ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมแพทย์ แจง 2 ประเด็น แนวทางจ่ายยารักษาโควิด และ สแกน(โทร)-แจก-จบ

กรมแพทย์ แจง 2 ประเด็น แนวทางจ่ายยารักษาโควิด และ สแกน(โทร)-แจก-จบ HealthServ.net
กรมแพทย์ แจง 2 ประเด็น แนวทางจ่ายยารักษาโควิด และ สแกน(โทร)-แจก-จบ ThumbMobile HealthServ.net

19 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูล 2 ประเด็นหลักในการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิดในประเทศไทย ได้แก่ แนวทางการจ่ายยาต้านไวรัสเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด 19 และ แนวทางการต่อยอด เจอ-แจก-จบ สู่ สแกน (หรือโทร)-แจก-จบ

กรมแพทย์ แจง 2 ประเด็น แนวทางจ่ายยารักษาโควิด และ สแกน(โทร)-แจก-จบ HealthServ
 
 
 

ประเด็นที่ 1 แนวทางการจ่ายยาต้านไวรัสกับผู้ป่วยโควิด

 
อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด 19 ในช่วงกลางเดือนกรกฏาคม 2565 นี้  มีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนบางส่วนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางการจ่ายยาผู้ป่วยโควิด 19
 
และมีความเข้าใจผิดว่า "ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับยาต้านไวรัส"
 
 
กรมการแพทย์ขอยืนยันว่าผู้ป่วยโควิด 19 ควรได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาที่กรมการแพทย์ร่วมมือกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานมีการทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศตั้งแต่มีการระบาดโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง
 
 
ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 24 วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม  ดังนี้


 
1.กลุ่มที่ไม่มีอาการ​หรือ​สบายดี​
ให้ดูแลรักษาตามอาการ ไม่ให้ยาต้านไวรัส โดยดูแลการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation) เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง แพทย์อาจให้ยาฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรงได้


 
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ
กลุ่มนี้ แพทย์อาจให้ favipiravir  ในช่วง 4 วันแรก หลังมีอาการ หาก ผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการ แพทย์อาจไม่ให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน


 
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน  
 
แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส 1 ชนิด  ตั้งแต่เริ่มมีอาการ โดยแพทย์จะพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน  ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง ประวัติโรคประจำตัว ข้อห้ามการใช้ยา ปฏิกิริยาต่อกันของยาต้านไวรัสกับยาเดิมของผู้ป่วย


 
4. กลุ่มที่มีอาการปอดอักเสบต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน 
ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เป็นไปตามแนวทาง ที่กำหนดตามแนวทางเวชปฏิบัติฯ  ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะยาทุกตัวเป็น emergency used
 
 
 
สรุปก็คือ กลุ่มที่ 2 และ 3 ที่จะเป็นกลุ่มที่จะได้รับยาต้านไวรัส หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า มีความเสี่ยง/มีปัจจัยเสี่ยง ที่อาการจะรุนแรงขึ้น 
 
 
ส่วนกลุ่มที่ 1 ที่ติดเชื้อ ไม่มีอาการ ไม่มีแนวโน้มจะรุนแรง "จึงไม่ต้องจ่ายยาต้านไวรัสให้"  เพียงรักษาตามอาการไป หรือ ฟ้าทะลายโจรก็เพียงพอ
 
แต่หากเป็นกลุ่ม 4 คืออาการรุนแรง ต้องเข้าโรงพยาบาลเท่านั้น 
 


 
กรมแพทย์ แจง 2 ประเด็น แนวทางจ่ายยารักษาโควิด และ สแกน(โทร)-แจก-จบ HealthServ
 
 

ประเด็นที่ 2 แนวทางการต่อยอด เจอ-แจก-จบ การประสานเครือข่าย รับรักษาผู้ป่วย 

 
สาระสำคัญของประเด็นนี้ คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้กรมการแพทย์ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อ "ต่อยอดระบบการดูแลจากเดิมเจอ-แจก-จบ สู่ สแกน(หรือโทร)-แจก-จบ"  ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย UHosNeT 
- กระทรวงกลาโหม 
- โรงพยาบาลเอกชน 
- ภาคประชาสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 
 
 
แนวทางคือการ "สแกน(หรือโทร)-แจก-จบ" แทน โดยจะ
- ให้ผู้ที่มีผลตรวจว่าติดเชื้อ/ตรวจ ATK ขึ้นสองขีด  ทำการสแกน QR code หรือ โทรศัพท์ติดต่อสถานพยาบาล สังกัดกรมการแพทย์  และทำตามคำแนะนำ
- ข้อมูลผลตรวจที่ส่งเข้าไป เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย และเข้าระบบรักษา/รับยาต่อไป 
 
 
 
แนวทางนี้ จะช่วยให้ ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือ อาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องมาสถานพยาบาล เพื่อลดเสี่ยง ลดแออัด 
 
 
สถานพยาบาล สังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ 
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันพยาธิ โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลประสาท โรงพยาบาลปัญญาอ่อน โรงพยาบาลธัญญารักษ์
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด