ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมตรวจโรคฝีดาษลิงในสัตว์

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมตรวจโรคฝีดาษลิงในสัตว์ HealthServ.net
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมตรวจโรคฝีดาษลิงในสัตว์ ThumbMobile HealthServ.net

หากสงสัยสัตว์ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถแจ้งสำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัตในพื้นที่ เพื่อก็บตัวอย่างส่งตรรจมายังสถาบันๆ หรือศูนยัวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภูมิภาค เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมตรวจโรคฝีดาษลิงในสัตว์ HealthServ
 
 
ด้วยสถานการณ์การระบาตของโรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox ในแถบประเทศแอฟริกาและยุโรปในปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ โดย สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยโรคฝีดาษลิงในสัตว์ โดยใช้วิธี Nested PCR และยืนยันผลการตรวจด้วยวิธี ONA Sequencing 
 
โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติคต่อระหว่างสัตว์และคน เกิดจากเชื้อ Monkeypox virus หรือ MPXV เป็นไวรัสชนิด double-stranded DNA อยู่ในวงค์ Poxviridae สกุล Orthqpoxrirus สัตว์หลายชนิดสามารถติตเชื้อได้ โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลสิงและสัตว์พันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า และแพรรีด็อก ส่วนมากพบการระบาดในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ปัจจุบันมีแถลงการณ์ยืนยันจากองค์การอนามัยโลก (World Heatth Organization, WHO) ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2565 พบผู้ป่วยด้วยโรคฝีดาษลิง แล้วมากกว่า 300 ราย จาก 22 ประเทศในแบยุโรป และมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในอีกหลายประเทศ ซึ่งประเทศไทยยังคงมีการเฝ้าระวัง และยังไม่พบการติดเชื้อในประเทศ
 
 
สัตว์สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง รอยแผลหรือตุ่มหนองของสัตร์ที่ติดเชื้อ และอาจติดผ่านการหายใจได้ ส่วนอาการในสัตว์ สัตว์ตระกูลสิงที่ติดเชื้อ จะมีผื่นขึ้นตามร่างกาย โดยเฉพาะในบริเวณ ใบหน้า แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหาง สำหรับสัตว์ฟันแทะ เริ่มต้นจะมีไข้ ตาแดง มีน้ำมูก ไอ ต่อมน้ำเหลืองบวม ซึม ไม่กินอาหาร ต่อมาจะมีผื่นและตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย และอาจพบอาการปอดบวมและตายได้
 
 
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ 
 
สำหรับสัตว์ที่มีรอยโรคที่ผิวหนัง ให้เก็บตัวอย่างจากของเหลวในตุ่ม สะเก็ดแผลโดยสวอบแห้งเก็บในหลอดที่ปลอดเชื้อหรือใส่ใน viral transport media (VTM) และสามารถเก็บตัวอย่างเลือด ใส่หลอดที่มีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดชนิด EDTA เก็บที่อุณหภูมี 4C และส่งห้องปฏิบัติการ 
 
สำหรับสัตว์ไม่แสดงอาการ ให้เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ น้ำเชื้อ และสวอบจากช่องจมูก ช่องปาก ช่องคลอดหรือทวารของสัตว์ได้ 
 
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ให้ดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรคฝีดาษลิง จากตัวอย่างลิง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2565 จำนวนทั้งหมด 28 ตัวอย่าง และให้ผลเป็นลบทุกตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงต้องมีการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อม โดยบูรณาการความร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในตรวจวินิจฉัย และป้องกันโรคของประเทศไทย 
 
หากสงสัยสัตว์ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิง สามารถแจ้งสำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัตในพื้นที่ เพื่อก็บตัวอย่างส่งตรรจมายังสถาบันๆ หรือศูนยัวิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภูมิภาค เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป


ข้อมูล สพ.ญ.พีรดา ศิริวัชราวงศ์ กลุ่มไวรัสวิทยา
กลุ่มบริหารจัดการคุณภาพสัตว์
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ 
30 พฤษภาคม 2565 
 
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมตรวจโรคฝีดาษลิงในสัตว์ HealthServ

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ 

- เลขที่ 50/2 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย
- เปิดบริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. 
- ติดต่อสอบถามการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 02-5795001
- เฟซบุ๊ค สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ www.facebook.com/niah.th
- เว็บไซต์ https://niah.dld.go.th
- แผนที่ Google Map
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พร้อมตรวจโรคฝีดาษลิงในสัตว์ HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด