ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคจิต หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ

โรคจิต หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ HealthServ.net

20 กันยายน 2565 ครม.มีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ.ที่กำหนดให้ เพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ขณะที่ ยกเลิกโรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ เนื่องจากโรควัณโรคมีแนวโน้มที่จะลดลงและใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้

โรคจิต หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ ถือเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ ThumbMobile HealthServ.net
 
สาระสำคัญ
 
สำนักงาน ก.พ. ได้เสนอ ปรับปรุงกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ว่าจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ที่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนด 
 
โดยการปรับปรุงครั้งนี้ ก.พ. เสนอ ให้ยกเลิก และกำหนดเพิ่ม เงื่อนไข ดังนี้
 
ยกเลิก โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ เนื่องจากโรควัณโรคมีแนวโน้มที่จะลดลงและใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้ 
 
กำหนดเพิ่ม  ให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่  เป็น "ลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553"
 
 
ทั้งนี้ โรค ที่เป็นลักษณะต้องห้ามและยังคงอยู่ใน กฎ ก.พ. เดิม ตามมาตรา 36 ข. (2) ได้แก่ 
- โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
- โรคติดยาเสพติดให้โทษ
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
 
 
และได้เพิ่ม ข้อ 5 ระบุว่า "วิธีการตรวจโรคตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด"
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด