ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง

การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง HealthServ.net
การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง ThumbMobile HealthServ.net

ศูนย์จีโนมเพื่อการแพทย์ ม.มหิดล Center for Medical Genomics ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร มีไวรัสหลายตัวที่เราคุ้นชื่อตอนนี้ เช่นไวรัสฝีดาษลิง ไวรัสฝีดาษในสัตว์อื่นๆ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตั้งชื่อ และความจริงอีกข้อก็คือ การตั้งชื่อไวรัส ไม่ใช่หน้าที่ขององค์การอนามัยโลกแต่อย่างใด แต่เป็นองค์กรอื่น

การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง HealthServ
 


"การตั้งชื่อชนิดหรือประเภทของไวรัส" ไว้น่าสนใจ เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัส (the International Committee on the Taxonomy of Viruses: ICTV) ไม่ใช่หน้าที่ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกระบวนการตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิงและไวรัสฝีดาษในสัตว์อื่นๆ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ



การตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิงที่ถูกเรียกขานกันมานานกว่า 64 ปีไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะชื่อควรระบุถึงอาการของโรค เลี่ยงชื่อสถานที่ระบาด เลี่ยงชื่อคนหรือชื่อสัตว์  และงดใช้ชื่อที่ก่อให้เกิดบาดแผลทางสังคม รวมทั้งแก้ชื่อที่ปรากฏบนฐานข้อมูล ต่างๆ เช่นที่ รพ. ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดูแล ป้องกัน รักษา และคิดค่าใช้จ่าย 

 
ตัวอย่างการตั้งชื้อไวรัสที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น ชื่อไวรัสที่ก่อโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2 (SARS-CoV-2)

 

การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง HealthServ
 



ในส่วนขององค์การอนามัยโลก ระหว่างรอการตั้งชื่อไวรัสฝีดาษลิงอย่างเป็นทางการจาก "ICTV"  ได้ทำการแบ่งกลุ่มหรือเคลด (clade/variant) ของไวรัสฝีดาษลิงตามอาการโรคและการกลายพันธุ์ที่ปรากฏจากการถอดรหัสพันธุกรรม เสร็จเป็นที่เรียบร้อยและมีผลนำไปใช้ได้ทันทีดังนี้



กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I) 

พบระบาดบริเวณลุ่มน้ำคองโก  (แอฟริกากลาง) มีความรุนแรงของโรคสูง อัตราการตายในบางพื้นทีสูงถึง 10%
แพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คน  
กลายพันธุ์ในอัตราต่ำ




กลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II) 

พบระบาดบริเวณแอฟริกาตะวันตก มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1%
แพร่ระบาดระหว่างสัตว์สู่คน  ในทุกชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย ล้วนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อฝีดาษลิง พบติดเชื้อในชาย 60%  ในหญิง 40% 
 
พบการระบาดระหว่างคนสู่คนในวงจำกัดและสงบลงอย่างรวดเร็ว
กลายพันธุ์ในอัตราต่ำ-ปานกลาง



 
กลุ่มไวรัสที่ 2a (clade IIa) 

พบการระบาดในปี 2022 นอกทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่พบนอกทวีปยุโรป มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1% จีโนมมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I) และกลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II) มากกว่า 46 ตำแหน่ง เนื่องจากเอนไซม์มนุษย์ที่สร้างจากยีน “APOBEC3” ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไวรัสเข้ามารุกรานเซลล์ โดยเอนไซม์ดังกล่าวจะกระตุ้นให้จีโนมไวรัสมีกลายพันธุ์ในลักษณะจำเพาะ (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) จนทำให้จีโนมเสียหายไม่อาจเพิ่มจำนวนไวรัสได้ ส่วนไวรัสที่เหลือรอดก็จะปรากฏเสมือนแผลเป็น (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) บนสายจีโนม 
 
แพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มของชายรักชายถึงร้อยละ 99 




กลุ่มไวรัสที่ 2b (clade IIb) 

ระบาดในปี 2022 นอกทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่พบในทวีปยุโรป มีความรุนแรงของโรคต่ำ อัตราการตาย <1% จีโนมมีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก กลุ่มไวรัสที่ 1 (clade I)  และกลุ่มไวรัสที่ 2 (clade II) มากกว่า 46 ตำแหน่ง เนื่องจากเอนไซม์มนุษย์ที่สร้างจากยีน “APOBEC3” ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไวรัสเข้ามารุกรานเซลล์โดยเอนไซม์ดังกล่าวจะกระตุ้นให้จีโนมไวรัสมีกลายพันธุ์ในลักษณะจำเพาะ (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) จนทำให้จีโนมเสียหายไม่อาจเพิ่มจำนวนไวรัสได้ ส่วนไวรัสที่เหลือรอดก็จะปรากฏเสมือนแผลเป็น (TT เปลี่ยนเป็น TA หรือ GA เปลี่ยนเป็น AA) บนสายจีโนม 
 
แพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มของชายรักชายถึงร้อยละ 99







Center for Medical Genomics
14 สิงหาคม 2565

 
การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง HealthServ
การตั้งชื่อไวรัสว่ามีหลักการอย่างไร ใครเป็นคนตั้ง HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด