Poverty) ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและสุขอนามัยของผู้มีประจำเดือน
 
 
รายละเอียด
 
ผ้าอนามัยคือปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้มีประจำเดือนทุกคน ในแต่ละเดือนผู้มีประจำเดือนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผ้าอนามัยอยู่ที่ราว 80-150 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นจำนวนผ้าอนามัยประมาณ 20 แผ่นต่อเดือน ภาระในการจัดหาผ้าอนามัยจำนวนนี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า ความจนประจำเดือน หรือ Period Poverty ขึ้นได้
 
Period poverty หมายถึง ความไม่สามารถในการเข้าถึงผ้าอนามัย เช่น ไม่สามารถซื้อได้ เข้าถึงได้แต่ไม่เพียงพอ ไปจนถึงการใช้งานอย่างไม่เหมาะสม เช่น เปลี่ยนผ้าอนามัยน้อยครั้ง หรือใช้วัสดุอื่นที่ไม่เหมาะสมแทน จึงอาจเสี่ยงติดเชื้อและมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้
 
นอกจากนี้การศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับ period poverty หลายชิ้นสะท้อนว่า การขาดแคลนผ้าอนามัยส่งผลต่อการขาดเรียนหรือขาดงานด้วย ด้านผลการสำรวจของ BMC Women’s Health ที่ทำการศึกษากับกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่ประสบปัญหา period poverty มีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางจนถึงรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยประสบปัญหาเลย
 
เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้มีประจำเดือนและครอบครัวและลดความเสี่ยงของปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมา กทม. จะนำร่องจัดหาผ้าอนามัยให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกทม. 
 
โดยจะจัดจุดจัดวางในห้องน้ำของโรงเรียนหรือไว้ที่ห้องพยาบาลเพื่อให้เข้าถึงได้สะดวกและสอดคล้องกับความจำเป็น โดยจะประเมินประสิทธิภาพถึงวิธีการแจกและตัวเลือกผ้าอนามัยที่ตอบสนองต่อผู้ใช้งาน ก่อนจะพิจารณาขยายผลให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้มีประจำเดือนต่อไป
 
 

คลังปัญญาผู้สูงอายุ [เศรษฐกิจดี]

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - ผู้สูงอายุที่ยังอยากทำงานหรือมีกำลังและพลังความคิดที่มีคุณค่าอยู่ก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้
  - สังคมได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์หรือคลังปัญญาที่น่าสนใจจากผู้สูงอายุ
 
 
รายละเอียดนโยบาย
 
ผู้สูงอายุตอนต้นหลายคนยังอยากทำงานหรือถ่ายทอดความรู้สู่สังคมหรือประสบการณ์ที่มีคุณค่า 
 
ดังนั้น กทม.จะจัดหางานที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมและสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้สูงอายุด้วย เช่น การช่วยดูแลเด็กอ่อน-เด็กเล็กแก่คุณแม่มือใหม่ในศูนย์ การคัดแยกขยะ หรือการเป็นอาสาสมัครดูแลสังคมในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังปัญหาในระดับบ้านและชุมชน เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพราะและทำกล้าไม้สนับสนุนการปลูกต้นไม้ในเมือง 

กรุงเทพฯ มั่นใจ ปลอดภัยโควิด [เศรษฐกิจดีสุขภาพดี]

ประโยชน์คนกรุงฯ
  - คนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวมั่นใจได้ว่า กทม.มีมาตรการจัดการโควิดที่ดี ลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด
  - ภาคธุรกิจได้ความมั่นใจและความเชื่อมั่นกลับมา ไม่ต้องกังวลกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด 19 
 
 
รายละเอียดนโยบาย 
 
ความเชื่อมั่นคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ รวมถึงสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เนื่องจากการระบาดของโรคทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก 
 
ดังนั้น กทม.จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามายังพื้นที่กรุงเทพฯ ผ่านศักยภาพในการตรวจ คัดกรอง และติดตามกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ กทม.จะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจตรวจ ATK ให้กับทั้งพนักงานและลูกค้า พร้อมกับนำผลการตรวจขึ้นแสดงบนแอพพลิเคชั่นและส่งให้กับ กทม.เพื่อเก็บสถิติและควบคุมการระบาดในกรณีที่พบผู้ติดเชื้อ 

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่คุกคามกทม. (และประเทศไทย)

ทุกคนรู้และผู้ว่าคนใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้เห็นหลายนโยบายที่มุ่งจัดการปัญหาฝุ่น มลพิษในกรุงเทพ ทั้งไม้อ่อน ไม้นวมและไม้หนัก อาทิเช่น
 
นโยบายจัดทีม นักสืบฝุ่น ศึกษาต้นตอ PM2.5  - ได้รู้ถึงที่มาและต้นกำเนิดของฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อการจัดการอย่างตรงจุด  กทม.จะเป็นเจ้าภาพในการทำบัญชีที่มาของฝุ่นภายในกรุงเทพฯ โดยจะร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในการสืบทราบต้นตอของฝุ่น ทั้งการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์องค์ประกอบ เช่น คุณสมบัติทางเคมี อิออน โลหะหนัก เพื่อเก็บสถิติและระบุถึงต้นตอนของฝุ่น เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ทั้งในแง่การป้องกันการปล่อยมลพิษ และในแง่การเอาผิดจากผู้ปล่อยมลพิษเกินค่ามาตรฐาน

นโยบายพยากรณ์ แจ้งเตือน ป้องกันฝุ่น PM2.5  กทม.จะต้องดำเนินการเรื่องฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่พยากรณ์ แจ้งเตือน และป้องกัน ดังนี้ 1. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่นพิษ การตรวจเครื่องฟอกอากาศ  2. ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ นำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาเป็นรูปแบบการพยากรณ์เพื่อแจ้งเตือนให้กับประชาชน 3. พัฒนาจุดการแจ้งเตือนฝุ่นในสถานที่ที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่สาธารณะ ป้ายรถเมล์ และสี่แยก 4. ปรับการแจ้งเตือนให้ค่าการแสดงผลเป็นแบบเรียลไทม์เพื่อให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์ฝุ่นอยู่เสมอและสามารถเลี่ยงการดำเนินกิจกรรมกลางแจ้งได้ในช่วงเวลาที่ฝุ่นหนาแน่น
 
นโยบายตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน - โรงงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ มีประมาณ 6,200 แห่ง เป็นจังหวัดที่มีโรงงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากจังหวัดสมุทรปราการและสมุทรสาคร  และยังมีกิจการที่มีการผลิตส่วนหนึ่งที่อยู่นอกระบบการตรวจสอบของกรมโรงงานอีกด้วย  ดังนั้นเพื่อรักษาคุณภาพอากาศที่ดีให้กับประชาชน กทม.เป็นเจ้าภาพในการเข้าไปตรวจสอบการปล่อยมลพิษเชิงรุกของโรงงานดังนี้ 1. เข้าไปตรวจสอบการปล่อยมลพิษของโรงงาน  2. ออกคำแนะนำและคำสั่งให้แก้ไขการปล่อยมลพิษ  3. ดำเนินการทางกฎหมาย หรือ ประสานงานเพื่อเพิกถอนใบอนุญาต 4. ประสานงานกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูลและพัฒนาฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษภายใน กทม.เพื่อติดตามข้อมูลการจัดการมลพิษในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  5. แสดงผลข้อมูลมลพิษของโรงงานเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วความคืบหน้าในการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพอากาศของผู้ประกอบการ 
 
 
นโยบายดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่ปล่อยมลพิษ จากนโยบาย นักสืบฝุ่น และ การตรวจสอบมลพิษในโรงงาน จะทำให้ กทม.ตรวจสอบพบผู้กระทำความผิดปล่อยมลพิษเกินค่ามาตรฐานได้  ดังนั้น กทม.จะดำเนินมาตรการจากเบาไปหาหนักเพื่อให้ผู้ประกอบการต่างๆ ลดการปล่อยมลพิษให้มาอยู่ในระดับที่มาตรฐานกำหนด เช่น การตักเตือนและกำหนดแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา (มาตรการเบา) การสั่งให้หยุดประกอบกิจการ การก่อสร้าง หรือเพิกถอนใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง (มาตรการหนัก)  


นโยบายตรวจจับรถควันดำจากต้นตอ กทม.จะร่วมมือกับตำรวจจราจร และกรมการขนส่งทางบก ในการดำเนินการดังนี้  1. ตรวจสอบรถบรรทุกเชิงรุกจากต้นทางพร้อมกับออกใบรับรองให้กับรถบรรทุกว่าได้ผ่านการตรวจมาตรฐานเรียบร้อยแล้ว ส่วนรถบรรทุกที่ถูกตรวจสอบและไม่ผ่านมาตรฐานจะมีการจำกัดการใช้งานจนกว่าผู้ประกอบการจะดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ  2. ตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างและรถบรรทุกที่เข้ามาในพื้นที่ว่าได้มาตรฐานการปล่อยมลพิษหรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบเจอผู้กระทำความผิดจะมีการพิจารณากำหนดโทษในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การตักเตือน ไป
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด