ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม

กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ.net
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม ThumbMobile HealthServ.net

ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น.
สำหรับอายุ 5 ปีขึ้นไป ทุกสัญชาติ ผู้ประสงค์รับวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้
โดยจองผ่านแอป QueQ และวอล์คอิน (Walk in)

กทม.เปิดจองฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งในและนอกสถานพยาบาลมากกว่า 100 แห่ง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 
 
  • เปิดจองฉีดวัคซีนผ่านแอป QueQ ด้วยวิธีง่ายๆแค่ 7 ขั้นตอน สามารถเลือกสถานที่ฉีด และวันเวลาได้ 
  • และที่ศูนย์ฉีดวัคซีน อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น )เขตดินแดง ก็เปิดรับ Walk In ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. 
  • เน้นย้ำว่า ขอให้มาตรงกับวันเวลาที่นัดหมาย เตรียมบัตรประชาชน/Passport ปากกาส่วนตัว  พร้อมหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาด้วย
  • สำหรับผู้ที่ต้องการเยียวยาเกี่ยวกับการแพ้วัคซีนโควิด-19 สามารถยื่นคำร้องได้ที่ สปสช. เขต 13 หรือสอบถามได้ที่ 1330 
     
กทม. จัดให้บริการฉีดวัคซีนตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือตามที่ได้รับการจัดสรร
 

 
 
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ
 

สาธารณสุข เผยโควิดสายพันธุ์ BA.4/BA.5 แพร่เร็วกว่า

 
          25 กรกฎาคม 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 และการติดตามภูมิคุ้มกันของคนที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 ต่อ BA.5 ว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-22 กรกฎาคม 2565) ได้ตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 จำนวน 468 ราย พบเป็นสายพันธุ์ BA.4/BA.5 มากสุดจำนวน 320 ราย คิดเป็น 68.38% ส่วนสายพันธุ์ BA.2 พบ 143 ราย คิดเป็น 30.56% และสายพันธุ์ BA.1 อีก 5 ราย คิดเป็น 1.07% โดยใน กทม.พบ BA.4/BA.5 80% มากกว่าภูมิภาคที่พบ 60% แสดงว่า BA.4/BA.5 แพร่เร็วกว่า BA.1 และ BA.2 สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งเมื่อถอดรหัสพันธุกรรมพบว่าเป็น BA.5 ประมาณ 75% และ BA.4 ประมาณ 25%
 
            นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนความรุนแรง จากการเปรียบเทียบกลุ่มอาการไม่รุนแรงและรุนแรงในช่วงดังกล่าว พบว่า ในพื้นที่ กทม. ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง 122 ราย พบเป็น BA.4/BA.5 77.05% กลุ่มอาการรุนแรงพบ 87.04% พื้นที่ต่างจังหวัด กลุ่มอาการไม่รุนแรง 345 ราย พบ 55.61% กลุ่มรุนแรง 53 ราย พบ 73% หากพิจารณาข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2-22 กรกฎาคม 2565 พบว่า พื้นที่ กทม. ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง 475 ราย พบเป็น BA.4/BA.5 76% อาการรุนแรง 101 ราย พบ 78.22% และภูมิภาค อาการไม่รุนแรง 774 คน พบ 41.99% อาการรุนแรง 137 ราย พบ 59.12% ซึ่งจากการพบสัดส่วนของ BA.4/BA.5 ในผู้ป่วยอาการรุนแรงสูงกว่า จึงอนุมานได้ว่าถ้าติดเชื้อ BA.4/BA.5 น่าจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่า


 
              สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 ตำแหน่งที่กลายพันธุ์ คือ G446S และ Q493R ทำให้จับกับเซลล์ปอดมนุษย์ได้มากขึ้น จึงทำให้น่าเป็นห่วงว่าจะแพร่ค่อนข้างเร็วหรือหลบภูมิคุ้มกันได้ อาจติดเชื้อซ้ำหรือทำให้วัคซีนมีประสิทธิผลลดลง แต่ทั้งหมดเป็นการดูจากตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ต้องติดตามข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงต่อไป โดยขณะนี้ยังไม่สามารถตรวจสายพันธุ์ BA.2.75 ได้ในพื้นที่ ต้องใช้การถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ดังนั้น หากพบสายพันธุ์ที่ไม่เข้ากับ BA.2 BA.4 BA.5 จะต้องส่งมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว แต่ประมาณสัปดาห์หน้าจะผลิตน้ำยาตรวจเฉพาะ BA.2.75 เพื่อให้พื้นที่ตรวจเบื้องต้นได้เร็วขึ้น


 
              นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า กรมฯ ได้ศึกษาภูมิคุ้มกันของคนที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็ม 3 ต่อสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.5 ตามวิธีมาตรฐาน โดยเพาะเชื้อแล้วนำมาทดสอบกับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดของคนที่ฉีดวัคซีน 3 เข็มหลัง 2 สัปดาห์ โดยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ในห้องแล็บความปลอดภัยระดับ 3 พบว่า สูตรซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วย แอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 ที่ 203.5 เมื่อเป็น BA.5 ลดลงเหลือ 89.79 สูตรซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วย ไฟเซอร์ ภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 ที่ 345.8 เมื่อเป็น BA.5 ลดลงเหลือ 153.8 สูตรแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ตามด้วย ไฟเซอร์ ภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 ที่ 226.2 เมื่อเป็น BA.5 ลดลงเหลือ 86.51 และสูตรซิโนแวค ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันต่อ BA.2 ที่ 84.60 เมื่อเป็น BA.5 ลดลงเหลือ 43.60 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศ ที่พบว่าหลังติดเชื้อ BA.1 BA.2 ประมาณ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ เมื่อเป็นเชื้อ BA.4/BA.5 ภูมิคุ้มกันจะลดลงประมาณ 3 เท่า จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงติดเชื้อซ้ำได้ แต่แม้สายพันธุ์ BA.5 จะหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีกว่า BA.2 แต่ยังป้องกันโรคได้พอสมควร จึงขอให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็ม 2 หรือเข็ม 3 นานแล้วมารับเข็มกระตุ้น เนื่องจากวัคซีนทุกสูตรเมื่อผ่านไป 3-4 เดือน ภูมิคุ้มกันจะลดลง ร่วมกับการใช้มาตรการป้องกันตนเอง Universal Prevention ด้วยการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง จะช่วยลดโอกาสรับและแพร่เชื้อได้ 

 
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ
กทม.ติดโควิดพุ่งอีก สำนักอนามัย กทม. เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนต่อถึงสิงหาคม HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด