ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 - Krungthai Compass

รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 - Krungthai Compass HealthServ.net
รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 - Krungthai Compass ThumbMobile HealthServ.net

อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐคาดหวังว่าจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยได้อันดับที่ 5 ของโลก จากการจัดอันดับประเทศที่มีความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index : GHS) ปี 2021 โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา หลังสามารถบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในช่วงการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เป้าหมายสำคัญคือ การผลักดันให้ไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบมีความเป็นไปได้มากขึ้น

 
Krungthai COMPASS มองว่า ส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ไทยเข้าใกล้เป้าหมายการเป็นMedicalHub อย่างเต็มรูปแบบ คือ การยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ที่สำคัญของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติใน 3 มิติ อันได้แก่ 1. การลงทุนในอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) เพื่ อต่อยอดจากผู้ผลิตยาชื่อสามัญสู่ฐานการผลิตสำคัญในอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ 2. การยกระดับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย BCG Model 3. การชูจุดเด่นด้านบริการทางการแพทย์เพื่อมุ่งสู่การเป็น World Class Medical Service Hub ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล และช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ายา เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ อีกท้ังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายภาครฐัในการดูแลด้านสาธารณสุขในระยาว และก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสาธารณสุขอย่างย่ังยืนทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายในปี 2027 การเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ทั้ง 3 มิติ จะสร้างรายได้เข้าประเทศถึง 8 แสนล้านบาท
 
 
อย่างไรก็ดี การจะผลักดันให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยขึ้นแท่นผู้นำในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรจนกลายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) อย่างย่ังยืนน้ัน ต้องอาศัยความรว่ มมือจากทุกภาคส่วน ท้ังนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่เอื้อให้เกิดการลงทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์ควบคู่กับการลงทุนจากภาคเอกชนที่มีความพรอ้ มท้ังด้านองค์ความรู้ ทรัพยากร และเงินลงทุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการลงทุนอย่างบูรณาการ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันท้ัง Ecosystem
 
 
3 Section หลัก ที่จะผลักดันไทยสู่เป้าหมายความสำเร็จในการเป็น Medical Hub 
 
Section1 
ต่อยอดอุตสาหกรรมยา จากผู้ผลิตยาชื่อสามัญสู่ ฐานการผลิตสำคัญ ในอุตสาหกรรม Biopharmaceuticals
 
Section2 
ยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย BCG Model
 
Section3
ชูจุดเด่นด้านบริการทางการแพทย์ มุ่งสู่การเป็น World Class Medical Service Hub
รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 - Krungthai Compass HealthServ


การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical Hub เป็นหนึ่งในเป้าหมายของภาครัฐ ที่ต้องการให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาต้ังแต่ปีพ.ศ. 2558 ท้ังนี้ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ.2560-2569) ระบุองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ของไทย คือ

1. Wellness Hub: ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
2. Medical Service Hub: ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์
3. Academic Hub: ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย
4. Product Hub: ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 
 
 
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ แม้จะเป็นอุปสรรคที่กดดันต่อการดำเนินการตามแผนที่วางไว้แต่ขณะเดียวกันการที่ไทยสามารถบริหารจัดการระบบสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่โควิด-19 ระบาด จนได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความม่ันคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index : GHS) อันดับที่ 5 ของโลก และอันดับที่ 1 ของเอเชีย โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins Center for Health Security) สหรัฐอเมริกา ก็เป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนความหวังในการเป็น Medical Hub ของไทยได้ โดย Krungthai COMPASS มองว่า ส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ไทยเข้าใกล้เป้าหมายดังกล่าวได้มากขึ้นอีก คือการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ที่สำคัญของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติอัน ได้แก่ 1. การลงทุนในอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) เพื่ อยกระดับอุตสาหกรรมยา 2. การยกระดับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย BCG Model 3. การเป็น World Class Medical Service Hub
 
ท้ังนี้การยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ท้ัง 3 มิตินี้ อยู่ใน 2 องค์ประกอบ สำคัญที่ภาครัฐกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ได้แก่ ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) และศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ (Medical Service Hub) ที่ไทยมีศักยภาพ และมีความพรอ้ มในการพัฒนาได้เรว็ อีกท้ังยังเป็นจุดแข็งที่สำคัญขณะที่หลายประเทศที่มุ่งสู่การเป็น Medical Hub เช่นเดียวกับไทย อาทิ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ต่างให้ความสำคัญกับการยกระดับด้านการบริการทางการแพทย์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมยาชีวเภสัชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีข้ันสูงเช่นเดียวกัน เน่ืองจากมีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นและเป็นเทรนด์ที่จะสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่อีก 2 องค์ประกอบที่เหลือ อันได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) และศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) ได้อีกด้วย


 
รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 - Krungthai Compass HealthServ

Key Success ในการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อให้ไทยก้าวสู่การเป็น Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบ

 
ที่มา: วิเคราะห์โดย Krungthai COMPASS
 
1) การสนับสนุนจากภาครัฐ ท้ังในด้านการกำหนดแผนยุทธศาสตรท์ ี่ชัดเจนการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัย การส่งเสริมการลงทุน และการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีรวมถึงการออกนโยบายสนับสนุนท้ังทางตรงและทางอ้อม ซึ่งที่ผ่านมา ภาครัฐได้ผลักดันผ่านมาตรการและนโยบายต่าง  บ้างแล้ว อาทิ การส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI การสนับสนุนแผนลงทุนในEEC มาตรการขยายเวลาพำนักในไทย กรณีเข้ามารักษาพยาบาล
 
2) การสร้าง Health Ecosystem ให้เป็นรูปธรรม และผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันทั้ง Ecosystem อย่างเป็นระบบ เนื่องจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเรว็ อีกท้ังเน้นการศึกษาวจิัยที่ซับซ้อนที่ใช้ระยะเวลาและเงินลงทุนจำนวนมาก จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะศึกษา วิจัย คิดค้น รวมถึงให้คำปรึกษา และมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในเชิงพาณิชย์ได้โดยภาครัฐจะเป็น Key Enabler ที่สำคัญของอุตสาหกรรมนี้
 
3) การลงทุนจากภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ท้ังในภาคการผลิตยาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และภาคบริการทางการแพทย์ จะเป็นตัวเร่งสำคัญในการหนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ได้เรว็ยิ่งข้ึน เน่ืองจากบรษิัทเอกชนช้ันนำมีความพรอ้ มท้ังด้านองค์ความรู้ ทรัพยากร และเงินลงทุน ที่จะส่งเสริมให้การพัฒนาด้านต่างๆ เกิดได้รวดเรว็ข้ึน นอกจากนี้การสร้างความรว่มมือกับพันธมิตรท้ังกลุ่มทุนต่างๆ ที่สนใจลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ และกลุ่ม Health Tech Startup ที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม จะช่วยยกระดับศักยภาพการแข่งขันลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ และต่อยอดการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ให้ใหญ่ขึ้นอีกด้วย
 
4) การผสานเทคโนโลยีกับนวัตกรรมทางการแพทย์ ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องติดตาม และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์สมัยใหม่มาใช้เพื่อให้ทัดเทียมระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการบริการทางการแพทย์ที่มีวิวัฒนาการการแพทย์สมัยใหม่ อาทิ การแพทย์แม่นยำหรือการแพทย์เฉพาะเจาะจง (Precision Medicine) เวชศาสตร์ฟื้ นฟูสภาวะเสื่อมหรือการแพทย์เชิงฟื้ นฟู (Regenerative Medicine) มาให้บริการด้านการรกั ษาพยาบาลเพ่ือดึงดูดผู้ใช้บรกิารจากท่ัวโลกมาใช้บรกิารรกั ษาพยาบาลในโรงพยาบาลของไทย ซึ่งไทยมีจุดเด่นในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์อันดับต้นๆ ของโลก กอปรกับไทยมีชื่อเสียง มาตรฐานการรักษาและการบริการที่ดี
 
 
 
 
สรุป 


 
อุตสาหกรรมการแพทย์จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า และมีโอกาสที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) อย่างเต็มรูปแบบได้ แต่ทว่าจะต้องเร่งยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ที่สำคัญของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ อันได้แก่ 
 
1. การยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตยา ด้วยชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) เพราะเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมยาที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต
 
2. การยกระดับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย BCG Model 
 
3. การยกระดับบริการทางการแพทย์สู่การเป็น World Class Medical Service Hub 
 
ซึ่งหากสามารถทำได้ทั้งสามส่วน จะช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ายา เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ อีกทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลด้านสาธารณสุขในระยะยาว และก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสาธารณสุขอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังส่งผลดีให้เกิดการจ้างงาน และการลงทุนอีกมาก พร้อมทั้งส่งผลดีกับธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ขยายบริการไปสู่การดูแลสุขภาพแบบครบวงจร (Wellness Center) ตามเทรนด์ของผู้คนที่ตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งในที่สุดจะสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล อย่างไรก็ดี Key Success สำคัญ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่เอื้อให้เกิดการลงทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์ ควบคู่กับการลงทุนจากภาคเอกชนที่มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ ทรัพยากร และเงินลงทุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการลงทุนอย่างบูรณาการ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง Ecosystem


พชรพจน์ นันทรามาศ
สุจิตรา อันโน
มกราคม 2022

 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด